เคยสังเกตไหมว่าถ้าเรามีบางอย่างต้องทำ หรืออยากรู้อะไรสักเรื่อง เราจะนึกถึงมันเรื่อยๆ และจะเริ่มเครียดมากขึ้นถ้ายังไม่ได้ลงมือจัดการ
โดยวิธีเดียวที่จะหยุดนึกถึงได้ก็คือต้องทำให้มันจบ เช่น การดูซีรีส์ตอนถัดไป อ่านหนังสือให้จบเล่ม
หรือแม้แต่กับการทำงาน ยิ่งงานเยอะเท่าไรใจเราทุกคนก็ยิ่งอยากทำงานที่ค้างไว้ให้เสร็จเร็วๆ เท่านั้น
แต่ติดที่ร่างกายเหมือนจะไม่เข้าใจ เค้นแค่ไหนสมองก็ไม่แล่น บางทีงานก็ไม่เดิน หรือผลลัพธ์ออกมาไม่ดีตามที่ต้องการ
ปัญหานี้เป็นเพราะความยากของงาน ความสามารถของเราหรือเราถูก ‘สมอง’ ของตัวเองเล่นงานกันแน่?
ถ้าคุณเคยหรือกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่งานรออยู่อีกเพียบ แต่ไม่สามารถโฟกัสงานตรงหน้าได้ ยิ่งเวลาผ่านไป ยิ่งเครียดมากขึ้นจนสุดท้ายไม่มีอะไรเสร็จสักอย่าง ถึงเวลาเข้าใจความสัมพันธ์ของ “งานค้าง-สมอง-สองมือ” และประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา
โดยปรากฏการณ์นี้มีชื่อว่า Zeigarnik Effect ที่พบว่าสมองจะจดจำและคิดถึงเรื่องที่อยากรู้ หรือสิ่งที่ต้องทำ เช่น “งานที่ยังไม่เสร็จ” ได้ดีกว่าอะไรที่ทำสำเร็จลุล่วงแล้ว
ลองสังเกตตัวเองถ้าวันนี้มีคนถามว่าทำงานอะไรเสร็จไปแล้วบ้างก็คงต้องใช้เวลานึกประมาณหนึ่ง
กลับกันถ้ามีคนถามว่า วันนี้ทำอะไรเสร็จไปแล้วบ้าง เราก็คงพรั่งพรู บรรยายออกมาได้ยาวเหยียดแบบอัตโนมัติ
ปัญหาคือระหว่างที่ Zeigarnik Effect ทำงาน เราจะคอยคิดถึงสิ่งที่ยังค้างอยู่ ขาดสมาธิจากงานตรงหน้าแม้จะพยายามแล้วก็ตาม
ซึ่งความกังวลนี้จะกระตุ้นความเครียด และหนทางเดียวที่จะหยุดได้ก็คือทำสิ่งนั้นให้เสร็จ!
ยิ่งไปกว่านั้นผลจาก Zeigarnik Effect ยังพบว่าความกังวลถึงเรื่องที่คาใจอยู่
ยังเป็นสาเหตุให้เราไม่สามารถจัดการงานให้ออกมาดีได้ ไม่ว่าจะด้านประสิทธิภาพ หรือคุณภาพเพราะสมองไม่ได้สนใจสิ่งที่ทำอยู่ตรงหน้า แต่กลับถูก ‘รบกวน’ โดยงานที่ยังไม่เสร็จ
คุณ Bluma Zeigarnik ได้ทำการศึกษาผ่านการทดลองกับคน 2 กลุ่ม ด้วยการให้ต่อ Puzzle กับทำโจทย์คณิตศาสตร์ง่ายๆ
โดยที่กลุ่มแรกปล่อยให้ทำไปเลย ในขณะที่กลุ่มที่สองจะถูกเข้าไปขัดจังหวะเป็นระยะ
ผลคือ 90% ของคนกลุ่มที่สองสามารถจดจำแบบทดสอบได้มากกว่า
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า “สมองจะจดจำสิ่งที่คาใจอยู่ได้มากกว่าสิ่งที่ทำเสร็จไปแล้ว”
ทำให้กับการทำงาน ถ้าเรายังมี ‘งานค้าง’ รอไว้อยู่ สมองก็จะจดจำแต่สิ่งนั้นจนไม่มีสมาธิมาจัดการงานตรงหน้า
จนงานเดินช้าลง ประสิทธิภาพไม่ดี คุณภาพไม่ได้ตามที่หวัง
ดังนั้นอะไรที่ยังค้างคา ก็ต้องทำให้มันจบด้วยการ ‘คลายปม’ ไปทีละจุด จัดลำดับสิ่งที่ต้องทำ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเขียนลงเป็น To-Do List ก็ได้
เราสามารถจัดการ ‘ปม’ ได้ตามความถนัด บางคนอาจชอบเขียนออกมา บางคนอาจจำไว้ในหัว
ยังไงก็ได้แต่ต้องให้สมองเห็นภาพและรู้ลำดับขั้นตอนชัดเจน อะไรทำก่อน – หลัง สำคัญมากน้อยแค่ไหน เท่านี้ความเครียดก็จะลดลง
และทำงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้น เพราะไม่มีอะไรมา ‘รบกวนใจ’ จนไม่มีสมาธิกับงานตรงหน้าแล้ว
ถ้าวันนี้คุณยังมี ‘งานค้าง’ ที่คาใจอยู่จนงานเดินไปไหนไม่ได้ลองจัดลำดับความสำคัญให้ตัวเองเห็นภาพ เพื่อการทำงานที่ราบรื่นมากขึ้น
หรือถ้า “งานเยอะจนงง” ไม่รู้จะเริ่มจากอะไรขอแนะนำ 3 เครื่องมือบริหารงานและเวลา จัดการงานง่ายๆ
มองหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับการทำงาน?
ฝากโปรไฟล์และเรซูเม่ไว้กับเราพร้อมดูแลให้คำปรึกษาในการหางานที่ใช่ในบริษัทที่ชอบ
แปลและเรียบเรียงจาก:
#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand
#Selfdevelopment #ZeigarnikEffect #งานค้าง