ก่อนหน้านี้ เรามีข้อมูลที่เคยชี้ให้เห็นเทคนิคที่คนมักใช้ในการสมัครงาน เช่น แต่งโปรไฟล์ดีเกินจริง หรือแอบมีการขี้โม้คุณสมบัติตัวเองบ้างในบางส่วนเพื่อดึงดูดความสนใจจากองค์กรให้ได้มากที่สุด แต่ในฐานะผู้สมัคร คุณเคยเอะใจไหมว่าจากข้อมูลทั้งหมดที่เราได้รับระหว่างการสมัครงานในนั้นมีข้อมูลที่เป็น ‘เรื่องจริง’ อยู่กี่เปอร์เซ็นต์?
เนื่องจากผลสำรวจโดย Resume Builder โดยมีผู้รับผิดชอบด้านการจ้างงานเข้าร่วมจำนวน 1,060 คน
กำลังชี้ให้เห็นข้อมูลอีกด้านที่ผู้สมัครอาจไม่เคยรู้ตัวเมื่อ HR ที่ดูแลด้านการจ้างงานจำนวนกว่าครึ่ง
ออกมายอมรับว่าพวกเขามักจะใช้ ‘กลยุทธ์’ บางอย่างเพื่อดึงดูดให้มีจำนวนคนสมัครเข้ามาเยอะๆ เช่นกัน
ซึ่งจะมีอะไรบ้าง แล้วคนทำงานแบบเราจะรับมืออย่างไร Reeracoen Thailand ได้สรุปมาให้แล้วครับ
ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ
-
-
HR จำนวน 36% ยอมรับว่าเคยโกหกผู้สมัคร
เกี่ยวกับตำแหน่งงานและข้อมูลองค์กร
-
-
-
75% จากกลุ่มดังกล่าว โกหกระหว่างสัมภาษณ์งาน52% ทำตั้งแต่ตอนเขียนรายละเอียดตำแหน่งงาน
-
ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ถูกนายจ้างปรับเปลี่ยน
คือหน้าที่และความรับผิดชอบต่องาน
ตลอดจนโอกาสที่จะได้เติบโตในองค์กร
-
-
-
80% ระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องที่ ‘ยอมรับได้’
-
-
-
และที่สำคัญคือ 9 ใน 10 ของผู้สมัครเหล่านี้
สุดท้ายมักจะลงเอยด้วยการตกลงเริ่มงานในที่สุด
-
6 อันดับสาเหตุที่ทำให้ HR จำเป็นต้องโกหก
-
-
ปกป้องข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน
-
ปกปิด ‘ด้านลบ’ ขององค์กร
-
ดึงดูดผู้สมัครเข้ามาให้เยอะๆ
-
ต้องการกล่อมผู้สมัครให้คล้อยตาม
-
ทำให้ตัวงานดูดีขึ้นจากความเป็นจริง
-
ล่อซื้อผู้สมัครที่มีศักยภาพสูง
-
วิธีการรับมือในฐานะผู้สมัคร
ถ้าไม่อยากให้ความเป็นจริงนั้นช่างต่างไปจากสิ่งที่หวัง อย่าด่วนตัดสินใจด้วยการค้นหาข้อมูลองค์กรจากเว็บไซต์ที่มีอยู่ไม่กี่หน้า แล้วไปมุ่งเป้าเค้นหา ‘ความจริง’ ให้ได้จากการสัมภาษณ์งานด้วยกลยุทธ์ที่ช่วยกำหนดคำถามอย่างมีประสิทธิภาพ
1) รู้ว่าตัวเอง ‘อยากรู้’ เรื่องอะไร
ก่อนที่เราจะเริ่มต้นค้นหาข้อมูลที่สำคัญต่อตัวเอง อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่าตัวเราให้ความสำคัญกับอะไร
อย่างในการสมัครงาน เราก็คงอยากรู้ข้อมูลในหลายๆ ด้านเพื่อประเมินภาพรวมและวางแผนให้อนาคตของตัวเอง
เช่น โครงสร้างเงินเดือน ขนาดทีม หน้าที่ ความคาดหวังและอื่นๆ ที่อาจส่งผลให้เราไม่มีความสุขในการทำงาน
2) อย่าเพิ่ง ‘เชื่อ’ ทุกข้อมูลที่ได้ยินเป็นครั้งแรก
เนื่องจากมนุษย์เรามักจะมีสิ่งที่เรียกว่า confirmation bias
ซึ่งทำให้เราปักใจเชื่อแต่ข้อมูลที่สนับสนุนความคิดของตัวเอง
ดังนั้นก่อนที่จะเชื่อทุกอย่างแบบหมดใจ เราสามารถใช้เวลาในห้องสัมภาษณ์คุยรายละเอียดเชิงลึก
เพราะบางอย่างอาจมีเงื่อนไขที่ยังนายจ้างยังไม่ได้บอก
3) อย่าเสียโอกาสที่จะตั้งคำถาม
แม้ในทางทฤษฎี การสัมภาษณ์งานคือการสื่อสารระหว่างสองฝ่าย
แต่ในทางปฏิบัติ เรามักไม่ค่อยมีโอกาสหรือเวลามากมายที่จะถาม
ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังนายจ้างเปิดโอกาสให้หลังสัมภาษณ์เสร็จ
คำถามที่เราจะนำมาใช้จึงควร ‘ตรงประเด็น’ และนำไปสู่คำตอบที่ช่วยคลายข้อสงสัยเราได้ดีที่สุด
เช่น คนแบบไหนที่จะสำเร็จกับการทำงานที่นี่ นอกจากหน้าที่ใน Job description แล้วยังมีอะไรเพิ่มเติมบ้าง
ใครที่จะได้ทำงานด้วยอย่างใกล้ชิดที่สุด เป้าหมายสามอันดับแรกที่องค์กรคาดหวังคืออะไร
ยิ่งเรารู้ข้อมูลองค์กรที่เป็นความจริงได้มากเท่าไร ก็ยิ่งช่วยให้เราเริ่มต้นชีวิตในที่ทำงานใหม่ได้ดีมากขึ้นเท่านั้น
ฝากโปรไฟล์ไว้กับเรา Reeracoen Recruitment
อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม:
แนะนำ 9 คำถามสัมภาษณ์งานสำหรับคนที่ไม่อยาก ‘เฟล’ กับงานใหม่
สถิติ ‘คำพูด’ ที่ใช้ระหว่างสัมภาษณ์งานซึ่งแยกระหว่างผู้สมัครที่ดี และคนที่จะไม่ได้งาน
แปลและเรียบเรียงจาก:
#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment