การยื่นจ่าย ‘ภาษี’ ถือเป็นหน้าที่ของคนไทยที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปีขึ้นไปซึ่งทุกคนน่าจะรู้กันดี
แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามนุษย์เงินเดือน (ที่มีรายได้ทางเดียว) และยังไม่ได้แต่งงานต้องเสียภาษีเท่าไรหรือมีวิธีคิดตัวเลขจากไหน วันนี้ Reeracoen ได้สรุปมาให้แบบสั้นๆ เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ครับ
1) หารายได้สุทธิ
ปกติแล้วมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ทางเดียวจะยื่นภาษีปีละ 1 ครั้ง ซึ่งอันดับแรกต้องหา “เงินได้สุทธิ” โดย
นำรายได้ (เงินเดือน) รวมหักลบกับค่าใช้จ่าย (สูงสุด 100,000 บาทต่อปี) หักลบกับค่าลดหย่อนซึ่งโดยทั่วไปทุกคนจะมีค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวคนละ 6,000 บาทต่อปี และนำตัวเลขที่ได้ไปคำนวนกับ “อัตราภาษี”
2) คำนวนอัตราภาษีแบบ “ขั้นบันได”
เมื่อได้ตัวเลข “เงินได้สุทธิ” มาคำนวนกับอัตราภาษีซึ่งมีอยู่ 7 ขั้นตั้งแต่ 0 – 35% ซึ่งจะทบขึ้นไปตามขั้นบันไดและถ้าคำนวนแล้วไม่เกิน 150,000 บาทก็จะได้รับการยกเว้นภาษี
3) รู้หลักการคำนวนแล้ว ลองมาดูตัวอย่างกัน
ตัวอย่างที่ 1 “นาย A” มีเงินเดือน 18,000 บาท (216,000 บาทต่อปี) หักลบค่าใช้จ่าย 100,000 และลดหย่อนอีก 60,000 เหลือ 56,000 บาท เท่ากับว่าได้รับการยกเว้นภาษี
ตัวอย่างที่ 2 “นาง B” มีเงินเดือน 40,000 บาท (480,000 บาทต่อปี) หักลบค่าใช้จ่าย 100,000 ลดหย่อนอีก 60,00 เหลือ 320,000 บาท หมายความว่าต้องจ่ายอัตราภาษี 10% และบวกด้วยค่าภาษีสูงสุดจากขั้นก่อนหน้า (7,500 บาท)
ตัวเลขที่ได้จะเป็น [(320,000 – 300,000)] x 10% +7,500 บาท = เสียภาษี 9,500 บาท
จริงๆ แล้วเรื่องของภาษียังมีรายละเอียดยิบย่อยที่เราควรรู้ไว้อีกมากมายสำหรับเนื้อหาถัดไปจะเป็นอะไร อย่าลืมติดตาม Reeracoen Recruitment กันไว้นะครับ
ฝากโปรไฟล์ไว้กับเรา Reeracoen Recruitment
#ReeracoenRecruitment
#ReeracoenThailand #Recruitment
#มนุษย์เงินเดือน #วัยทำงาน #ภาษี2565 #คำนวนภาษี