การทำงานในองค์กรเชื่อว่าแทบทุกคนต้องอยากร่วมงานกับคนที่ทำงานเป็นทีมได้ดี คนที่มองเห็นเป้าหมายส่วนรวมเป็นสำคัญ ประสานงานได้อย่างราบรื่น ไม่ทำให้บรรยากาศเสียและที่สำคัญที่สุดคือต้องไม่เอาเปรียบกัน ดังนั้นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญอันดับต้นๆ ของคนทำงานที่ไม่ว่าจะองค์กรไหนก็มองเป็นทักษะทรงคุณค่าก็คือ “ความสามารถในการทำงานเป็นทีม” ที่จะทำให้ผลลัพธ์ของการนำ 1+1 ไม่เท่ากับ 2 เสมอไป เพราะอาจทำให้องค์กรได้อะไรที่มากเกินกว่านั้น
อย่างบทความจากมหาวิทยาลัย Yale บอกว่าคนส่วนใหญ่ใครๆ ก็รู้ว่า “ทีมเวิร์ก” นั้นสำคัญ
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่าสำคัญ “อย่างไร” โดยมี 5 เหตุผลประกอบคำอธิบาย ได้แก่
-
- ทีมเวิร์กทำให้ได้ไอเดียจากมุมมองที่หลากหลาย
- ทำให้สมาชิกในทีมได้เรียนรู้จากกันและกัน
- สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
- การทำงานเป็นทีมก่อให้เกิดสายสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง
- ได้สัมผัสถึงความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มากขึ้น
จากตัวอย่าง ก็คงจะพอเห็นภาพคร่าวๆ กันแล้วว่าความเป็น “ทีม” นั้นสำคัญต่อองค์กรและคนทำงานอย่างไรบ้าง
ซึ่งหากเราสามารถแสดงให้องค์กรเห็นตั้งแต่สัมภาษณ์งานก็จะช่วยเพิ่มความโดดเด่นและชิงคว้าโอกาสได้งานก่อนคู่แข่ง และ Reeracoen Thailand ได้สรุปกฎง่ายๆ สามข้อจากคุณนักเขียน Mark Murphy ให้ลองใช้กันตามนี้ครับ
1) ยกตัวอย่างและลงรายละเอียดให้ชัดเจน
เราไม่ควรตอบกว้างๆ หรือนามธรรมจนเกินไป เช่น “ทำงานร่วมกับทีมให้สำเร็จตามเป้าหมาย”
เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยให้เข้าใจ ‘บทบาท’ ที่ทำแล้วยังก่อให้เกิดความคลุมเครือสำหรับผู้ฟังได้
ซึ่งนั่นอาจหมายถึงความบกพร่องของการสื่อสาร
การจะอธิบายถึงความสามารถในการทำงานเป็นทีมควรมีรายละเอียดแต่ละประเด็นแยกย่อยในตัวเองตั้งแต่แรก
เนื่องจากการทำงานเป็นทีมนั้นมีหลายบทบาทที่เกี่ยวข้องอาทิ “การนำทีม” หรือการประสานงานในแต่ละส่วน
โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์จากประสบการณ์จริงเป็นหลัก
และยิ่งเรามีความคุ้นเคยกับตัวงานมากเท่าไร ก็ยิ่งสามารถถ่ายทอดออกไปได้ดีมากขึ้นเท่านั้น
ผู้ฟังจึงจะได้เข้าใจทั้งบทบาท และลักษณะการทำงานที่ชัดเจน
2) รู้จักเลือกแสดงออกและระวังการใช้คำพูดให้ดี
หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ทำงานกับทั้งคนที่ทำงานเป็นทีมได้ดี
กับอีกประเภทที่เน้น “ฉายเดี่ยว” ชอบทำงานคนเดียวอยู่ในบริษัท
ซึ่งเราจะดูออกได้แทบจะทันทีว่าคนแบบไหนทำงานด้วยแล้วราบรื่น
กับการสัมภาษณ์งานก็เช่นกัน ผู้สัมภาษณ์จำนวนมากสามารถบอกได้ทันทีว่าใครทำงานเป็นทีมได้
แค่ดูจากท่าทางขณะโต้ตอบกันผ่านสีหน้า แววตา คำพูด และน้ำเสียง
ดังนั้นผู้สมัครควรจะระวังเรื่องการแสดงออกทางอารมณ์กันสักนิด
เพราะบางครั้งด้วยสภาพแวดล้อม หรือความเหนื่อยล้าสะสมก็อาจทำให้เรา ‘หลุด’ และโดนหักคะแนนได้เช่นกัน
นอกจากนี้ เราอาจอธิบายเพิ่มเติมว่าตัวเองมีส่วนช่วยในทีมอย่างไรบ้าง
แต่สิ่งสำคัญที่ต้องระวังก็คือ “คำพูดเชิงลบ” เกี่ยวกับที่ทำงานเก่า
ซึ่งสามารถสร้างความรู้สึกเชิงลบให้กับผู้ฟังได้ในทันที
3) ใส่ใจคนรอบข้าง ไม่ใช่แค่ทำงานของตัวเอง
เป็นปกติที่ผู้สัมภาษณ์ (ว่าที่นายจ้างในอนาคต) จะสนใจผู้สมัครที่สามารถเล่าถึงปัญหาของการทำงานเป็นทีม
โดยมีวิธีการ “แก้ปัญหาเชิงรุก” เข้าไปคลี่คลายสถานการณ์เหล่านั้น
ซึ่งบ่งบอกถึงความเอาใจใส่ต่อส่วนรวม ไม่ใช่แค่ตัวเองเท่านั้น
ทำให้คุณสมบัตินี้ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ในแง่การช่วยแก้ปัญหาในองค์กรแบบจับต้องได้
แต่ยังสามารถนำประสบการณ์ดังกล่าวเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาระบบการทำงาน
และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลงานของทีมได้อีกเช่นกัน
สัมภาษณ์ให้ผ่านฉลุยด้วยข้อมูล Insight ซึ่งไม่ได้จากที่ไหนเริ่มต้นหางานผ่าน Reeracoen Thailand
ที่มีทีม Recruiter มืออาชีพ เป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำตลอดกระบวนการสมัครงาน
อ่านบทความแนะนำด้านการสัมภาษณ์งาน
รวม 7 คำถามสัมภาษณ์งานยอดฮิต และเทคนิคตอบอย่างมืออาชีพ
S.T.A.R เทคนิคตอบคำถามสัมภาษณ์ยากๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ไม่ออกทะเล
แปลและเรียบเรียงจาก:
#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment
#Teamwork #JobInterview #สัมภาษณ์งาน