“ว่างงานนาน” ไม่ได้แปลว่าขี้เกียจแค่ลองออกไปค้นหาอะไรใหม่ๆ
การมีช่วง “ว่างงาน” เชื่อว่าทุกคนย่อมมีเหตุผลส่วนตัว ไม่ว่าจะปัญหาต่างๆ การดูแลครอบครัวหรือหยุดพักเพื่อพัฒนาตัวเองเพิ่มเติม ซึ่งนั่นหมายความว่าเราไม่ได้แค่ขี้เกียจทำงานเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับมุมมองของนายจ้างบางแห่ง การที่เรามีช่วง “ว่างงาน” อาจเป็นช่องโหว่ให้สงสัยในทางที่ไม่ดีนัก อาทิ
1) ตกงานแล้วไม่มีใครจ้าง
2) เราอาจมีปัญหาอะไรบางอย่าง
3) ในช่วงเวลาที่หายไป เราทำอะไรมาบ้าง
4) ถ้ากลับมาจะยังทำงานได้เหมือนเดิมไหม
5) อะไรที่ทำให้อยากกลับมาทำงาน
ความจริงนายจ้างเองก็พอจะรู้และเข้าใจว่าแต่ละคนมีเหตุผลต่างกัน แต่สาเหตุที่ต้องถามก็เพื่อทำความรู้จักและเข้าใจเหตุผล รวมถึงดูว่าเรามีทัศนคติและวิธีใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานั้นอย่างไร ซึ่งถ้าเราไม่สามารถคลายข้อสงสัยเหล่านี้ได้อาจเกิดเป็นความลังเลต่อการตัดสินใจจนนายจ้างเลือกมองหาคนอื่นที่รู้สึกมั่นใจได้มากกว่า
หากเราเป็นหนึ่งในคนที่เคยมีช่วงว่างงานและกำลังวางแผนที่จะกลับสู่การทำงานอีกครั้ง สิ่งที่ต้องทำอาจต้องอาศัยความพยายาม รวมถึงเตรียมความพร้อมให้มากกว่าคนอื่นหน่อยทั้งการติดต่อสื่อสารกับองค์กร ทำความรู้จัก ดึงดูดความสนใจให้มากขึ้นผ่านช่องทางต่างๆ
แล้วนำ “จุดเด่น” ของตัวเองทั้งทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ รวมถึงเป้าหมายและแรงผลักดันที่มีมา “อุดช่องโหว่” ดังกล่าวให้รอบด้าน พร้อมสร้างความมั่นใจให้นายจ้างรู้สึกว่าโชคดีที่ค้นพบเราก่อนองค์กรอื่นๆ
แน่นอนไม่ใช่การเล่าทั้งชีวิตให้นายจ้างฟังว่าช่วงที่ว่างทำอะไรบ้าง แค่อธิบายเหตุผลที่ชัดเจนและจริงใจ เน้นไปที่การพูดคุยถึงงานตรงหน้าเป็นหลัก
ทำไมองค์กรถึงเปิดรับสมัคร แล้วเราสามารถเติมเต็มความคาดหวังนั้นได้อย่างไรคือสิ่งสำคัญ
ฝากโปรไฟล์ไว้กับเรา Reeracoen Recruitment
อ่านบทความเพิ่มเติมที่:
“ทำงานไม่ตรงสาย” ไม่ได้แปลว่าสิ่งที่เรียนมา คือความล้มเหลว
“เงินเดือน” ควรเป็นความลับ หรือเปิดเผยให้ชัดเพื่อความยุติธรรม?
แปลและเรียบเรียงจาก:
https://bit.ly/3iDs1zr
#ReeracoenRecruitment
#ReeracoenThailand #Recruitment