เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางทีเราสมัครงานแล้วได้รับการติดต่อให้เข้าไปสัมภาษณ์อยู่เรื่อยๆ แต่สุดท้ายก็ยังไม่มีบริษัทไหนตกลง “รับเข้าทำงาน” จริงจัง ปัญหาชวนท้อใจในลักษณะนี้เกิดจากอะไรได้บ้าง ถ้าคุณสมบัติต่างๆ เข้าขั้น “ดีพอ” จะทำให้หลายองค์กรสนใจแล้วทำไมถึงไม่มีบริษัทไหนตัดสินใจรับเข้าทำงาน Reeracoen Thailand จะอธิบายให้ฟังตามนี้ครับ
1) มีทักษะแต่ไม่มี “เรื่องราว”
อันดับแรกเมื่อเรามีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งงานก็จะผ่านการคัดกรองเรซูเม่ขั้นต้น และถูกเรียกเข้าสัมภาษณ์ ซึ่งระหว่างที่เรานั่งคุยกับตัวแทนจากบริษัทนั่นแหละที่อาจเป็น “จุดเปลี่ยนเกม” ทำให้สถานการณ์ไม่เหมือนเดิม
เนื่องจากบางคนอาจมีความสามารถเข้าขั้นดีมากก็จริง แต่ปัญหาคือพวกเขายังขาด “สตอรี่” ที่จะอธิบายตัวเอง ลองนึกภาพว่าเราเป็นตัวแทนจากบริษัทแล้วเจอกับแคนดิเดทที่ดูเก่งมากๆ โปรไฟล์ดีเยี่ยม แต่คุยจบแล้วเราก็ยังหาเหตุผลไม่ได้ว่า “ทำไมเขาถึงอยากเข้ามาทำงานในบริษัทเรา”
ดังนั้นหลักการสำคัญคือต้องตอบคำถามนายจ้างว่าการเป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ ถือเป็นผลดีต่ออนาคตของเรายังไง หรือแปลง่ายๆ ว่าทำไมถึงอยากทำงานกับบริษัทนี้นั่นเอง
2) ไม่เป็นที่จดจำมากพอ
การเป็นที่จดจำไม่ได้แปลว่าให้ทำอะไรแปลกๆ ในทางไม่ดี แต่หมายถึงโดดเด่นในแง่ของคนที่มีจุดเด่นหรือเรื่องราวที่สามารถทำให้บรรดาผู้สัมภาษณ์ต้องเก็บชื่อเราไว้ในใจ เนื่องจากการเปิดรับสมัครงาน 1 ตำแหน่ง บริษัทมักจะมี Shortlist รายชื่อคนที่จะถูกเรียกมาสัมภาษณ์ ซึ่งพอสิ้นสุดกระบวนการสัมภาษณ์ผู้สมัครทุกคนแล้วฝ่าย Hiring ก็จะนำข้อมูลของแต่ละคนไปหาข้อสรุปว่าสุดท้ายแล้วบริษัทควรเลือกใคร และคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ถ้าหากสัมภาษณ์จบแล้วปรากฎว่า “ไม่มีใครจดจำเราได้เลย”
ดังนั้นเป้าหมายของเราคือยึดพื้นที่ในใจให้ได้เยอะที่สุด เมื่อผู้สัมภาษณ์เปิดช่องด้วยการถามว่า “ทำไมอยากทำงานที่นี่” ก็สามารถแสดงแพชชันที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวงานหรือมีเป้าหมายในการทำงานคล้ายกับวิสัยทัศน์องค์กรได้
3) แสดงทัศนคติแง่ลบมากเกินไป
เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ใครๆ ก็ชอบคนทัศนคติดี และมักจะรู้สึกอึดอัดถ้าต้องอยู่ใกล้คนที่มีความคิดติดลบ ซึ่งในการสัมภาษณ์งานเมื่อเจอคำถามเชิงลึก เช่น วิธีพัฒนาสินค้า/บริการ หรือแม้แต่ตัวบริษัทเอง
การจะตอบคำถามในลักษณะนี้ อันดับแรกหลายคนก็จะนึกถึงข้อด้อยขึ้นมาก่อนเพื่อหาช่องทางว่าเราควรจะไปจับตรงจุดไหนดี และยิ่งพบมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีเรื่องให้พูดมากเท่านั้น แต่เมื่อเริ่มต้นคิดด้วยการมองหาข้อเสียและพยายามขยายความต่อให้ไอเดียนั้นมีน้ำหนักมากขึ้นจึงง่ายที่จะกลายเป็นว่าเราแสดงความ Negative มากเกินไป
ควรเปลี่ยนมุมมองความคิดจากเน้นขยี้ไปที่ “ปัญหา” เป็นการเสนอ “ทางแก้ปัญหา” ก็จะได้คำตอบที่ไม่โจมตีใคร
นอกเหนือจากเหตุผลที่ยกตัวอย่างไปข้างต้นยังมีสาเหตุอื่น เช่น ความคาดหวังต่อการทำงานไม่ตรงกัน หรือแม้กระทั่งเรื่องของการตกลงเรทเงินเดือนปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องย้อนกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่กับตัวเลือกอื่นๆ ได้เช่นกัน แต่ปัญหาในลักษณะนี้สามารถแก้ได้
ด้วยบริการจัดหางานจาก Reeracoen Thailand เนื่องจากเรามีทีมงาน Recruiter ประสบการณ์สูงที่นอกจากจะแนะนำตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับโปรไฟล์ ยังทำหน้าที่สื่อสารแทนองค์กรในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้สมัครเข้าใจทั้งความคาดหวัง ความยืดหยุ่นของการต่อรองเงินเดือนรวมถึงข้อมูลอื่นๆ อย่างชัดเจน ครบถ้วน และแม่นยำ
ฝากโปรไฟล์กับ Reeracoen Thailand พร้อมค้นหางานที่ใช่ในบริษัทที่ชอบ
แปลและเรียบเรียงจาก: https://shorturl.at/mxGJX
#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment