Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

เช็กให้ดี! เพื่อนร่วมงานเป็น “ซึมเศร้า” หรือจริงๆ แล้วเขาแค่ “เครียด”

  • Home
  • General Topic
  • เช็กให้ดี! เพื่อนร่วมงานเป็น “ซึมเศร้า” หรือจริงๆ แล้วเขาแค่ “เครียด”

Select Category

เช็กให้ดี! เพื่อนร่วมงานเป็น “ซึมเศร้า” หรือจริงๆ แล้วเขาแค่ “เครียด”

ข้อมูลจาก HDC (คลังข้อมูลการแพทย์) ในปี 2022 จากประชากร 50 ล้านคนพบผู้มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 1.3 ล้านคน และมีผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษาอีก 1.2 ล้านคน รวมแล้วจะมีผู้ป่วยซึมเศร้ามากถึงราว 2.5 ล้านคน ซึ่งอาจเกิดกับคนใกล้ตัวเช่น “เพื่อนร่วมงาน” หรือตัวเราเอง โดยขาดความเข้าใจว่าโรคซึมเศร้าคืออะไร ส่งผลยังไง จนเป็นต้นเหตุของปัญหาในที่ทำงานได้

การสังเกตว่าช่วงนี้คนข้างๆ เราดูเศร้าหมอง หดหู่ ไม่มีความสุข เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนหรือเปล่าก็เป็นหนึ่งในวิธีเช็กความผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่แน่ว่าอาจเป็นอาการโรคซึมเศร้า แต่นอกจากโรคซึมเศร้า ยังมี “โรคเครียด” ที่มีความคล้ายกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนใกล้ตัวเราเป็นโรคซึมเศร้า หรือจริงๆ เขาแค่เครียดกันแน่ เพราะแม้จะมีความคล้ายกัน แต่ก็อาศัยความเข้าใจและการดูแลที่ต่างกัน ซึ่งความผิดพลาดจากความเข้าใจผิดเพียง 1 ครั้ง อาจสร้างความเสียหายได้มากกว่าที่คิด

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจความแตกต่างของสองโรคนี้ก่อน

1) ภาวะซึมเศร้า

เกิดจากความผิดปกติของสารในสมอง ซึ่งส่งผลต่อความคิด อารมณ์ พฤติกรรม รวมถึงร่างกาย มีอาการนานต่อเนื่องโดยที่ไม่รู้ถึงสาเหตุของความเศร้า และไม่สามารถหายได้ด้วยการ “ให้กำลังใจ” แต่ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างเหมาะสม

2) ภาวะเครียด

มีต้นเหตุที่ชัดเจน มักจะค่อยๆ ดีขึ้นในเวลาไม่นาน และถึงแม้จะหลับยาก แต่ก็พอนอนหลับได้ ซึ่งกำลังจากคนรอบข้างถือเป็นยารักษาชั้นดีที่จะช่วยให้พวกเขาผ่านความยากลำบากไปได้

แม้ความเครียดจะดูไม่น่าห่วงเท่า แต่ถ้าไม่จัดการและปล่อยให้สะสมก็กลายเป็นซึมเศร้าได้เช่นกัน ถ้าตอนนี้คนข้างๆ คุณดูผิดแปลกไปไม่เหมือนเมื่อก่อน ลองสังเกตอาการเหล่านี้ โดยเราได้นำแบบทดสอบประเมินความเครียดและเช็กความเสี่ยงโรคซึมเศร้าโดยกรมสุขภาพจิตมาฝากกัน เพื่อที่เราจะได้ให้ความช่วยเหลือพวกเขาอย่างเข้าใจและถูกต้องมากขึ้น

ติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมที่:

4 สัญญาณเตือน เมื่อบริษัทคุณอาจกำลังจะ “ปลดพนักงาน”

อย่ากลัวการสั่งงาน! ทีมจะแกร่งขึ้นได้ เมื่อหัวหน้าจ่ายงานเป็น

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:

http://bit.ly/3E3qnOC

http://bit.ly/3ADNnmD

http://bit.ly/3AfK6JZ

#ReeracoenRecruitment

#ReeracoenThailand

#Depression #Stress #Worklifebalance

Related Posts