Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

5 วิธีจัดการ “ภาษากาย” ให้เป็นประโยชน์ในทุกการสัมภาษณ์งาน

  • Home
  • Interview Guideline
  • 5 วิธีจัดการ “ภาษากาย” ให้เป็นประโยชน์ในทุกการสัมภาษณ์งาน

Select Category

การที่จะประสบความสำเร็จในการสมัครงานจำเป็นต้องอาศัยหลายองค์ประกอบตั้งแต่เรซูเม่ที่ดีและจดหมายสมัครงาน (cover letter) ที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นด่านแรกเพื่อพาเราเข้าสู่ขั้นตอนการ “สัมภาษณ์งาน” โดยในขั้นตอนสัมภาษณ์นี้เองที่เป็นตัวตัดสินอนาคตว่าเราจะได้ไปต่อหรือถูกคัดออกจากลิสต์ผู้ท้าชิงตำแหน่ง ซึ่งการที่จะเป็น “ผู้ชนะ” ในสนามแข่งขันสมัครงานนี้ไม่เพียงแต่ต้องมีคุณสมบัติและประสบการณ์อันโดดเด่น ตลอดจนทักษะการนำเสนอพร้อมตอบคำถามอย่างเฉียบขาด แต่อีกหนึ่งปัจจัยที่หลายคนมักจะนึกไม่ถึงแถมยังมีผลต่อการตัดสินใจของนายจ้างก็คือ “ภาษากาย” ที่เราแสดงออกมาตอนสัมภาษณ์ทั้งสีหน้า ท่าทาง แววตา น้ำเสียง และการวางตัว

เชื่อว่าแทบจะทุกคนต้องเคยมีอาการประหม่าจนมีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น เหงื่อตก พูดติดขัด ไม่กล้าสบตา นั่งสั่นขา ไม่รู้จะจัดการกับมืออย่างไร อันเกิดจากไม่รู้จะวางตัวอย่างไรเมื่ออยู่ภายใต้ความกดดัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราต้องตอบคำถามสำคัญที่แม้จะตอบได้ดีแต่หากมี “เสียงสั่น” แทรกเข้ามาด้วย ก็จะกลายเป็นดูเหมือนไม่มั่นใจในคำตอบของตัวเอง

ดังนั้นภาษากายจึงเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่ผู้สมัครต้องเรียนรู้เพื่อบังคับร่างกายไม่ให้ทรยศตัวเราเอง และในบทความนี้ Reeracoen Thailand ได้รวบรวมการจัดการภาษากายของตัวเองง่ายๆ ที่เป็นประโยชน์มาฝากกันครับ

1) ทัศนคติ

เริ่มขึ้นตั้งแต่ตอนที่เราเดินเข้าไปในออฟฟิศทั้งการแต่งตัวอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกียรติสถานที่ ที่สำคัญและควรปฏิบัติคือการเคารพให้เกียรติกับ “ทุกคน” ไม่ใช่แค่เพียงเฉพาะกับผู้สัมภาษณ์ในห้องเท่านั้น เพราะเป้าหมายของเราคือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทนี้ ดังนั้นต้องทำให้เกิดความประทับใจให้มากที่สุด

2) สายตา

เคยได้ยินไหมว่า “สายตาโกหกกันไม่ได้” ดังนั้นแววตาจึงสามารถสะท้อนถึงความรู้สึกหลายๆ อย่าง เช่น คนเรามักหลบตาเมื่อกลัวหรือไม่มั่นใจ ระหว่างการสัมภาษณ์เราควรสบตากับฝ่ายตรงข้ามและพยายามอย่าถูกดึงดูดความสนใจโดยสิ่งรอบตัว เช่น การก้มมองพื้นหรืออื่นๆ อันเป็นการเลี่ยงสายตา

นอกเหนือจากเหตุผลด้านความมั่นใจ การสบตายังเป็นวิธีการสร้างความรู้สึกผูกพันและมีส่วนร่วมสามารถชักจูงให้อีกฝ่ายเกิดความสนใจในตัวเราได้ทั้งนี้การสบตาก็มีข้อควรระวังอย่าง “การจ้องนานเกินไป” เพราะอาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัดได้เช่นกันซึ่งเราจะรู้เองโดยสัญชาตญาณว่าประมาณไหนถึงจะพอดี

3) การมีส่วนร่วมระหว่างสนทนา

การสัมภาษณ์งานคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน “สองฝ่าย” โดยเรามีหน้าที่แนะนำตัว อธิบายเกี่ยวกับประวัติการทำงาน ผลงานและประสบการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เราเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ส่วนอีกด้านคือการ “ฟัง” ซึ่งต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะบางครั้งเราอาจนิ่งนอนใจว่าทำหน้าที่ในส่วนของตัวเองจบแล้วจนหลุดสมาธิไปจากสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังสื่อสารด้วย ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เราอาจไม่สามารถตอบคำถามได้ ยังบ่งบอกถึง “มนุษย์สัมพันธ์” ของผู้สมัครด้วย

เทคนิคง่ายๆ คือการ “สบตา” และเอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อเป็นการแสดงท่าทางว่าเรากำลังให้ความสนใจในประเด็นนั้นๆ รวมถึงพยักหน้าเบาๆ เพื่อบอกว่าเรากำลังรับฟังอย่างตั้งใจเพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราดูเป็นมิตรและเข้าถึงได้

4) จัดระเบียบท่าทางให้ดีแบบไม่เกร็ง

วิธีที่เราจัดการร่างกายของตัวเองบอกเล่าสิ่งต่างๆ ได้มากมายว่าบุคลิกเราเป็นคนมั่นใจพร้อมพุ่งชนหรือขี้อายและถอยหนี เช่น “การนั่งหลังค่อม” ที่นอกจากจะดูบุคลิกไม่ดี ยังทำให้รู้สึกถึงความไม่มั่นใจและหมดแรง ดังนั้นเราจึงควรแสดงความสง่าผ่าเผยด้วยการ “นั่งหลังตรง”

อย่างไรก็ตามการพยายามฝืนธรรมชาติร่างกายจนเกินไปก็อาจทำให้เรา “เกร็ง” ซึ่งทำให้อีกฝ่ายคิดว่าเรากำลังประหม่า ทั้งยังดูอึดอัดและไม่เป็นมิตรได้เช่นกัน

5) การวางมืออย่างเหมาะสม

ปัญหาที่เรามักเจอขณะที่อยู่ภายใต้ความกดดันคือ “มือ” ที่แสดงท่าทางแปลกๆ ตั้งแต่แกะเล็บ จับสิ่งของต่างๆ ยุกยิกจนไม่สามารถอยู่กับที่ได้ โดยเรามักจะแก้ปัญหาด้วยการกำมือไม่ให้ขยับไปมาหรือซ่อนไว้ที่ไหนสักแห่ง เช่น ไพล่หลัง ล้วงกระเป๋า ซึ่งท่าทางเช่นนี้แสดงถึงความไม่มั่นใจซึ่งไม่ดีต่อการสัมภาษณ์

ทางที่ดีคือ “ปล่อยให้เป็นธรรมชาติ” โดยเรียนรู้วิธีควบคุม เพราะนอกจากคำพูดสิ่งที่ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็คือ “ท่าทาง” อย่างการใช้มือ เช่น บอกจำนวน เพื่อเสริมความชัดเจนและลื่นไหลยิ่งขึ้น

และขณะที่เป็น “ผู้ฟัง” จัดการวางมืออย่างเป็นธรรมชาติ เช่น บนโต๊ะ หรือบนพนักวางแขนของเก้าอี้ เพื่อให้มีจุดโฟกัสและป้องกันไม่ให้มือแกว่งไปมาเมื่อประหม่า รวมถึงเป็นการเตรียมพร้อมเมื่อต้องใช้ท่าทางของมืออธิบายเสริมคำพูด

เปิดโอกาสใหม่ให้ชีวิตการทำงาน ฝากโปรไฟล์ไว้กับเรา Reeracoen Recruitment

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม:

Hidden Job Market ตลาดงานดีที่ไม่มีประกาศทั่วไปและวิธีเปิดโอกาสให้ตัวเองเข้าถึงงานเหล่านั้น

4 ข้อผิดพลาดบนใบสมัครงานที่มักทำให้เราถูก “คัดออก” ตั้งแต่ต้น

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:

https://bit.ly/40aGfcT

https://bit.ly/46P1eo0

#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment

Related Posts