Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

ทำไมเมื่อคนเรา “ได้ดี” แล้วมักจะมีนิสัยเปลี่ยนไป

  • Home
  • General Topic
  • ทำไมเมื่อคนเรา “ได้ดี” แล้วมักจะมีนิสัยเปลี่ยนไป

Select Category

ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเราย่อมมีความสัมพันธ์ มีมิตรภาพที่ดีเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ถือเป็นเรื่องปกติของความเป็น “มนุษย์” ณ ชั่วขณะหนึ่งเราอาจเกาะกันเหนียวแน่น
แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราจะพบว่าโอกาส ชะตา และเป้าหมาย
คือสิ่งที่นำพาให้เส้นทางชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกัน

ตอนเด็กเรามักจะเคยสัญญากับใครบางคนไว้ “เราจะเป็นเพื่อนรัก ไม่ทิ้งกันตลอดไป”

แต่เอาเข้าจริงปัจจุบันก็แทบไม่ได้ติดต่อกันด้วยซ้ำ

ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเราห่างกันและอีกส่วนคือสิ่งต่างๆ มันเปลี่ยนไปแล้ว

บางคนได้ดิบได้ดี เป็นใหญ่เป็นโต บางคนประสบความสำเร็จรวยล้นฟ้าแถมเปลี่ยนไปราวกับคนละคน

ซึ่งรวมถึงคนที่เคย “ดี” ในวันนั้นกลับกลายเป็นคนที่ดูจะเฮงซ*ยในวันนี้

หนังสือ What Makes You You? โดย Toffy Bradshaw

ได้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำไมเมื่อคนเราได้ดีถึงมีนิสัยเปลี่ยนไปโดยแบ่งได้เป็น 3 สาเหตุดังนี้

1) อำนาจของเงิน

บางครั้งก็มาในรูปแบบตำแหน่งหน้าที่การงาน

เคยเจอไหมว่าเพื่อนที่สนิทหรือทำงานร่วมกันมีท่าทีที่เปลี่ยนไป ดูไม่ใช่คนเดิมหลังจากได้เลื่อนขั้น

ซึ่งเหตุผลเป็นเพราะ “เงิน” หรือความสำเร็จส่งผลต่อ Empathy (ความเห็นอกเห็นใจ) ในผู้อื่น

ในการทดลองได้นำกลุ่มตัวอย่าง 300 คนมาแบ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้เยอะ กับรายได้น้อย

เพื่ออ่าน “ความรู้สึก” ที่แสดงออกบนใบหน้า ซึ่งหากมี Empathy สูงก็จะสามารถทำได้ดี

และพบว่ากลุ่มคนที่มีรายได้น้อยสามารถอ่านความรู้สึกบนใบหน้าได้ดีกว่า

นอกจากนี้ยังอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า “เงิน” มีผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกมา

ผ่านการทดลองแบ่งกลุ่มเล่น “เกมเศรษฐี” โดยแยกฝ่ายที่ได้เปรียบและเสียเปรียบ

ฝั่งที่ได้เปรียบ จะมีเงินเริ่มเริ่มต้นที่ 2,000$ และเมื่อเดินครบ 1 รอบจะได้อีก 200$

ส่วนฝั่งที่เสียเปรียบนั้นได้เงินแค่ครึ่งเดียวหรือ 1,000$ และเมื่อเดินครบก็ได้เงินอีก 100$

แน่นอนว่ากลุ่มที่มีเงินตั้งต้นมากกว่าก็ชนะไป แต่สิ่งที่สรุปได้จากการทดลองครั้งนี้ก็คือ

กลุ่มคนที่ได้เปรียบมีการแสดงพฤติกรรมในเชิง “ยิ้มเยาะ เย็นชา” ตลอดการเล่นเกม

2) ทัศนคติ “ใครๆ ก็ทำกันแบบนี้”

เชื่อว่าเป็นประโยคที่หลายคนได้ยินแล้วจะร้อง “ห๊ะ” แล้วคิดสวนกลับไปว่า แล้วแบบนี้มันดีจริงๆ เหรอ?

แนวคิดดังกล่าวถูกระบุไว้ในหนังสือโดยเรียกว่า The False Consensus Effect

หรือการที่เรามีความเชื่อว่า “คนส่วนใหญ่” จะต้องคิดแบบเรา

ซึ่งสะท้อนถึงการ “เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง” ละเลยคนเห็นต่างเพราะเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คิดแบบนี้

และมักจะเกิดขึ้นกับ “ผู้นำ” ที่ไม่สนใจความคิดของคนรอบข้างเพราะมีความเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป

3)  อีโก้ที่เกิดจากโรคไม่ยอมรับผิด

เราทุกคนน่าจะเคยเจอกับคนประเภท “ฉันไม่ผิด” และมักจะหาข้ออ้างมาโทษสิ่งรอบตัวได้เสมอ

ซึ่งเราอาจมองว่าแค่รับผิดแล้วขอโทษ คงไม่ยากเกินไป แต่ในทางปฏิบัติแล้วมันอาจไม่ง่ายแบบนั้น

เมื่อข้อมูลพบว่า “การยอมรับผิด” คือเรื่องยากสำหรับหลายคน

จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 4,727 คนมาทำการทดสอบเรื่อง Self-Esteem Test

เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคนที่ “ยอมรับผิด” เมื่อทำพลาดกับกลุ่มที่ “ไม่ยอมรับผิด”

และได้ค้นพบสาเหตุหลักที่ทำให้คนเราเกลียดกลัวการยอมรับผิด

😞เกลียดความรู้สึกอ่อนแอ ไม่ชอบการถูกตำหนิ

😞กลัวไม่ได้รับความเคารพ เนื่องจากถูกมองว่าห่วยแตก

😞กลัวการถูกปฏิเสธ จึงต้องการ “การยอมรับ” จากผู้อื่นเสมอ

😞ความเป็น Perfectionist ต้องประสบความสำเร็จเท่านั้น

ซึ่งสุดท้ายแล้วจะลงเอยด้วยการ “ตอบโต้” อย่างรุนแรงเมื่อถูกบอกว่าเขาทำผิด

และมองว่าคนอื่นอิจฉาที่ตัวเขาเองนั้นมีดีมากกว่า ไปจนถึงแก้แค้นด้วยการนำความผิดของอีกฝ่ายมาโจมตีเช่นกัน

ชื่อเสียง เงินทอง ความสำเร็จอาจทำให้ดูมีอำนาจ เมื่อมีอำนาจ จึงคิดพึ่งพาคนอื่นน้อยลง

และไม่ได้แปลว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้ใครหลายคนเป็นคนไม่ดี แต่มันทำให้เห็น “ตัวตน”ของเขาชัดเจนขึ้นเท่านั้นเอง

#ReeracoenRecruitment

#ReeracoenThailand

#Whatmakesyouyou?

#Psychology

Related Posts