Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

Quiet Quitting เทรนด์ทำงานประคองตัว เพราะไม่รู้จะเหนื่อยไปทำไม

  • Home
  • General Topic
  • Quiet Quitting เทรนด์ทำงานประคองตัว เพราะไม่รู้จะเหนื่อยไปทำไม

Select Category

ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ Great Resignation ในช่วง Covid-19 หลายคนตระหนักถึงความต้องการของตัวเองกันมากขึ้น

จนมีอัตราการลาออกสูงถึง 4 ล้านคนต่อเดือนในสหรัฐฯ ซึ่งบางองค์กรต้องเสียคนไป และไม่สามารถหาใครมาแทน

และดูเหมือนว่าปัจจุบัน การลาออกของพนักงานอาจไม่ใช่เรื่องเดียวที่นายจ้างและองค์กรต้องรับมือ

หลังจาก Great Resignation ยังมีอีกหนึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเทรนด์ Quiet Quitting (การลาออกเงียบๆ)

เมื่อคนทำงานเลิกทุ่มเท ทำงานแค่เสมอตัว ไม่อยากมีส่วนร่วมกับเป้าหมายยิ่งใหญ่อะไรทั้งนั้นเพราะมองว่า “ทุ่มเทไปก็เหนื่อยฟรี”

และแม้การทำแบบนี้จะไม่ช่วยให้เราได้เติบโต แต่หลายคนก็รับได้และเลือกที่จะ ‘ชิล’ ดีกว่าทนเหนื่อย

สาเหตุเป็นเพราะ ‘ความโหด’ ของการทำงานในปัจจุบัน เราหันมา Work From Home คุยงานผ่านแอปฯ

ทำให้หลายคนไม่สามารถแยกงานออกจากชีวิตได้

เมื่อก่อนเราอาจมีเวลาเข้า-ออกงานที่ชัดเจน แต่ปัจจุบันไม่ว่าที่ไหน เมื่อไร เราก็หนีงานไม่พ้น

เพราะการ ‘ส่งข้อความ’ มันง่ายกว่านัดเจอที่ออฟฟิศ

เทคโนโลยีทำให้โลกการทำงานเปลี่ยนไป ติดต่องานกันง่ายขึ้น พื้นที่ส่วนตัวลดน้อยลง

จนหลายคนมองว่า ‘ไม่คุ้ม’ ที่จะทำงานหนัก ซึ่งบางคนก็ถึงขั้น Burnout จนต้องลาออก

ดังนั้นการทำงานแบบประคองตัวก็คือการ ‘ปกป้องตัวเอง’ จนถูกมองว่าขี้เกียจ ไม่พัฒนาตัวเอง และไม่ทุ่มเทเพื่อองค์กร

ในขณะเดียวกัน องค์กรก็ต้องแบกรับความเสี่ยงเมื่อต้องการขยับไปในทิศทางใหม่ๆ

แต่ถ้าพนักงานไม่ยอมปรับตามก็จะขัดแย้งกันจนพังไปทั้งระบบ

เมื่อบางคนไม่ให้ความร่วมมือตามความคาดหวังองค์กร คนอื่นก็อาจต้องรับภาระแทนในจุดนั้นๆ

ลองคิดเล่นๆ ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อคนหนึ่งทุ่มเททำงาน 3 เท่า ในขณะที่อีกคนทำงานเท่าเดิม แต่ทั้งคู่ก็ทำงานด้วยกัน?

คำตอบคือถ้าทีมไม่พัง ก็ต้องมีใครสักคนที่ ‘ลาออก’ เพราะทนอยู่แบบนี้ไม่ไหว ทำไมคนหนึ่งทำแทบตาย

ส่วนอีกคนอยู่ชิลๆ ก็ได้เงินเหมือนกัน กลายเป็นทุกคนเริ่มเกิดคำถาม จนสุดท้ายพังไปทั้งองค์กร

ความจริงเทรนด์ Quiet Quitting ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งจะเคยเกิดขึ้น แต่เป็นวงจรที่มีอยู่ตลอดเวลา แค่เราอาจไม่เคยสังเกต

หากเปรียบเทียบการทำงานเป็นการขับรถ ถ้าเราเหยียบคันเร่งนานๆ แล้วรู้สึกเหนื่อยเกินไป

บางคนก็จะหาทางออกด้วยการจอดพัก บางคนก็เลือกผ่อนคันเร่งเพื่อลดความเมื่อยล้า

Quiet Quitting ก็คือการผ่อนคันเร่งของคนทำงาน ไม่ได้หยุดวิ่ง แต่ลดความเร็วให้พอประคองไปได้โดยไม่คว่ำหรือพังไปก่อน

เมื่อมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอด ถึงเวลาที่ทั้งคนทำงานและองค์กรต้องตั้งคำถามกับตัวเองถึงปัจจัยต่างๆ

เช่นตัวงาน และความคาดหวังของทั้งสองฝ่ายให้สอดคล้องกันไปอย่างสม่ำเสมอ

เราปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากงาน องค์กรมักคาดหวังบางสิ่งบางอย่างนอกเหนือจากหน้าที่

ไม่ว่าจะการมีส่วนร่วม กิจกรรมสังคม หรือไอเดียใหม่ๆ ที่ทำให้นายจ้างและเพื่อนร่วมงานรู้สึกว่าคนคนนี้ ‘ทุ่มเท’ เหลือเกิน

ซึ่งก็มีหลายคนก็พร้อมจะผลักดันตัวเองเพื่อองค์กร

และเมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่เคยอยู่ในสถานะ ‘นอกเหนือจากหน้าที่’ ก็กลายเป็นหนึ่งในงานหลักไปโดยปริยาย และมันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

แถมคนทำงานก็อาจไม่ได้อะไรตอบแทนกลับมาเลย ดังนั้นองค์กรและคนทำงานต้องตกลงกันอย่างชัดเจน

ไม่ว่าจะเนื้องาน ความคาดหวัง และผลตอบแทน

สร้างพื้นที่ที่เปิดกว้างทางความคิดและปลอดภัยสำหรับทุกคน อย่ามองข้ามปัญหาเล็กๆ เพราะมันอาจเป็นเนื้อร้ายที่ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ

จนสุดท้ายต้องสูญเสียทุกอย่าง

อ่านบทความที่น่าสนใจ:

ย้ายงานใหม่ แต่ทุกข์ใจกว่าเดิม

3 เครื่องมือบริหารเวลา จัดการงานง่ายๆ ฉบับมือใหม่

แปลและเรียบเรียงจาก:

https://bit.ly/3BjTvQ8

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:

https://bit.ly/3RW4HcP

#ReeracoenRecruitment

#ReeracoenThailand

#Psychology #Selfdevelopment #greatresignation #quietqutting

Related Posts