ทุกคนรู้ว่าการป้อนงานคือกลไกการทำงานระหว่าง “หัวหน้า-ลูกทีม” โดยหัวหน้าก็สามารถใช้เวลากับงานที่มีความสำคัญมากกว่าได้ ในขณะที่ลูกทีมก็จะได้พัฒนาตัวเองฝึกทักษะเพิ่มขึ้น แม้กลไกนี้จะเป็นเหมือนฟันเฟืองที่ดีซึ่งขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน แต่ในฐานะ “ผู้สั่ง” ทำให้หัวหน้าหลายคนกลับรู้สึกลำบากใจจนสุดท้ายไม่กล้าที่จะป้อนงานให้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ภาพรวมสะดุดหรือช้าลงได้ โดยมีหลายเหตุผลที่ทำให้คนเป็นหัวหน้าไม่อยากที่จะสั่งงานลูกทีม เช่น
1) เชื่อว่าตัวเองเป็นคนเดียวที่ทำได้
2) ขี้เกียจอธิบาย ทำเองง่ายกว่า
3) กังวลว่าจะถูก “ยึดงาน”
4) กลัวป้อนงานให้เยอะเกินไป
แม้ว่าการดูแลรักษาสมดุลให้ลูกทีมจะเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบของหัวหน้า แต่เมื่อเกิดปัญหาว่าหัวหน้ารู้สึกผิดไม่กล้าป้อนงานด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
โดยเลือกทำเองก็จะหมายถึงภาระงานหนักขึ้น ในขณะเดียวกันลูกทีมก็ขาดโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองสุดท้ายไม่มีใครได้ประโยชน์อะไรเลย ถึงเวลาจัดการความรู้สึกผิดที่เป็นอุปสรรคต่อความแกร่งของทีมด้วยการเผชิญหน้าและตั้งคำถามต่อความรู้สึกว่า “อะไรทำให้รู้สึกผิด” แล้วความรู้สึกนั้นดีต่อตัวเองหรือคนอื่นไหม?
เช่น รู้สึกผิดเพราะกังวลว่างานยากๆ จะทำให้ลูกทีมลำบากเลยเลือกที่จะทำเอง ซึ่งความจริงคือลูกทีมสามารถทำได้ จึงแปลว่าความรู้สึกผิดนี้ไม่ดีต่อทั้งตัวเองและลูกทีม แต่กลับกันถ้าสาเหตุเกิดจากลูกทีมมีงานเยอะอยู่แล้ว จึงเลือกเก็บไว้ทำเองแบบนี้ถึงเป็นความรู้สึกผิดที่สามารถเข้าใจได้
การเผชิญหน้าและตั้งคำถามคือส่วนสำคัญโดยเฉพาะกับคนที่กำลังตกอยู่ในปัญหาดังกล่าว
ถ้าความรู้สึกผิดนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเลือกที่จะแบกไว้เอง สุดท้ายผลลัพธ์ก็มีแต่เสียกับเสีย
ลองมองว่านี่คือโอกาสที่ลูกทีมจะได้เก่งขึ้นและการป้อนงานจะช่วยเสริมความมั่นใจว่าเขาสามารถทำได้
ทิ้งท้ายกับ 2 ข้อดีที่จะเกิดขึ้นกับทีมจากการป้อนงานที่มีประสิทธิภาพดังนี้ครับ
ข้อที่ 1) สร้างทีมและพัฒนาทักษะการแจกงาน
แทนที่จะเป็นหัวหน้าคอยสั่งงานเฉยๆ ลองเปลี่ยนผู้นำที่จะช่วยสนับสนุนลูกทีมทุกคนโดยการจับ “คนที่เหมาะสม” ให้มาทำงานนั้นๆ
เพื่อพัฒนาทักษะที่เขาขาดอยู่ พร้อมติดตามให้คำแนะนำในจุดที่ยากลำบาก ซึ่งช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในทีมด้วย
ข้อที่ 2) ปกป้องทีมจากงานที่ไม่จำเป็น
การป้อนงานให้ลูกทีมโดยการพูดคุยอย่างจริงจังโดยหยิบงานแต่ละอย่างออกมาดู
จะทำให้รู้ว่าทีมเราตอนนี้ถืออะไรอยู่ในมือบ้าง แต่ละส่วนสำคัญแค่ไหน ตัดอะไรออกไปได้บ้าง?
ซึ่งช่วยลดภาระที่ไม่จำเป็นออก ทั้งยังสร้างประโยชน์ให้องค์กรได้ดีขึ้น เผลอๆ ลูกทีมอาจงานเบาลงแต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นก็เป็นไปได้
สรุป การแจกงานคือส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างทีมให้แกร่งยิ่งขึ้นผ่านการเรียนรู้งานและยังพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำของเรา รวมถึงเป็นผลดีต่อองค์กรในระยะยาว
วันนี้เราอาจต้องลงทุนเสียเวลาในการเรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไขเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นต่อตัวเองและทีมในในวันข้างหน้า ซึ่งทุกคนมีโอกาสที่จะดีขึ้นได้ แค่ต้องกล้าที่จะเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ และความเปลี่ยนแปลง
แปลและเรียบเรียงจาก: https://bit.ly/3Wl9CXt
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม:
8 ข้อดีสุดเหลือเชื่อจากความขี้เกียจ (อย่างพอดี)
#ReeracoenRecruitment
#ReeracoenThailand
#Selfimprovement #Psychology #Teambuilding