ช่วงท้ายปี (ธันวาคม) ที่ผ่านมาจนถึงต้นปีในเดือนมกราคมอย่าง ณ ตอนนี้ ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความคึกคักและเต็มไปด้วยความลุ้นระทึก เมื่อคนทำงานต่างเฝ้ารอคอยให้บริษัทแจก ‘โบนัส’ อย่างที่หวังกันมาตลอดทั้งปี โดยพอได้รับโบนัสเป็นการชุบชูชีวิตและขวัญกำลังใจกันเรียบร้อยแล้ว หลายคนมักจะพบว่าเพื่อนร่วมงานตัวเองหายไปอย่างไม่บอกกล่าว รู้ตัวอีกทีก็พบว่า อ้าววว โบนัสแตกแล้วชิ่งแจกใบลาออกกันรัวๆ ซึ่งก็คือปรากฎการณ์ Bonus and Bounce หรือ ‘ฤดูแห่งการเปลี่ยนงาน’ นั่นเอง
ทำไมคนนิยมลาออก-ย้ายงานหลังได้โบนัส
เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะจากการทำงานตลอดปีที่ผ่านมา ทำให้หลายคนได้ตกผลึกความคิดและตัดสินใจตั้งแต่ ‘ปีก่อน’ ว่าปีถัดไปอยากลองออกไปหาความท้าทายหรืออะไรใหม่ๆ ให้ชีวิต ซึ่งช่วงเปิดปีใหม่หลังได้พักผ่อนสิ้นปีที่ผ่านมาเต็มที่ เรามักจะมีไฟกลับมากันอย่างเต็มเปี่ยมอีกครั้ง จึงนับว่าเป็น Fresh start ที่ดีในการเริ่มเส้นทางใหม่ไปในตัว
ส่วนอีกหนึ่งเหตุผลคือหลายคนรอบริษัท ‘แจกโบนัส’ ถือเป็นรางวัลตามที่สมควรได้รับจากความทุ่มเทในปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจมีบางคนมองว่าเมื่อได้ในสิ่งที่ต้องการแล้วก็ถือว่าหายกัน องค์กรได้ผลประกอบการที่ดี ส่วนตนก็ได้โบนัสเป็นของตอบแทน ทำให้ช่วงเวลาหลังแจกโบนัสถือเป็นหนึ่งในฤดูฮอตฮิตที่ดูจะเหมาะเจาะสุดๆ สำหรับการย้ายงานในแต่ละปี
สิ่งที่ต้องระวังจากฤดูเปลี่ยนงาน
หลังจากได้โบนัสสมดังใจหวังเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สถานีต่อไปที่ต้องหาข้อสรุปให้ตัวเองคือการ ‘มองหางานใหม่’ ซึ่งกลุ่มคนที่เตรียมตัวมองหางานใหม่ไว้ตั้งแต่ปีก่อนหน้าแล้วก็อาจสบายตัวได้ก่อนคนอื่นอยู่มากพอสมควร แต่สำหรับคนที่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าต่อจากนี้จะเอายังไงก็อาจเป็นช่วงเวลาที่ ‘ลำบากไม่น้อย’ อยู่เหมือนกัน
เนื่องจากอย่างที่ได้อธิบายไปว่ามีคนจำนวนมากที่คิดเหมือนกันคือรอแจกโบนัส แล้วค่อยลาออก-ย้ายงานใหม่เอาข้างหน้า และด้วยความที่ไม่ได้วางแผนเตรียมตัวมาก่อนแบบคนอีกกลุ่มจึงต้องไปวัดเอาหน้างานด้วย ‘จังหวะเวลา’ และใช้ความเจ๋งของตัวเองพิชิตงานใหม่มาให้ได้เท่านั้น ดังนั้นอุปสรรคข้อแรกก็คือ ‘จำนวนคู่แข่ง’ ที่คาดเดาไม่ได้เลยว่าจะมีจำนวนมหาศาลแค่ไหน แล้วแต่ละคนมีความโดดเด่น เจ๋งแจ๋วกันอย่างไรบ้าง
ส่วนอุปสรรคต่อมาก็คือ ‘โอกาสที่น้อยลง’ เนื่องจากตำแหน่งงานบางส่วนถูกคนกลุ่มแรกที่วางแผนรอตั้งแต่ปีก่อนเอาไปกอดไว้กับตัวเป็นที่เรียบร้อย ทำให้ตำแหน่งงานที่เปิดรับในช่วงนี้อาจไม่ได้มากมายอย่างที่คิด แถมอาจต้องไปลุ้นเอาหน้างานอีกรอบว่าในสายงานตัวเองจะมีคนลาออกเพื่อเปิดทางให้เราเข้าไปเสียบมากน้อยแค่ไหน
นอกจากนี้ในบางบริษัทมักจะมีข้อกำหนดไว้ชัดเจนว่ากรณีต้องการลาออก จะต้องแจ้งบริษัทล่วงหน้ากี่วัน/เดือน ดังนั้นหากเริ่มคิดจะย้ายงานช่วงมกราคม ก็จะสามารถย้ายได้อีกทีในอีกหนึ่งเดือนถัดไปและถึงตอนนั้นงานดีๆ ก็อาจมีเหลืออยู่ไม่มากแล้วก็เป็นได้
การวางแผนเตรียมตัวเพื่อเลี่ยงความเสี่ยง พร้อมให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องผิดหากจู่ๆ เราจะอยากย้ายงานแบบกระทันหัน เพียงแต่หากมีเป้าหมายในใจตั้งแต่ต้นก็ควรจะวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม และหางานใหม่รองรับรวมถึงแจ้งกับบริษัทเพื่อช่วยกันหาทางออกที่ดีที่สุด เป็นการรักษาความสัมพันธ์กับบริษัทเก่าไปด้วยในตัว
โดย Reeracoen Thailand มีกลยุทธ์การหางานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วมาแนะนำกันดังนี้
-
- ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
- อัปเดตเรซูเม่รอไว้ได้เลย
- ใช้แพลตฟอร์มและคอนเนกชันให้เกิดประโยชน์
- เปิดรับแจ้งเตือนตำแหน่งงานใหม่
- สร้างลิสต์ติดตาม Process หลังส่งสมัครงาน
- ฝากโปรไฟล์ไว้กับบริษัทจัดหางาน
ติดตามอ่านฉบับเต็มได้ที่: ปีใหม่-งานใหม่! 6 กลยุทธ์ที่ช่วยให้หาใหม่เร็วได้ขึ้นทันใจ
หากยังไม่แน่ใจ สามารถใช้เช็กลิสต์คำถามสำรวจตัวเองว่าควรตัดสินใจเปลี่ยนงานใหม่ดีไหมผ่าน 7 คำถามได้แก่
-
- องค์กรมองเห็นคุณค่าของเรามากแค่ไหน
- รู้สึกว่าได้รับการตอบแทนอย่างเหมาะสมไหม
- ได้รับโอกาสสำหรับการเติบโตมากพอหรือเปล่า
- ยังรู้สึกถึงความหมายและแรงจูงใจในการทำงาน
- รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องไปทำงานไหม
- มีสังคม มิตรภาพ หรือใครในที่ทำงานที่ดีหรือเปล่า
- มีความสุขไหม?
ติดตามอ่านฉบับเต็มได้ที่: 7 คำถามสำรวจตัวเองก่อนตัดสินใจเปลี่ยนงาน
ฝากโปรไฟล์ เพิ่มโอกาสและรับแจ้งเตือนตำแหน่งงานใหม่ๆ
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม: https://bit.ly/48RR3Q8
#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment