ในประเทศไทยจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากชุมชนยังคงเป็นศูนย์และยังไม่มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากการตกต่ำของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและรถยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเศรษฐกิจของไทย
ในสภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบากเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ยากที่บริษัทจะตัดสินใจที่จะขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัสให้กับพนักงานเหมือนที่เคยเป็นหรือมากกว่าเดิม ดังนั้นรีราโคเอ็นจึงทำการสรุป โบนัสและการขึ้นเงินเดือนจากการทำผลสำรวจจากแบบสอบถามถึงบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆกว่า 17 กลุ่มธุรกิจในปริมาณกว่า 3000 บริษัท ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับบริษัทต่างๆรวมถึงพนักงานบริษัทที่ยังกังวลเกี่ยวกับโบนัสและการขึ้นเงินเดือนกันนะครับ
คงไม่ต้องบอกว่า การขึ้นเงินเดือนและโบนัสเป็นปัจจัยหลักที่พนักงานบริษัทต่างๆคาดหวังหลังจากที่พวกเขาทำงานหนักกันมาตลอดทั้งปี
ถ้าอัตราการขึ้นเงินเดือนน้อยกว่าที่พวกเขาคาดหวังที่จะได้รับหรือแม้แต่มีการให้อัตราโบนัสต่ำ อาจเป็นการตัดสินใจที่จะนำไปสู่การลาออกของพนักงานในบริษัทได้ ในทางตรงกันข้าม หากพวกเขาพอใจกับการขึ้นเงินเดือนและโบนัส ก็จะกลายเป็นแรงกระตุ้นที่พวกเค้าจะยังคงทำงานหนักและอยู่ทำงานกับบริษัทต่อไปได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามในกรณีของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งกระทบต่อภาคธุจกิจในประเทศไทยอย่างหนัก ทำให้ผลประกอบการของบริษัทต่างๆในไทยแย่ลงอย่างมาก และแน่นอนมันเป็นเรื่องยากที่บริษัทจะพิจารณาจ่ายเงินให้กับพนักงานเหมือนอย่างที่เคยเป็นตามปกติได้
แบบสอบถามเกี่ยวกับอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังจากคำนึงถึงภาวะโคโรนาช็อก (Corona shock)
(ที่มา: แบบสอบถามจัดทำโดยบริษัท Reeracoen ในเดือนพฤษภาคม 2563 | บริษัทที่ตอบกลับ 402 แห่ง)
จากผลการสำรวจของแบบสอบถามพบว่า หลายบริษัทมีการปรับอัตราการขึ้นเงินเดือนในช่วงของไวรัสโคโรนามีอัตราที่ “ต่ำกว่าปกติ”
ในอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย 78% ของบริษัทมีอัตราการปรับเงินเดือนที่ “น้อยกว่าปกติ” 13% ตอบว่า “น้อยกว่าปกติอย่างมาก” และอีก 11% ตอบว่า “ไม่ขึ้นเงินเดือน”
ในทางกลับกัน ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตนั้น 65% ของบริษัทที่ทำแบบสอบถามมีการปรับเงินเดือนที่ “น้อยกว่าปกติ” 5% ตอบว่า “น้อยกว่าปกติอย่างมาก” และอีก 15% “ไม่ขึ้นเงินเดือน” เราจะเห็นได้ว่า บริษัทต่างๆทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตหรือในกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ก็ล้วนแต่มีอัตราการปรับเงินเดือนให้กับพนักงานในบริษัทที่ลดลงทั้งนั้น
แล้วคำถามคือ บริษัทต่างๆ มีอัตราการปรับขึ้นเงินเดือนที่เฉพาะเจาะจงเท่าไรหลังจากการเกิดการแพร่กระจายของโคโรนาไวรัส ?
ตารางข้างล่างแสดงอัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนตามตำแหน่งในประเทศไทยในปีนี้ (รวมถึงการคาดการณ์) เปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า (ก่อนเกิดสภาวะโคโรนาช็อก (Corona shock)) และการต่อสนองเป็นไปตามสภาวะโคโรนาช็อกในปี 2563
(ที่มา: แบบสอบถามจัดทำโดยบริษัทของเรา | จัดทำในเดือนตุลาคม 2562 และเดือนสิงหาคม 2563)
ตามผลสำรวจของแบบสอบถามนี้ อัตราการขึ้นเงินเดือนในบริษัทต่างๆน้อยลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในทุกช่วงตำแหน่ง ทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตและกลุ่มธุรกิจอื่นๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิต อัตราการปรับเงินเดือนซึ่งเคยมีการปรับเพิ่มในอัตราที่มากกว่า 4-5% ในปี 2562 ส่วนหลังจากการเกิด COVID-19 อัตราการปรับเงินเดือนกลับลดลงเหลือน้อยกว่า 3% ในทุกช่วงตำแหน่งอย่างเห็นได้ชัด
เช่นเดียวกันกับในกลุ่มธุจกิจอื่นผลิตด้วย อัตราการปรับเงินเดือนเพิ่มน้อยลงในทุกตำแหน่งเช่นกัน แต่ยังคงถือว่ามีสัดส่วนของการปรับเพิ่มเงินเดือนใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาเมื่อลองเปรียบเทียบกับในอุตสาหกรรมการผลิต
ด้านล่างนี้คือผลลัพท์จากการทำแบบสอบถามเกี่ยวกับโบนัสที่จ่ายโดยธุรกิจหลังจากการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19
(ที่มา: แบบสอบถามจัดทำโดยบริษัทของเราในเดือนพฤษภาคม 2563 | บริษัทที่ตอบกลับ 402 แห่ง)
จากผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจ หลายบริษัทจ่ายโบนัสหรือคาดการณ์ว่าจะมีการจ่ายโบนัสน้อยกว่าปกติในช่วงหลังจากการเกิดโคโรนาไวรัส
ในอุตสาหกรรมการผลิต 81% ของบริษัทตอบว่าจำนวนจะลดลงจากปีปกติ 30% ตอบว่า “น้อยกว่าปกติมาก” และอีก 3% ตอบว่า “ไม่มีการจ่ายโบนัส”
ในทางกลับกันอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การผลิต 66% ของบริษัทตอบว่า “น้อยกว่าปกติ” 18% ตอบว่า “น้อยกว่าปกติมาก” และอีก 6% ตอบว่า “ไม่มีการจ่ายโบนัส”
อย่างที่เห็นว่าบริษัทส่วนใหญ่ในอุตสหกรรมการผลิตและไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตก็มีการปรับลดการจ่ายโบนัสหรือคาดการณ์ว่าจะมีการปรับการจ่ายโบนัสลงเช่นกันแล้วบริษัทต่างๆ คาดว่าจะปรับอัตราการจ่ายโบนัสประมาณเท่าไร?
กราฟด้านล่างแสดงคำตอบเกี่ยวกับการจ่ายโบนัสครั้งต่อไปหลังจากคำนึงถึงโคโรนาช็อก
(ที่มา: แบบสอบถามจัดทำโดยบริษัท Reeracoen | จัดทำในเดือนตุลาคม 2562 และเดือนสิงหาคม 2563)
ผลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับการจ่ายโบนัสนี้ 12% ของบริษัททั้งหมดในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตตอบว่า พวกเขาไม่ได้มีการจ่ายโบนัสในช่วงเวลาของการสำรวจในปี 2562 แต่ในปี 2563 กลับมีบริษัทที่ไม่ได้มีการจ่ายโบนัสเพิ่มขึ้นเป็นอัตราถึง 28% ในช่วงเวลาของการสำรวจเดียวกัน การจ่ายเงินโบนัสน้อยกว่าหนึ่งเดือน” ก็เพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 13% เช่นกัน
ในทางกลับกัน ในช่วงเวลาของการสำรวจในปี 2562 38% ของบริษัทตอบว่า พวกเขาจะได้รับเงิน 3 เดือนขึ้นไปหรือมากกว่านั้น แต่ในช่วงเวลาเดียวกันของการสำรวจในปี 2563 มีอัตราลดลงเหลือ 11% เท่านั้น
โดยวิธีนี้จำนวนของผู้ตอบแบบสอบถามว่า “ไม่มีการจ่าย” เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 12% เป็น 28% ในขณะที่จำนวนของผู้ตอบแบบสอบถามที่ได้รับเงินเดือน 3 เดือนขึ้นไปหรือมากกว่านั้นลดลงอย่างมาก จาก 38% เป็น 11%
ตารางด้านล่างแสดงจำนวนเงินโดยประมาณของการจ่ายโบนัสสำหรับอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การผลิตโดยคำนึงถึงภาวะโคโรนาช็อก (เทียบกับปี 2562 ก่อนจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา)
(ที่มา: แบบสอบถามจัดทำโดยบริษัท Reeracoen | จัดทำในเดือนตุลาคม 2562 และเดือนสิงหาคม 2563)
ตามข้อมูลนี้ 9% ของบริษัทตอบว่า พวกเขาไม่ได้รับโบนัสในช่วงเวลาของการสำรวจในปี 2562 แต่ในช่วงเวลานั้นของแบบสอบถามในปี 2563 พบว่ามีการเพิ่มขึ้น 21% “การจ่ายน้อยกว่า 1 เดือนได้เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 13% เช่นกัน”
ในทางกลับกัน ในช่วงเวลาของการสำรวจในปี 2562 พบว่า 22% ของบริษัทตอบว่าพวกเขาจะได้รับเงินจำนวน 3 เดือนหรือมากกว่านั้น แต่ในช่วงการสำรวจในปี 2563 ถูกลดลงเหลือ 6%
โดยวิธีนี้จำนวนของผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่า “ไม่มีการจ่าย” เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 9% เป็น 21% ในขณะที่จำนวนของผู้ตอบแบบสอบถามที่ได้รับเงินเดือน 3 เดือนขึ้นไปหรือมากกว่านั้นลดลงอย่างมาก จาก 22% เป็น 6%
การขึ้นเงินเดือนและโบนัสคือปัจจัยที่สำคัญต่อพนักงานในบริษัทเป็นอย่างมากและหากพวกเขาพอใจกับเงินที่บริษัทตอบแทนการทำงานหนักก็ช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้แก่พนักงานได้ ในทางตรงกันข้ามก็อาจจะเกิดผลตรงกันข้าม
ในอีกแง่หนึ่ง กรณีการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสนั้นดูเหมือนเป็นสิ่งที่ยากสำหรับบริษัทที่จะทำให้การขึ้นเงินเดือนและโบนัสเป็นไปตามที่พนักงานพึงพอใจ โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานขององค์กร
เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแจ้งให้พนักงานทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันนี้ เช่น ผลการดำเนินงานขององค์กร ตลาด แนวโน้มของบริษัทอื่นๆ เศรษฐกิจไทย เป็นต้น ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่พอใจหรือเชื่อมั่นก็ตาม ในขณะเดียวกันความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคตจะบรรเทาลงด้วยการทำให้ชี้แจงให้พวกเขาเข้าใจเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน และตลาดของบริษัทจะเป็นอย่างไรเมื่อโบนัสและการขึ้นเงินเดือนสามารถกลับคืนสู่มาตรฐานเดิมก่อนที่จะเกิดภาวะโคโรนาช็อก