Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

5 คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญสำหรับต่อรอง Offer ก่อนเริ่มงาน

  • Home
  • Interview Guideline
  • 5 คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญสำหรับต่อรอง Offer ก่อนเริ่มงาน

Select Category

การต่อรองผลประโยชน์ส่วนต่างๆ ก่อนตกลงเริ่มงานอาจก่อให้เกิดความรู้สึกกระอักกระอ่วนใจแก่หลายคน อย่างไรก็ตามเราสามารถเปิดโต๊ะเจรจาแบบมั่นใจได้เต็มที่เมื่อมีการ “วางแผน” และเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี

ผู้ให้บริการด้านจัดหางานอย่าง Indeed ร่วมกับ Harvard Business Review ได้ร่วมกันจัด Webinar ในหัวข้อ “How to set yourself up for success when negotiating” นำโดย Matt Berndt หัวหน้าฝ่าย Job Search Academy และศาสตราจารย์ Michael Wheeler ผู้สอนหลักสูตรด้านการเจรจาต่อรองจาก Harvard Business School โดยมีผู้เชี่ยวชาญในกิจการธุรกิจจัดหางานจาก Bright Flag Recruiting, Rakuten และ Indeed ได้เข้าร่วมพูดถึงวิธีการเตรียมความพร้อมให้ตัวเองเพื่อความสำเร็จในการเจรจาผลประโยชน์ ทั้งในด้านตัวเลขจำนวนเงิน และสวัสดิการอื่นๆ ดังนี้

1) ทำการบ้านอย่างดี

การเตรียมพร้อมก่อนเจรจาเป็นส่วนที่สำคัญเสมอไม่ว่าจะกับเรื่องไหน และการอาศัยเพียง “ข้อมูล” อาจยังไม่พอที่จะเรียกว่า “พร้อม” เพราะนอกจากมีข้อมูลที่เพียบพร้อม ผู้สมัครทุกคนควรต้อง “รู้ใจตัวเอง” ว่าอะไรสำคัญที่สุดกับเราด้วย เพราะบางคนอาจให้ความสำคัญกับผลตอบแทนสูงๆ หรือกำลังมองหางานที่มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ ก็เป็นหน้าที่ที่เราต้องรู้จักตัวเองเป็นอย่างดีก่อน

McNorton (ผู้เชี่ยวชาญจาก Indeed) กล่าวว่าเขาสามารถ “ดูออก” ได้ทันทีว่าผู้สมัครได้มีการเตรียมตัวหรือไม่ โดยดูจากการอธิบายถึงความคาดหวังของตัวเอง หากไม่สามารถอธิบายได้แบบชัดเจน มีความฉะฉาน ก็มีโอกาสสูงที่จะหมายถึงเขาไม่ได้ทำการบ้านในส่วนนี้มา

เมื่อไรก็ตามที่เราเข้าใจเป้าหมายของตัวเองแล้ว ก็ถึงเวลาของการ “หาข้อมูล” มาเป็นอาวุธในการต่อรอง เช่น ฐานเงินเดือนที่สอดคล้องตำแหน่งงาน อิงจากสถานที่ อายุงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงเทรนด์ความต้องการในตลาด ณ ตอนนั้นเพื่อมีหลักอ้างอิงในการเจรจากับบริษัทนายจ้าง

2) พก “คำถาม” ติดตัวไปให้พร้อม

การสัมภาษณ์งานคือการสื่อสาร “สองทาง” โดยเป้าหมายของนายจ้างงคือเพื่ออยากรู้ว่าเราใช่สำหรับงานนี้แค่ไหน เช่นเดียวกับเราว่าสามารถฝากอนาคตไว้กับบริษัทนี้ได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามศาสตราจารย์ Michael Wheeler กล่าวว่า “คุณจะไม่มีทางได้ข้อมูล ‘ทั้งหมด’ ที่อยากได้” ดังนั้นเรื่องบางอย่างถ้าสงสัยใครรู้ เราก็ต้องถามด้วยตัวเอง

ซึ่งข้อดีของการถามในประเด็นสำคัญที่สงสัย นอกจากจะทำให้เราเข้าใจอะไรๆ มากขึ้นแล้ว

ยังเป็นการส่งสัญญาณไปหานายจ้างว่า “เราเอาจริง” กับงานนี้ โดยตัวอย่างคำถามที่น่าสนใจ อาทิ

    • คุณคิดว่าวัฒนธรรมองค์กรและแต่ละแผนกเป็นอย่างไร
    • โดยเฉลี่ยทั่วไปพนักงานมักจะอยู่กับบริษัทนานกี่ปี
    • มีนโยบายเกี่ยวกับการทำงานที่บ้านหรืออื่นๆ อย่างไรบ้าง
    • อะไรคือโอกาสหรืออุปสรรคที่คุณคิดว่าตำแหน่งนี้จะต้องรับมือ

(อ่านต่อได้ที่ 5 คำถามสัมภาษณ์งานเพื่อเช็กว่าองค์กรแบบไหนที่เราควรหนีไป!)

3) เตรียมใจตอบคำถามยากๆ

แน่นอนว่าเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอกับคำถามยากๆ ในทุกการสัมภาษณ์งาน สิ่งเดียวที่เราทำได้คือเตรียมพร้อมล่วงหน้าและ “ทำให้ดีที่สุด” วิธีการก็คือพลิกจุดอ่อนหรือช่องโหว่ให้เป็นโอกาส โดยให้คิดซะว่า “อะไรที่อีกฝ่ายจะสงสัยในตัวเรา” เช่น เราอาจมีช่วงเวลาว่างงาน ซึ่งอีกฝ่ายอาจนำมาถามเพื่อเตรียมคำตอบที่จะมัดใจผู้สัมภาษณ์ให้ได้ (อ่านต่อได้ที่ 7 คำถามสัมภาษณ์งานที่ตอบยากที่สุด)

4) สำคัญมาก! อย่าแสดงความไม่มั่นใจเวลาต่อรอง

อีกหนึ่งคำถามที่มักต้องนำมาพูดถึงเสมอก็คือ “ผลประโยชน์” คำแนะนำจาก Omole (ผู้เชี่ยวชาญจาก Indeed) คือการฝึกซ้อมพูดกับกระจกหรือบันทึกวิดีโอเก็บไว้เพื่อฝึกให้มีน้ำเสียงที่หนักแน่น และดูมีความจริงจัง เนื่องจากหากเราแสดงท่าทีไม่จริงจังหรือดูไม่มั่นใจในสิ่งที่ตัวเองพูดออกไป น้ำหนักของคำพูดหรือสิ่งที่ร้องขอก็จะไม่มากพอและอำนาจการต่อรองจะตกไปอยู่กับนายจ้างในทันที

ซึ่ง Berndt (หัวหน้าฝ่าย Job Search Academy จาก Indeed) ได้เสริมตัวอย่างของรูปแบบวิธีพูดต่อรองผลประโยชน์ต่างๆ คือการนำ “ข้อมูล” ที่หาไว้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกมาเพิ่มน้ำหนัก โดยระบุถึงรายละเอียดรวมถึงเหตุผลที่ทำให้เราต้องต่อรองในส่วนนี้เพิ่มเติม เช่น จากที่สำรวจฐานเงินเดือนในตลาดสำหรับตำแหน่งงานนี้ ประกอบกับประวัติผลงานและความสามารถที่มีควรอยู่ที่ระหว่าง xxx – xxx จึงเป็นเหตุผลให้เราต้องมาพูดคุยหาข้อสรุปกันเพิ่มเติม

การทำแบบนี้ไม่เพียงแต่โชว์ว่าเราได้ทำการบ้านมาอย่างดียังเป็นการเปิดโอกาสให้นายจ้างแชร์ความคาดหวังที่ชัดเจนออกมามากขึ้นด้วย

5) ห้ามลืมสวัสดิการนอกเหนือจากเงินเดือน

แม้จะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและคุยยากแต่อย่างไรก็ตามเงินเดือนก็เป็นเพียงแค่ “จุดเริ่มต้น” เพราะยังมีสวัสดิการส่วนอื่นๆ อีกมากที่เราต้องให้ความสำคัญ เช่น นโยบายการเข้างาน กิจกรรมบริษัท วันหยุดวันลา เนื่องจากบางบริษัทอาจโดดเด่นเรื่องการให้สวัสดิการที่ดีซึ่งรวมๆ แล้วอาจมีความน่าสนใจมากกว่าตัวเลขเงินเดือนก็เป็นได้

การต่อรองผลประโยชน์ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดหากสามารถเตรียมตัวให้พร้อมและมีทักษะที่ดี อย่างไรก็ตามเราไม่จำเป็นต้องสู้ด้วยตัวเองเพียงลำพังเพียงหางานผ่าน Reeracoen Thailand ที่มีมี Recruiter มืออาชีพพร้อม “ช่วยต่อรอง” ไม่ว่าจะผลประโยชน์หรือความคาดหวังก่อนเริ่มงานแบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย! ฝากโปรไฟล์ไว้กับเรา คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม:

6 วิธีช่วยให้หางานใหม่ได้เร็วทันใจ (ฉบับคนไม่มีเวลา)

หางานดีตำแหน่งสูงใน Hidden Job Market ไม่ยากอย่างที่คิด

แปลและเรียบเรียงจาก: https://bit.ly/3sg6QJ0

#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment

Related Posts