Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

ทักษะสำคัญจากการกระทำเล็กๆ เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ แค่เริ่มที่ตัวเอง

  • Home
  • General Topic
  • ทักษะสำคัญจากการกระทำเล็กๆ เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้ แค่เริ่มที่ตัวเอง

Select Category

ถ้าถามว่าผู้นำที่ดีสำหรับคุณต้องเป็นอย่างไร?

หลายคนอาจมองถึงภาระความรับผิดชอบที่ “ยิ่งใหญ่” อาทิ การบริหารคน ทำงานดี ตัดสินใจเฉียบขาด ช่วยพัฒนาลูกทีม มองภาพรวมให้เป็น วางแผนให้ได้ โดยทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นความสามารถ (Skills) ในแต่ละส่วนของคนเป็นหัวหน้า แต่ก็ยังมีอีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันซึ่งก็คือ “การซื้อใจคน”

วันนี้ Reeracoen Thailand จะพาทุกคนมารู้จักกับทักษะเล็กๆ ที่ช่วยให้ใครๆ ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ รวมใจผู้คน ทำให้การงานราบรื่นได้

เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนถึงเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ซื้อใจคนได้ ใครๆ ให้ความเคารพ แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ผ่านการฝึกฝน ไม่ได้เรียนสูง หรือบางคนอาจมีฐานะยากจน เป็นคนด้อยโอกาสด้วยซ้ำ เช่น อับราฮัม ลินคอล์น มหาตมะคานธี หรือ เนลสัน แมนเดลา เองก็ตาม และในขณะเดียวกันบางคนแม้จะมีตำแหน่งระดับสูง มีลูกน้องมากมาย ก็ไม่สามารถซื้อใจคน ไม่ได้รับความเชื่อใจแม้แต่กับลูกทีมของตัวเอง สิ่งเหล่านี้เกิดจากอะไร?

บางครั้งเราอาจสนใจแต่ Hard Skill ในด้านการทำงาน ทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จนมองข้ามความสำคัญของ Soft Skill ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นไป

ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้แม้เราจะมีตำแหน่งสูงเท่าไร ทำงานเก่งแค่ไหนก็ยังไม่สามารถซื้อใจใครๆ ได้ ไปจนถึงมีปัญหาตลอดการทำงาน เจออุปสรรคติดขัด ไม่ว่าจะลูกทีมตีกัน ความคิดเห็นไม่ลงรอย หรือแม้แต่ไม่ได้รับความเชื่อใจจากคนในทีม

ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้าเราเป็นทั้งคนที่ทำงานเก่งและเป็น “ผู้นำ” ที่ทุกคนไว้ใจ เพื่อทำให้งานราบรื่นและสปิริตภายในทีมดียิ่งขึ้น

บทความเรื่อง Small Actions Make Great Leaders จากเว็บไซต์ hbr.org ได้พูดถึงทักษะที่ช่วยพัฒนาศักยภาพให้เรากลายเป็นผู้นำที่ “ซื้อใจ” ใครต่อใครได้ ผ่านการศึกษาตัวอย่างกว่า 1,000 คน โดยให้เผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างมีส่วนสำคัญ และพบว่าวิธีการส่วนใหญ่ที่ถูกนำมาใช้และประสบความสำเร็จคือการ “ตั้งเป้าหมายร่วม และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกคน” โดยอาศัยทักษะการเข้าหา โน้มน้าวใจ เพื่อดึงเอาข้อดีของแต่ละคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยความใจเย็น และเริ่มต้นด้วย “ทัศนคติที่ดี”

คำถามคือเราจะสามารถเรียนรู้ทักษะนี้ได้อย่างไร?

ขั้นตอนที่ 1 รู้จักพลังงานขับเคลื่อนภายใน

โดยทั่วไปเราจะมีพลังงานขับเคลื่อน หรือแรงกระตุ้นภายในที่แตกต่างกัน อาทิ

[ ] เป้าหมาย ที่จะเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นที่จะสำเร็จ

[ ] การยอมรับ ทำให้ตระหนักรู้ถึงสิ่งต่างๆ ตามความจริง

[ ] การเติบโต โดยพัฒนาศักยภาพให้เต็มที่

[ ] ความรัก ซึ่งเกิดจากความเข้าอกเข้าใจ

[ ] พลังจากการรู้จักความต้องการของตัวเอง
ขั้นตอนที่ 2 ฝึกวิธีการที่จะเข้าหา

เมื่อเรารู้จักพลังงานขับเคลื่อนในแต่ละด้านแล้ว ต่อมาคือการหาวิธีที่จะดึงสิ่งเหล่านี้ออกมา

โดยอาศัยเครื่องมือง่ายๆ อย่างการตั้งคำถามด้วย What และ How ดังนี้

[ ] เราจะดึง “แรงกระตุ้น” ในด้านไหนของแต่ละคนออกมาบ้าง

[ ] การจะดึงแรงกระตุ้นเหล่านั้นออกมาได้ ต้องใช้วิธีการไหน

กรณีศึกษา แม้จะไม่ใช่หัวหน้า ก็สามารถแสดงความเป็นผู้นำได้

จูลี่ ต้องการขอคำปรึกษาจากหัวหน้าที่เก่งแต่อารมณ์ร้อนและปากไม่ดี ซึ่งเธอรู้ดีว่าการจะไปยุ่เกี่ยวเขาจะต้องเจอกับอะไรบ้าง ดังนั้นสิ่งที่เธอทำเป็นอันดับแรกคือการเริ่มจากภายใน (Inner actions) เข้าหาหัวหน้าด้วยทัศนคติที่ดี ปล่อยวางอคติและไปด้วยใจเปิดกว้าง จากนั้นค่อยๆ ปรับการกระทำภายนอก (Outer actions) ไม่ว่าจะการใช้คำพูด สีหน้าท่าทาง เพื่อสร้างแนวร่วม ลดความขัดแย้งให้มากที่สุด จึงค่อยๆ โน้มน้าวใจให้มาร่วมทางด้วยกัน

ผลก็เป็นไปตามความคาดหมาย จูลี่ โดนหัวหน้าตำหนิอย่างไม่มีชิ้นดี แต่สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือหัวหน้าของเธอยอมให้ความร่วมมือจนงานสำเร็จอย่างดีในที่สุด

สิ่งที่จูลี่ทำคือการ “เข้าหาด้วยใจเปิดกว้าง” จัดการกับอคติที่ตัวเองมีและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งให้ได้มากที่สุด จากนั้นจึงค่อยๆ หว่านล้อมให้เกิดความร่วมมือ

โดยเริ่มจาก

1) ทำให้คำตำหนิของกอร์ดอน เป็นความจริงที่ยอมรับได้ แสดงออกว่าเห็นด้วยกับสิ่งที่เขาพูด

2) กล่าวชื่นชมหัวหน้าด้วยความจริงใจ ทำให้เขาเริ่มเปิดกว้างและลดความขัดแย้ง

3) นำเสนอจุดขายที่น่าสนใจ เพื่อดึงความสนใจจากหัวหน้าให้ได้

4) วาดภาพความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือในครั้งนี้

5) “ซื้อใจ” เชิญชวนให้มาช่วยกันทำให้ภาพสำเร็จนั้นเกิดขึ้นจริง

ซึ่งหากเราไม่รู้จักที่จะใช้ทักษะการซื้อใจคนผ่านวิธีการเหล่านี้ เราอาจพลาดโอกาสที่จะได้รับความช่วยเหลือ สิ่งความร่วมมือในสิ่งที่เราต้องการ ลองนึกภาพว่าถ้าหาก จูลี่ โต้ตอบหัวหน้ากลับไปในขณะที่เขากำลังตำหนิผลงานของเธออยู่ ความร่วมมือก็คงไม่เกิดขึ้นได้ รวมถึงเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาต่อการทำงานในอนาคต

ดังนั้นเราจะเห็นได้จากกรณีตัวอย่างว่าแม้ จูลี่ จะไม่ได้มีตำแหน่งเป็นหัวหน้า แต่เธอก็สามารถใช้ทักษะดังกล่าวในการเป็นผู้นำแล้ว “ซื้อใจ” หัวหน้ามาให้ความร่วมมือจนสำเร็จลุล่วงได้ ดังนั้นเราทุกคนก็สามารถเป็นผู้นำได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งสูงๆ หรือมีลูกน้องมากมาย เพียงแค่รู้จักเปิดกว้าง ลดอคติของตัวเอง มองเป้าสำเร็จเป็นสำคัญ และหัดที่จะซื้อใจคนให้เป็นด้วย

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม:

ปฏิเสธไม่เป็น รับงานล้นมือ เสี่ยง BURNOUT ข้อเสียของ “เดอะแบก” ที่ต้องแก้ ก่อนจะพังทั้งกายและใจ

พลังแห่ง DEADLINE มีอยู่จริง หรือเราแค่ติดนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง

แปลและเรียบเรียงจาก:

https://bit.ly/3C7fNXo 

#ReeracoenRecruitment
#ReeracoenThailand
#Leadership #Psychology #Selfdevelopment #Inspiration

Related Posts