Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

ย้ายงานใหม่ แต่ทุกข์ใจกว่าเดิม

  • Home
  • General Topic
  • ย้ายงานใหม่ แต่ทุกข์ใจกว่าเดิม

Select Category

ทำไมย้ายงานแต่ละครั้งต้องคอยลุ้นเหมือนซื้อหวย?
จะดีอย่างที่คิดไว้ไหม จะเจอปัญหาอะไรบ้าง จะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและคนอื่นๆ ได้หรือเปล่า

หลายคนอาจเคยมีประสบการณ์ “หนีเสือปะจระเข้”

ตอนแรกดีใจแทบตายได้ย้ายงาน เพื่อหนีจากสารพัดปัญหาที่ไม่เคยถูกแก้

สุดท้ายก็ต้องแบกร่างไร้วิญญานมาตายซ้ำสองด้วยปัญหาเดิมๆ

ปัญหาโลกแตกของคนทำงานที่ออกจากงานเก่าไปเริ่มใหม่ แต่ก็ยังไม่วายต้องเจอกับปัญหาเดิม

ทำให้เป็นเรื่องหนักใจว่า “เราจะรู้ได้ไงว่างานใหม่จะดีกว่าเดิม?”

ปัญหานี้เกิดขึ้นทั่วโลก และมีหลายคนเคยเผชิญ

ผลสำรวจปี 2022 พบว่า จากกลุ่มคน Gen Z จำนวน 2,500 คน มีมากถึง 72% ที่เคยเจอปัญหา ‘เฟล’ กับที่ทำงานใหม่

ผิดหวังกับสิ่งที่เจอ เมื่อเทียบกับความคาดหวังที่มีในตอนแรก

และเมื่องานใหม่ไม่โอเค คน Gen Z จำนวน 48% เลือกกลับไปที่เก่า อีก 41% อาจลองดูไปก่อนสัก 2-6 เดือน

ในขณะที่อีก 20% ขอไม่ทน พร้อมออกไปหาที่ใหม่ทันทีภายใน 1 เดือนแรก

กลายเป็นปัญหา Turnover rate (พนักงานลาออก) ที่องค์กรต้องกลุ้มใจ

งานที่ควรจะดำเนินต่อเนื่อง ก็ต้องมาสะดุดด้วยปัญหาเรื่องคน

ในขณะเดียวกันการลาออกบ่อยๆ ก็เป็น ‘จุดด่าง’ ใน Career Path (เส้นทางอาชีพ) ที่ถูกฝังลงในประวัติของเราที่ลบยังไงก็ไม่ออก

หลายคนอาจสงสัยว่าการลาออก หรือย้ายงานบ่อยๆ มีผลอะไร ก็งานปัจจุบันยังไม่ใช่ แถมชีวิตเป็นของเรา แล้วทำไมต้องทนอยู่?

สาเหตุคือ สมมติว่าเรากำลังสนใจบริษัทแห่งหนึ่งมากๆ อยากได้ตำแหน่งนี้ แต่เป็นงานแบบ ‘โปรเจกต์ระยะยาว’ ซึ่งต้องใช้เวลา

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ก็ต้องมองหาคนที่เหมาะสม และเมื่อ HR พบว่าเราย้ายงานบ่อย องค์กรก็อาจกังวล

ถ้าจู่ๆ เราลาออก งานก็คงชะงักไปด้วย ทำให้โอกาสได้งานที่เล็งไว้ก็ลดน้อยลงไป

ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาทั้งส่วนของประวัติการทำงานและความเหนื่อยใจที่ต้องเจอกับความ ‘เฟล’ ซ้ำๆ

ก็ต้องแน่ใจว่างานใหม่นั้น ‘ใช่’ จริงๆ ซึ่งคำถามคือเราจะแน่ใจได้อย่างไร?

บทความจาก cnbc ได้เขียนถึงประเด็นนี้ไว้ได้น่าสนใจว่าทำไมปัจจุบันหลายคนมักผิดหวังเมื่อตัดสินใจย้ายงาน

“ข้อแรกคือผู้สมัครหลายคน มองวัฒนธรรมองค์กรไม่ออก โดยเฉพาะปัจจุบันที่หลายบริษัทมีนโยบายทำงานที่บ้านเป็นหลัก
ทำให้ยากที่จะปรับตัวเข้าหาสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ได้”

เมื่อไม่มีอะไรยึดเหนี่ยว แถมงานไม่ได้โอเคขนาดนั้น ทำให้หลายคนรู้สึกเหมือนลอยคออยู่กลางทะเล ซึ่งง่ายต่อการตัดสินใจ ‘ลาออก’ มากยิ่งขึ้น

“ข้อสอง วิถีของการทำงานเปลี่ยนไป คน Gen Z มักมองหาสิ่งที่องค์กรมีให้มากกว่าในอดีต ไม่ว่าจะความยืดหยุ่น สวัสดิการ
ความน่าเชื่อถือ วัฒนธรรมองค์กร สภาพแวดล้อม เงินเดือน ซึ่งองค์กรต้องรับบทเป็นฝ่ายตาม”

หรือก็คือฝั่งของผู้สมัครเป็นฝ่าย ‘เลือก’ มากขึ้น โดยอีกมุมหนึ่งก็แลกมากับการได้งานยากขึ้นเช่นกัน

ทำให้บางครั้งองค์กรเองก็มองว่า “คนรุ่นใหม่ไม่มีความอดทน” งานหนักไม่เอา เบาไม่สู้ เจอปัญหาก็เลือกที่จะหนี

แต่จริงๆ แล้วบริษัทเองก็เป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย

เพื่อให้ได้คนมาทำงาน บางองค์กรก็พยายามนำเสนอเฉพาะด้านดีๆ เช่น สวัสดิการล้นๆ ความยืดหยุ่นสูง อยู่กันสบายๆ มีอะไรช่วยกัน

แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดและเงื่อนไขให้เข้าใจอย่างรอบด้าน จนทำให้เมื่อผู้สมัครเข้ามาทำงานจริง ก็เกิดความผิดหวัง

เพราะสิ่งที่คุย กับสิ่งที่เจอ ช่างแตกต่างกันเหลือเกิน

เมื่อองค์กรก็บอกไม่หมด ชอบล่อซื้อคนมาทำงาน ผู้สมัครเองก็ช่างเลือกมากขึ้น ทำให้เกิดช่องว่างในตลาดแรงงาน

เมื่อหาตรงกลางไม่ได้สุดท้ายก็ไม่มีใครได้ประโยชน์อะไรเลย

ดังนั้นทั้งองค์กรและผู้สมัคร ควรพูดคุยให้เกิดความชัดเจนตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นเนื้องาน วัฒนธรรมองค์กร ความคาดหวัง โอกาสเติบโต

เพื่อเข้าใจให้ตรงกัน ลดโอกาสเกิดความเข้าใจผิดจนต้องเฟลกันทั้งสองฝ่าย

กำลังจะสมัครงานแต่ยังไม่แน่ใจว่า ‘ใช่’ หรือยัง?

เช็กลิสต์ 5 ข้อก่อนสมัครงาน ควรรู้อะไรบ้าง

อ่านบทความที่น่าสนใจ:

ทำไมบางบริษัทต้องมีกฎ “ห้ามพนักงานคบกัน”

ภาพลักษณ์ภายนอก มีผลต่อ ‘ความสำเร็จ’ จริงไหม?

อ้างอิงจาก:

https://cnb.cx/3U8Yjkd

https://bit.ly/3DsYvEU

#ReeracoenRecruitment

#ReeracoenThailand

#Psychology #Selfdevelopment #Inspiration

Related Posts