Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

6 หัวข้อคำถามไว้คุยกับหัวหน้า สำหรับการประเมินผลงานท้ายปี

  • Home
  • General Topic
  • 6 หัวข้อคำถามไว้คุยกับหัวหน้า สำหรับการประเมินผลงานท้ายปี

Select Category

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับชีวิตการทำงานที่ผ่านมาในปี 2023 นี้

ช่วงสิ้นปีแบบนี้คงมีหลายคนกำลังจะต้องเข้าสู่การประเมินผลงานประจำปี ซึ่งจะเป็นการสรุปภาพรวมความสำเร็จ รวมถึงจุดที่ยังต้องพัฒนาเพื่อจัดการวางแผนและตั้งเป้าหมายใหม่ในปีถัดไป ส่วนใหญ่แล้วองค์กรมักจะมีกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในแต่ละด้านให้ดียิ่งขึ้นด้วยข้อมูลจากการประเมินผลงานท้ายปี โดยการรับฟังปัญหาและความต้องการจากพนักงานเพื่อกำหนดทิศทางที่ตอบโจทย์กับทั้งสองฝ่าย

จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญก่อนเกิดเปลี่ยนแปลงที่พนักงานจะได้เป็นฝ่ายถามเรื่องสำคัญต่างๆ ว่าชีวิตการทำงานในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร แผนงานที่ผ่านมาทำให้เราสำเร็จถึงขั้นไหนก่อนที่จะตัดสินถึงใจอนาคตของตัวเอง และเนื่องจากคนที่อยู่ “หน้างาน” มักจะไม่ค่อยได้มองเห็นภาพใหญ่ ไม่ค่อยได้รับรู้ว่าปัญหาในภาพรวมมีอะไรบ้าง ไม่เคยสังเกตว่าถ้าจะพัฒนาตัวเองเราควรโฟกัสที่อะไร ดังนั้นเราต้องถามคนที่ทำหน้าที่บริหารจัดการภาพรวมอย่าง “หัวหน้างาน” ด้วย 6 หัวข้อคำถามต่อไปนี้

1) อะไรคือความสำเร็จชิ้นใหญ่ที่สุดของทีมในปีนี้

ด้วยความที่เรากับหัวหน้าทำงานในฐานะทีม ความสำเร็จโดยรวมจึงมักจะไปในทิศทางเดียวกันเป็นหลัก

ซึ่งด้วยหน้าที่เราก็ต้องยึดเป้าหมายส่วนรวมไว้ก่อน แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในฐานะบุคคลแล้ว

“ความสำเร็จส่วนตัว” ที่ช่วยสร้างโปรไฟล์ดีๆ ให้กับตัวเองก็สำคัญไม่แพ้กัน

นอกจากนี้การเป็นสมาชิกในทีมก็ไม่ได้หมายความว่าต้องคิดเห็นตรงกับหัวหน้าทั้งหมดเสมอไป

เราสามารถมีความต้องการและเป้าหมายส่วนตัวที่เป็นเหมือนขั้นบันไดการเติบโตในแบบของตัวเอง

ซึ่งจำเป็นจะต้องพูดคุยกันให้เรียบร้อยตั้งแต่ช่วงนี้

ดังนั้นการถามถึงความสำเร็จในปีที่ผ่านมาในมุมหัวหน้าไม่เพียงแต่ทำให้เราได้ทบทวนว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร

แต่ยังรวมถึง “ภาพความสำเร็จ” ในปัจจุบันยังตรงกันอยู่ไหม เนื่องจากเป็นไปได้ที่ความคิดเราอาจเปลี่ยนไปในช่วงที่ผ่านมา

จึงช่วยให้เข้าใจชัดเจนถึงเป้าหมายในอนาคตด้วย

2) เราเก่งอะไรและควรพัฒนาส่วนไหนบ้าง?

โดยทั่วไปการประเมินมักจะพูดถึงสองส่วนหลักๆ ซึ่งก็คือ “จุดแข็ง” ที่ช่วยให้รู้ว่าเราทำอะไรได้ดี

และ “จุดด้อย” ที่ยังต้องคอยหมั่นพัฒนาให้ดีขึ้น แต่ในหลายๆ ครั้ง “จุดด้อย” กลับไม่ค่อยถูกพูดถึง

เนื่องจากเป็นเรื่องที่น่าลำบากใจกับทั้งสองฝ่าย ซึ่งการไม่ได้รับฟีดแบคตรงๆ ในด้านลบของตัวเองเลย

อาจทำให้เราติดกับดักที่คิดว่าตัวเองเก่งที่สุดจนไม่ได้พัฒนาตัวเองและมองเห็นอนาคตได้ยากขึ้น

ถ้าเราเปลี่ยนจากความรู้สึกกระอักกระอ่วนไม่ให้อีกฝ่ายรู้สึกว่ากำลังโจมตีหรือทำให้เรารู้สึกแย่

เป็นความต้องการและยินดีที่จะพัฒนามากกว่านี้ ก็จะทำให้หัวหน้าฟีดแบคกับเราตรงๆ ได้อย่างสะดวกใจมากขึ้น

3) มีโอกาส/อุปสรรคอะไรที่รออยู่ในปีหน้าบ้าง

จากปีที่ผ่านมาเราอาจเห็นความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างและจริงอยู่ที่อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน

แต่อย่างไรก็ตามในยุคนี้ที่การหา “ข้อมูล” ไม่ใช่เรื่องยาก เราจึงสามารถวิเคราะห์แนวโน้มและคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้างานที่มีประสบการณ์มากกว่าก็อาจวาดภาพได้ชัดเจนมากขึ้นว่ามีอะไรรออยู่

แล้วทีมควรเตรียมการอย่างไรเพื่อสิ่งเหล่านั้น

รวมถึงเป็นการรีเช็กว่าแผนงานในปีหน้าจะเป็นอย่างไร สิ่งที่รออยู่สอดคล้องกับเป้าหมายของเราหรือไม่

จึงเป็นเรื่องดีที่เราจะรู้จักประเมินโอกาสข้างหน้าเพื่อเตรียมตัวปรับเปลี่ยน หาวิธีที่เหมาะสมและคว้าไว้

4) อยากเติบโตมากกว่านี้ต้องทำอย่างไร

ในมุมมองของคนทำงานที่อยู่กับงานเป็นประจำเราอาจพบว่าตัวเองมักจะเก่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

เช่น งานเริ่มง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง จัดการตัวเองได้ดีขึ้น

ซึ่งประสบการณ์และทักษะที่เพิ่มขึ้นจากการทำงานทำให้หลายคนมองว่าตัวเอง “พร้อม” สำหรับก้าวถัดไป

แต่หากปัญหาอยู่ที่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ได้ถูกโปรโมตสักทีก็ถึงเวลาถามหัวหน้างานที่อาจมีมุมมองอื่นๆ ที่เราไม่เห็น

สำหรับพูดคุยหาข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่เราคิดว่าตัวเองพร้อม แล้วในมุมมองของหัวหน้าแล้วเรายังขาดอะไรอีกบ้าง

เพื่อหาเส้นทางที่ชัดเจนให้กับตัวเองมากกว่านี้

5) มีโปรเจกต์ไหนที่เหมาะกับเราบ้าง

นอกเหนือจากงาน daily/routine ประจำวัน อีกหนึ่งลักษณะของงานที่มีคุณค่าต่อคนทำงาน

ก็คืองานโปรเจกต์ที่ให้เราได้เรียนรู้การเป็น “เจ้าของงาน”

รวมถึงฝึกบริหารทีมและดูแลคนอย่างเป็นระบบและพร้อมที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้นำในองค์กรต่อไป

นอกจากนี้การถามถึงโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับตัวเองยังช่วยให้เราได้รู้ทิศทางของแผนงานที่จะทำตั้งแต่เนิ่นๆ

พร้อมยืนยันว่าเรายังมีบทบาทที่สำคัญในองค์กรซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันการถูก Quiet fired โดยไม่รู้ตัว

6) เราจะมีส่วนร่วมพัฒนาความเป็นทีมได้อย่างไร

หนึ่งในคุณสมบัติของคนทำงานที่ดีคือการเป็น team player ซึ่งผู้นำในทุกๆ องค์กรต่างต้องการจากพนักงาน

เพราะในแง่ของการบริหารทรัพยากรบุคคล 1+1 อาจให้ผลลัพธ์ที่มากกว่า 2 ประสิทธิภาพงานอาจเพิ่มขึ้นได้อีกหลายเท่า

เมื่อพนักงานไม่ต้องเสียเวลานั่งอธิบายซ้ำซ้อนหรือคอยตามแก้งานที่ผิดพลาดจากการสื่อสารกันบ่อยๆ

ดังนั้นคำถามที่มุ่งเน้นไปยังคำว่า “ทีม” อาจทำให้เกิดความคิดแง่บวก หรือมุมมองใหม่ๆ ที่มีต่อตัวเรา

และให้โอกาสได้พิสูจน์ตัวเองผ่านบทบาทสำคัญมากขึ้น

ฝากโปรไฟล์พร้อมมองหางานใหม่ที่ตอบโจทย์และตรงใจมากขึ้น


อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม:

New year’s resolution 7 นิสัยและการกระทำเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในปี 2024

สถิติชี้! นโยบาย Remote working อาจส่งผลต่อรายได้ที่เพิ่มขึ้นขององค์กร

#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment

Related Posts