ไม่ว่าใคร หากเป็นเจ้าของบริษัทหรือผู้บริหารก็ย่อมอยากได้คนที่ ‘เก่งที่สุด’ เข้ามาทำงาน
เนื่องจากความสามารถหลากหลาย ทำได้ทุกอย่างตามที่องค์กรต้องการ
แล้วถ้ายิ่งพกประสบการณ์มาด้วยแบบเต็มคาราเบล ก็ยิ่งชัดเลยว่านี่แหละคนที่เรากำลังมองหา!
แต่ปัจจุบันการเลือกมองหาแต่คนที่เก่งที่สุดอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ ‘ดีที่สุด’ เสมอไป
ซึ่งเนื้อหาต่อไปนี้จะอธิบาย 3 เหตุผลว่าทำไมคนที่เก่งไม่ได้แปลว่าจะเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์องค์กรมากที่สุด
| เหตุผลที่ 1 ยิ่งเก่ง ยิ่งหายากและรอนาน |
หากในอดีตมีเพลง “ผู้ชายดีดีก็มีแต่ในนิยาย” กับการรับสมัครงานก็เช่นกัน
คนเก่งที่สมบูรณ์แบบก็อาจจะมีแต่จะหาเจอไหมก็ค่อยว่ากันอีกที
เพราะยิ่งเราวาง Spec แบบเฉพาะเจาะจงมากเท่าไรโอกาสในการหาผู้สมัครแบบนั้นๆ เจอก็ยิ่งยากมากขึ้น
Caitlin Weiser ผู้ให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลจาก Red Clover ระบุว่า
“โดยทั่วไปการมองหาคนที่สมบูรณ์แบบตาม Job Description ถือเป็นงานที่อาจจะเรียกได้ว่า “เป็นไปไม่ได้”
เมื่อเราเปิดรับสมัครงานโดยยึดความคิดที่ว่า ‘ต้องเก่งที่สุด’ หรือ ‘สมบูรณ์แบบที่สุด’
จะทำให้เรามีอคติและปิดโอกาสในการเจอคนอื่นๆ ที่มีศักยภาพ
| เหตุผลที่ 2 จ่าย ‘ค่าตัว’ แพงเกินจำเป็น |
เราไม่ได้กำลังจะบอกว่าคนที่มีความสามารถ ไม่สมควรได้รับค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ
แต่ค่าตัวที่แพงเกินความจำเป็นในที่นี้หมายถึง ‘การแข่งขัน’ ระหว่างองค์กร
ที่ต้องการกลุ่มคนเหล่านี้ที่มีจำนวนน้อยและหายากเพื่อไปร่วมงานด้วยตามความคาดหวังที่มี
ทำให้แต่ละองค์กรจำเป็นต้องงัด ‘ข้อเสนอ’ เพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น เงินเดือนที่มากกว่าเดิม สวัสดิการ ฯลฯ
ซึ่งบางครั้งในบางตำแหน่งงานเราอาจไม่จำเป็นต้องจ่ายเยอะขนาดนั้นแต่ยังสามารถได้ผลลัพธ์ที่คล้ายกันได้เช่นกัน
| เหตุผลที่ 3 เบื่อง่าย ย้ายงานเร็ว |
การได้มาซึ่งบุคลากรที่เก่งที่สุดอาจฟังดูเหมือนการประสบความสำเร็จในการจัดหาคน
แต่ความสำเร็จที่แท้จริง อยู่ที่การบริหารกลุ่มคนเหล่านี้ทำยังไงถึงจะดึงดูดใจให้คนที่อยู่สามารถสร้างมูลค่า
พัฒนาองค์กรให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม
คำตอบอาจเป็น ให้ผลตอบแทนที่มากขึ้น โปรโมต เลื่อนขั้น กำหนดเป้าหมายที่น่าสนใจ
รวมถึงช่วยให้พนักงานได้พัฒนาตัวเองผ่านการทำงานกระตุ้นความท้าทาย ด้วยโปรเจกต์งานที่มีความกดดันอย่างพอเหมาะ
แต่กับพนักงานระดับท็อปที่เราเฝ้ามองหาด้วยทักษะ ประสบการณ์ ความสำเร็จที่พวกเขาพกมาด้วย
สิ่งที่เราได้วางแผนไว้อาจเป็นเพียงเรื่อง ‘ทั่วไป’ ที่เคยผ่านมาทั้งหมดแล้ว
เมื่อองค์กรไม่สามารถสร้างแรงดึงดูดได้อีกต่อไป กลุ่มคนที่เปี่ยมด้วยความสามารถเช่นนี้ก็จำเป็นต้อง ‘โยกย้าย’
เพื่อหาความท้าทายใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับตัวเขามากกว่า
รวมถึงเมื่อองค์กรเลือกจากเฉพาะ ‘คุณสมบัติ’ ของผู้สมัครโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน
อาทิ สไตล์การทำงาน ความคาดหวัง ทัศนคติ รวมถึงเป้าหมายที่ต้องการสำเร็จในอนาคต
จนมาพบทีหลังว่าไม่ตรงกับที่องค์กรมองหา ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดปัญหาคนลาออกเร็วเช่นกัน
เมื่อคนที่เก่งที่สุดอาจไม่ตอบโจทย์ เราจะมีวิธีไหนเพื่อให้ได้
คนที่ทั้งเก่งและ ‘เหมาะสม’ กับความต้องการขององค์กร
จากประเด็นดังกล่าวคุณ Weiser ได้อธิบายว่าอันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่า “ความเก่งสามารถสร้างได้”
โดยเราสามารถเลี่ยง 3 ข้อเสียข้างต้นได้ด้วยการให้ความสนใจกับ ‘ชุดทักษะ’
เริ่มต้นจากทำความเข้าใจ Job Description และลำดับความสำคัญในสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงาน
1) สิ่งที่ผู้สมัคร ‘จำเป็นต้องมี’ ในทุกกรณี
2) ทักษะที่ ‘เรียนรู้’ เพิ่มเติมได้ระหว่างทาง
วิธีการดังกล่าวจะทำให้องค์กรมีโอกาสค้นหาผู้สมัครได้กว้างและเร็วขึ้นกว่าเดิม
เมื่อคนที่เก่งที่สุดอยู่ไกลและหายากเกินจะหาเจอ องค์กรก็ควรมีแผนสำรองไว้เป็นทางเลือก
เช่น วิธีการมองหาพนักงานแบบ Skill-based และอีกหนึ่งทางออกที่จะทำให้คุณได้ผู้สมัครที่ใช่
โดยไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมา
เลือกใช้ Reeracoen Recruitment บริการ Recruitment Agency ในไทยที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี
พร้อมเครื่องมือและข้อมูลผู้สมัครที่ผ่านการคัดกรองในระบบแล้วกว่า 100,000 คน
รวมถึงทีมงาน Recruiter ขนาดใหญ่ที่สามารถให้คำแนะนำในประเด็นสำคัญตลอดการรับสมัครงาน
ฝากเรื่องงานของคุณไว้กับเรา: ติดต่อ Reeracoen Thailand
แปลและเรียบเรียงจาก: https://bit.ly/3L853eq
#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment