ไหวไหม ยังไหวอยู่นะ!?
10 เช็กลิสต์สู่การเป็น “ยอดมนุษย์เงินเดือน”
เคยสงสัยไหมว่าถ้าเราลาออกไป บริษัทจะเป็นยังไง
ป้าแม่บ้าน หัวหน้า เพื่อนร่วมงานจะมีใครเสียดายที่เสียเราไปบ้างไหม
การมีความสำคัญในองค์กร เป็นหนึ่งในวิธีชี้วัดความสามารถและคุณค่าของคนทำงาน
ซึ่งนอกจากได้รับการชื่นชมและความเคารพจากหลายๆ คนแล้ว ยังช่วยให้เรา “อัปมูลค่าตัวเอง” ให้มีอำนาจต่อรองได้มากขึ้นเช่นกัน
ทั้งการเลื่อนตำแหน่ง หน้าที่อำนาจตัดสินใจต่างๆ รวมถึงอัตราเงินเดือนด้วย
ทำอย่างไรถึงจะกลายเป็นสุดยอดพนักงานที่องค์กรขาดไปไม่ได้?
เรามี 10 ข้อเช็กลิสต์สุดยอดพนักงาน จากเว็บไซต์ indeed.com ที่หากทำได้
รับรองว่าองค์กรใดๆ เพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้าคนไหนก็ต้องรักและอยากเก็บเราไว้ชั่วฟ้าดินสลายอย่างแน่นอน
1) ทัศนคติดี
การมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ นอกจากช่วยให้เราทำงานได้ดีตลอดทั้งวัน ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจของเพื่อนร่วมทีม
ด้วยการสร้างบรรยากาศที่ดีผ่านการทักทาย สีหน้าท่าทาง และวิธีรับมือกับงานหรือปัญหาต่างๆ ที่มีมากมาย
2) แสดงพลังอันทุ่มเท
ความทุ่มเท คือหนึ่งในหัวใจหลักของการเป็นสุดยอดพนักงาน มุ่งมั่นที่รักษามาตรฐานของตัวเอง
กระหายที่จะต่อยอดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ พร้อมที่จะทุ่มเท พาองค์กรไปยังปลายทางที่ดี
3) สานสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายกับคนรอบข้าง
การมีความสัมพันธ์หรือคอนเนกชันที่ดี มีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง จะทำให้เราจัดการงานง่ายขึ้น รวมถึงช่วยฝึกทักษะการสื่อสาร
ซึ่งเป็นผลดีต่อการทำงานและอนาคต
4) หมั่นพัฒนาตัวเอง
การแสดงความต้องการที่จะพัฒนาตัวเองผ่านการศึกษาหาความรู้
ทดลองแนวทางใหม่ๆ หรือทำงานอื่นๆ เพิ่มเติม จะทำให้เราเป็นทรัพยากรที่น่าลงทุนและเก็บไว้
5) ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงาน
บางครั้งแม้เราจะทุ่มเท แต่ทำผิดจุด ก็อาจไม่มีใครมองเห็น ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้คือการ ‘เปิดประเด็น’ สร้างสรรค์โปรเจกต์ใหม่ๆ
เพิ่มทักษะการจัดการปัญหา และทำให้เราเติบโตขึ้นจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก
6) มีแรงขับเคลื่อนเสมอ
การมีความมุ่งมั่นที่จะทำงาน กล้าเผชิญหน้ากับความท้าทาย จะทำให้เราสามารถยกระดับพลังงานและบรรลุเป้าหมายได้
ซึ่งช่วยสร้างความไว้วางใจในตัวเราด้วยเช่นกัน
7) จริงใจ กล้ายอมรับในข้อด้อยเพื่อพัฒนาตัวเอง
กล้าที่จะเปิดเผยจุดอ่อนของตัวเอง เพื่อเปิดรับการเรียนรู้ใหม่ๆ ทำให้หัวหน้ามองเห็นความต้องการที่จะพัฒนาตัวเองจากเรา
ซึ่งจะกลายเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าในอนาคต
8) จัดการตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสามารถในการจัดการที่ดีจะทำให้เราเป็นคนที่มีระเบียบแบบแผน ทำให้ตารางงานส่วนตัว และการประชุมมีความชัดเจน
ด้วยการแบ่งหมวดหมู่ จัดลำดับความสำคัญและระยะเวลาที่ต้องใช้ การวางแผนล่วงหน้า นอกจากเพิ่มความ Productive แล้ว
ยังทำให้เราไม่พลาดส่วนสำคัญๆ ด้วย
9) ฝึกทักษะ Active Listening
จริงอยู่ที่การฟังคือหนึ่งในเรื่องที่ง่ายที่สุด แต่การ “ฟังให้เข้าใจ” ต่างหากที่ยาก
Active Listening คือการฟังเพื่อเข้าใจฝ่ายตรงข้าม เกิดขึ้นด้วยหลัก 3A ได้แก่
-
- Attitude ลบอคติเพื่อเปิดใจรับฟัง
- Attention แสดงความสนใจต่อผู้พูด
- Adjustment หาวิธีการโต้ตอบที่เหมาะสม
ทักษะ Active Listening เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาทักษะการสื่อสารของเรา
หากเราสามารถฟังอย่างเข้าใจในจุดประสงค์ของอีกฝ่าย จะทำให้เราวิเคราะห์ความต้องการ
รวมถึงวิธีการรับมือเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดให้ทั้งสองฝ่ายได้ง่ายขึ้น
10) ช่วยให้เพื่อนร่วมงานได้พัฒนา
เมื่อเพื่อนร่วมงานเกิดปัญหา ลองยื่นมือเข้าไปในเรื่องที่เราสามารถให้คำแนะนำ ช่วยเหลือได้
นอกจากเพื่อนร่วมงานได้ฝึกทักษะที่ยังขาดไปแล้ว ความสัมพันธ์ก็แน่นแฟ้นขึ้นด้วย
การทำให้ครบทั้ง 10 ข้ออาจเป็นเรื่องยากสำหรับหลายคน (เชื่อว่าแทบจะทุกคน)
เพราะในทุกๆ วันงานและปัญหาที่เราต้องเผชิญก็ไม่ใช่น้อยๆ แถมชีวิตเราก็ไม่ได้มีแค่การทำงาน แต่เราสามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาตัวเอง
ฝึกไปทีละน้อย เพราะความสำเร็จไม่จำเป็นต้องเกิดจากการวิ่งด้วยความเร็ว หรือก้าวกระโดดไกลๆ แต่การก้าวเล็กๆ อย่างมั่นคงก็ทำให้เราสำเร็จได้เหมือนกัน
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม:
ฝึกทลายกำแพง ‘ความเกรงใจ’ เพื่อผลลัพธ์ใหม่ๆ ที่ดีกว่า
แปลและเรียบเรียงจาก:
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
#ReeracoenRecruitment
#ReeracoenThailand
#Psychology #Selfdevelopment #inspiration