Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

อยากได้งานแต่ไม่มีประสบการณ์ ลองหาโอกาสเพิ่มจาก 4 ลักษณะองค์กรต่อไปนี้

  • Home
  • General Topic
  • อยากได้งานแต่ไม่มีประสบการณ์ ลองหาโอกาสเพิ่มจาก 4 ลักษณะองค์กรต่อไปนี้

Select Category

ในการสมัครงาน ความสามารถและประสบการณ์ถือเป็นคุณสมบัติติดตัวที่ต้องมาคู่กันเสมอ ซึ่งหลายคนแม้จะมีทักษะความสามารถที่ครบถ้วน แต่ก็ยังหมดโอกาสที่จะได้ทำงานที่ตัวเองสนใจเพราะสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการขาด “ประสบการณ์”

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อย้อนกลับไปเป็นนักศึกษาเพิ่งเรียนจบมาใหม่ๆ หลายคนคงต้องเคยฝันสลายเพราะเจองานที่ใช่ แต่สุดท้ายติด Requirement ของงานที่ต้องอาศัยประสบการณ์ บางส่วนจึงข้องใจว่าเพิ่งจบมาจะเอาประสบการณ์มาจากไหน ถ้าไม่เปิดโอกาสให้แล้วคนรุ่นใหม่ๆ จะมีประสบการณ์ได้อย่างไร เช่นเดียวกับคนรุ่นใหม่หรือ Generation Z ในปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับปัญหาการเริ่มต้น “ชีวิตวัยทำงาน” เมื่ออะไรหลายๆ อย่างทำให้อนาคตของพวกเขาดูไม่มั่นคง

ทั้งการปลดพนักงานครั้งใหญ่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนภาวะเงินเฟ้อ และตลาดงานที่มีการแข่งขันสูง จนเป็นเหตุให้คนเกือบครึ่งรู้สึกหวั่นใจในความมั่นคงทางการงาน (อ้างอิงผลสำรวจจาก McKinsey และ Deloitte) ซึ่งต้องเร่งพัฒนาตัวเองและสร้างโปรไฟล์ที่แข็งแรงขึ้นมา

ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าแล้วเราจะพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้อย่างไร ในเมื่อบริษัทไหนๆ ก็อยากได้ “คนมีประสบการณ์”

ข่าวดีคือปัจจุบันหลายบริษัทมีกลยุทธ์การจ้างงานใหม่ๆ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องอาศัย “ประสบการณ์” เป็นหลักขนาดนั้น เพราะองค์กรสามารถใช้วิธีจับคู่ “ทักษะ” กับเนื้องานเช่น Skill-based hiring

Richa Gupta ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลบริษัท G-P ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในฐานะผู้ให้บริการด้านการบริหารงานบุคคล เชื่อว่า “ประสบการณ์งานที่จำกัด” ไม่ควรเป็นอุปสรรคของคนสมัครงาน โดยแนะนำให้คนรุ่นใหม่ที่มีจุดอ่อนด้านประสบการณ์ควรสรรหาและคัดเลือกงานอย่างมีกลยุทธ์สำหรับการสร้างเส้นทาง Career path ที่ดีขึ้น ซึ่งหลักสำคัญคือโฟกัสองค์กรที่มี “ขั้นบันไดของการเรียนรู้” หรือมีโอกาสพร้อมกับความท้าทายที่มากพอเพื่อเรียนรู้งานที่หลากหลายก่อนจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นกุญแจสำคัญที่จะทำให้นักศึกษาจบใหม่ หรือคนที่อยากได้งานแต่ไม่มีประสบการณ์จะสามารถเข้าถึงโอกาสงานได้มากขึ้น ก็คือการมองหาองค์กรที่สามารถให้ “โอกาส” เราได้แม้จะไม่มีประสบการณ์ติดตัวมามากมายนักก็ตาม โดย Forbes ได้แนะนำถึง 4 ลักษณะขององค์กรได้แก่

1) ที่ที่มี “โอกาส” พัฒนาทางอาชีพ

เริ่มจากการมองหาองค์กรที่ชอบลงทุนพัฒนาทรัพยากรบุคคล ไม่ว่าจะผ่านการทำงาน ลงคอร์ส การทำเวิร์กช็อปต่างๆ เพื่อช่วยสร้างกระดูกและพัฒนาศักยภาพคนในให้แข็งแกร่ง ซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นได้จาก Activity ตามช่องทางสื่อของบริษัท รวมถึงรายละเอียดสวัสดิการตามประกาศรับสมัครงาน เป็นต้น ลักษณะองค์กรดังกล่าวจึงเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกว่าบริษัทนั้นๆ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน พร้อมสร้างบุคลากรผ่านโอกาสการทำงานนั่นเอง

และหากสงสัยว่ามีจุดสังเกตอื่นๆ อีกไหมว่าองค์กรให้ความสำคัญกับ “คนใน” แค่ไหน

ก็สามารถหาคำตอบที่ชัดเจนได้มากขึ้นจากเกณฑ์การชี้วัด 3 ด้านเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก

ว่าองค์กรมีแนวทางบริหารคนอย่างไรก่อนจะนำไปประกอบการตัดสินใจที่ดีขึ้น ได้แก่

ในส่วนของลักษณะองค์กรแบบไหนที่จะมีโอกาสให้เราได้พัฒนาอ้างอิงการสำรวจ Global Growth Report จาก G-P ซึ่งมี 2,500 ธุรกิจและคนทำงานอีก 5,500 คนได้เข้าร่วม พบว่า 85% ของคนทำงานรุ่นใหม่วัย Gen Z เชื่อว่าบริษัทที่มีคนจากหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก มักจะมาพร้อมกับโอกาสก้าวหน้าได้มากกว่า ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มคน Gen Z ราว 2 ใน 5 (39%) ยังระบุว่าเป็นโอกาสสำคัญที่ตัวเองจะได้รับทักษะใหม่ๆ ผ่านการทำงานกับองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในระดับโลก

หรือเช็กให้ชัวร์ได้มากขึ้นผ่านการใช้คำถามระหว่างสัมภาษณ์งานเพื่อทำความเข้าใจลักษณะวัฒนธรรมองค์กรนั้นๆ ด้วย 5 คำถามต่อไปนี้

2) มีความหลากหลายในกลุ่มผู้นำองค์กร

เป็นที่รู้กันว่าคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ Gen Z ยึดหลักความสำคัญของความหลากหลายในสังคม ซึ่งการจะมองหางานที่ให้โอกาสคนประสบการณ์น้อย คุณ Richa Gupta แนะนำให้มองหาองค์กรที่มีผู้นำหลากหลายเพราะคุณลักษณะดังกล่าวสะท้อนถึง “โอกาสที่เท่าเทียม” โดยปราศจากอคติด้านเพศและเชื้อชาติ จึงช่วยลดความกังวลเรื่องข้อจำกัดประสบการณ์เนื่องจากบริษัทอาจไม่ได้มองว่าเป็นจุดอ่อนในการพิจารณา

จากการสำรวจเพื่อหาว่าอะไรดึงดูดที่สุดสำหรับการทำงานในบริษัทระดับโลก คำตอบที่ได้จากคนรุ่นใหม่ 1 ใน 4 อันดับแรกก็คือ “ความหลากหลายทางความคิด” ซึ่งส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรที่มีความยุติธรรมและไร้ซึ่งอคติ

3) การสื่อสารภายในองค์กรที่โปร่งใส

การเปิดกว้างและโปร่งใสต่อความคาดหวังต่างๆ ในองค์กรช่วยให้พนักงานเกิดความเข้าใจที่ชัดเจนต่อบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และเส้นทางอาชีพของตัวเอง โดยราวๆ 47% ของคนทำงาน Gen Z ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า “ความโปร่งใส” สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ ซึ่งผู้สมัครควรมองหาองค์กรที่มีการสื่อสารอย่างเปิดเผยทั้งด้านการประเมินประสิทธิภาพ ความคาดหวัง ตลอดจนการวางเป้าหมาย วิธีการ และความสำเร็จ

โดยหนึ่งในวิธีที่ตรงไปตรงมาและได้คำตอบชัดเจนที่สุด คือการพูดคุยถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาของบรรดา Internal staff ทั้งในอดีตและปัจจุบันผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่เข้าถึงได้ เช่น Linkedin

4) “นวัตกรรม” นำวัฒนธรรม

บริษัทที่มักให้ความสนใจนำเข้าเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์กรมีแนวโน้มที่จะสามารถสร้างโอกาสการเติบโตได้ดี เนื่องจากมี “ของใหม่” มาให้คนในองค์กรได้เรียนรู้อยู่เสมอๆ รวมถึงบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจในหลายประเทศทั่วโลกก็มักจะมีโอกาสได้รู้จักและรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ และพร้อมปรับตัวไปตามความเปลี่ยนแปลงของโลกได้ดีกว่าเช่นกัน

ดังนั้นสิ่งที่ทำให้บริษัทใหญ่ระดับโลกแตกต่างจากบริษัททั่วไปอับดับแรกคือการมีแรงดึงดูดกับคนทำงานระดับหัวกะทิ รวมถึงสามารถแตกแขนงสร้างธุรกิจใหม่ๆ ได้มากกว่า องค์กรที่มีค่านิยม-ความคิดแบบก้าวหน้าจึงมักจะเป็นสารตั้งต้นที่ดีสำหรับการพัฒนาทางอาชีพ

สรุป

แม้ความเชื่อมั่นในศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์โดยเน้นความก้าวหน้าโดยนำนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่มาปรับใช้ควบคู่ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาคน จะเป็นหลักการสำคัญขององค์กรสมัยใหม่ที่เปิดโอกาสให้คนมากกว่าที่จะเลือกสร้างกำแพงประสบการณ์

แต่อย่างไรก็ตามหน้าที่ของเราคือการไม่หยุดพัฒนาศักยภาพตัวเอง ไม่ปล่อยให้ประสบการณ์เป็นข้อจำกัดของการเรียนรู้ และพร้อมอัปเดตองค์ความรู้กับชุดทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อความสำเร็จในปัจจุบันและต่อยอดสู่อนาคตอย่างมั่นคง

ฝากโปรไฟล์พร้อมมองหางานใหม่

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม:

5 คำถามเช็กลิสต์ขณะสัมภาษณ์งาน องค์กรแบบไหนที่เราควรหนีไป!

อย่าด่วนตัดสินใจตอบรับงานใหม่ หากยังไม่ได้เห็นข้อมูล 3 ด้านนี้

แปลและเรียบเรียงจาก:

https://bit.ly/48F7UWf

https://bit.ly/3RDoSgI

#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment

Related Posts