Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

รู้จัก Quiet Firing กลยุทธ์ที่มีไว้ทำให้พนักงานอยากลาออก

  • Home
  • General Topic
  • รู้จัก Quiet Firing กลยุทธ์ที่มีไว้ทำให้พนักงานอยากลาออก

Select Category

เราอาจเคยได้ยินคำว่า quiet quitting ที่แปลตรงตัวได้ว่าเป็นการ “ลาออก” แบบเงียบๆ อธิบายถึงพฤติกรรมของพนักงานที่หมดใจกับงาน และเริ่ม “ปล่อยจอย” งานหนักไม่เอา งานเบาก็ไม่ค่อยสู้ ไม่ต้องการมีส่วนร่วมกับอะไรใดๆ ในที่ทำงาน จนเป็นความปวดหัวขององค์กรที่ไม่รู้จะจัดการอย่างไร ซึ่งนั่นถือเป็นในมุมของ “พนักงาน” เพราะในมุมขององค์กรเองก็มีคำว่า quiet firing ที่มีไว้เพื่อกำจัดคนที่ไม่ผ่านเกณฑ์แบบเงียบๆ เช่นกัน

ในบทความนี้ Reeracoen Thailand จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับคำนี้ให้มากขึ้นพร้อมวิธีรับมือเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว

Quiet firing คืออะไร?

พูดในภาพรวมแบบอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือการทำให้พนักงานรู้สึกไม่ดีกับสิ่งที่เจอ เช่น ถูกมองข้าม ไม่มีคุณค่า ไร้ตัวตนจนไม่อยากอยู่ต่อแล้วตัดสินใจ “ลาออก” ไปเอง ในแง่ดีอาจเป็นความบกพร่องในการดูแลพนักงาน เช่น ขาดการสนับสนุน ไม่ได้ช่วยพัฒนา ไม่มีความก้าวหน้า

กลับกันในแง่ร้ายคือการตั้งใจบีบให้พนักงานอยู่ไม่ได้ เปรียบเสมือนบอกอ้อมๆ ว่า “คุณโดนไล่ออก” ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง เช่นในแง่ร้ายเมื่อบริษัทต้องการให้พนักงานออกแต่ไม่อยากรับภาระจ่ายเงิน “ค่าชดเชย” ให้ทีหลัง โดยทั้ง Quiet firing และ Quiet quitting ถูกพูดถึงในวงกว้างตั้งแต่ปี 2021 หลังเหตุการณ์ The Great Resignation ที่คนจำนวนมากแห่ลาออกจากงานแล้วหันไปมองหาทางเลือกใหม่ๆ ให้ชีวิต

ทำไมต้อง Quiet Firing

เวลาผ่านไปองค์กรพบว่าพนักงานทำงานไม่ได้ตามเป้าหรือต้องการแล้วยกเครื่องสร้างทีมขึ้นมาใหม่ แต่ติดปัญหาที่ถ้าจะตัดคนเก่าๆ ออกก็เป็นเรื่องยาก เมื่อไม่อยากรู้สึกผิดในใจ ไม่ต้องการจ่ายเงินชดเชยหรือยิ่งไปกว่านั้นคือกลัวโดนฟ้องจากการเลิกจ้างโดยมิชอบ จึงต้องสร้างสถานการณ์ที่ทำให้คนเหล่านั้นออกไปเองโดยแบ่งออกได้เป็น 3 เหตุผลหลักๆ ดังนี้

ป้องกันการจ่ายค่าชดเชยและถูกฟ้อง

เนื่องจากในแต่ละประเทศจะมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ทำให้บริษัทต้องจ่ายเงินค่าชดเชยในการเลิกจ้างพนักงาน

ดังนั้นการทำให้พนักงานเลือกลาออกไปเองจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าในสายตาของบางองค์กร

ป้องกันการเสียชื่อเสียงของบริษัท

การปลดพนักงานอาจทำให้เกิดการนำไปพูดต่อ ซึ่งสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับองค์กร

ดังนั้นจึงใช้วิธีการที่ทำให้ “เงียบ” ที่สุด อย่างการ Quiet firing นั่นเอง

อีกหนึ่งความเป็นไปได้คือ “การสื่อสาร”

ที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างองค์กรกับพนักงานเป็นผลพวงที่ต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน

จากเข้าออฟฟิศเป็นการทำงานทางไกลมากขึ้นทำให้บางครั้งอาจส่งผลให้พนักงานรู้สึกขาดการเชื่อมต่อ

อย่างไรก็ตามสิ่งในฐานะคนทำงานเราก็อาจตกอยู่ในสถานการณ์แบบได้ในสักวัน

ดังนั้นจึงต้อง “รู้เท่าทัน” จาก 4 ข้อสังเกตที่แนะนำบนบทความจาก builtin ต่อไปนี้

1) ถูกตำหนิในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง

โดยทั่วไปมักจะเริ่มจากการโดนตำหนิแบบงงๆ ต่อมาเราจะพบว่าตัวเองไม่ค่อยได้รับ “คำชม” อย่างที่เคยได้

แม้กระทั่งหัวหน้ายังจุกจิกกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ มากขึ้นจนกระทั่งสุดท้ายกลายเป็นทำอะไรก็ผิดไปหมดก็อาจเป็นการบีบเพื่อให้ความมั่นใจเราลดลง

2) รู้สึกเหมือน “หลุดวงโคจร”

อีกหนึ่งข้อสังเกตของ Quiet firing คือการพบว่าตัวเองเหมือนถูกจับแยกจากคนอื่นๆ จนผิดสังเกต

ไม่ได้เข้าร่วมประชุมที่ควรจะมีเราอยู่ในนั้นด้วย รวมถึงไม่ค่อยได้รับข้อมูลที่สำคัญ เช่น อัปเดตงาน

รายละเอียดบางอย่าง หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทีมและองค์กร

3) ไม่มีการพูดถึงอนาคตข้างหน้าในการประเมิน

นอกจากบริหารทีมและพนักงานให้ได้ผลงานที่ดี อีกหนึ่งหน้าที่ขององค์กรและผู้นำคือการ “สร้างอนาคต”

ด้วยแผนงานและความท้าทายในระดับเหมาะสม ซึ่งมักจะมาจากการพูดคุยหลังประเมินผลงานในแต่ละรอบ

เพื่อหาข้อสรุปและมอบหมายงานที่ช่วยให้เราได้พัฒนา แต่หากระยะหลังดูเหมือนจะไม่การพูดคุยในส่วนนี้ก็เป็นอีกหนึ่งข้อผิดสังเกตจากสิ่งที่ควรจะเป็น

4) ถูก “ดอง” ไม่ขึ้นเงิน ไม่เลื่อนขั้น ไม่แจกโบนัส

ทุกครึ่งปี – สิ้นปีจะมีหนึ่งสิ่งที่คนทำงานส่วนใหญ่ต่างรอคอยซึ่งก็คือการ “โปรโมต” เลื่อนขั้น

ขึ้นเงินเดือนและแจกโบนัส (สำหรับบริษัทที่มี) โดยถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ขององค์กรที่มีไว้จูงใจให้พนักงานอยู่นานๆ

ดังนั้นถ้าปัจจุบันบริษัทไม่ได้ปัญหาเรื่องผลประกอบการ ตัวเราเองไม่ได้ปัญหาเรื่องผลงานอย่างร้ายแรง ก็อาจตีความได้ว่าบริษัทไม่ได้ต้องการรักษาเราเอาไว้

เพิ่มเติมจาก Harvard business review ที่ได้ทำการเก็บผลสำรวจจากคนทำงานชาวอเมริกันกว่า 1,000 คน

ผู้เคยผ่านประสบการณ์ถูก Quiet fired จากนายจ้างจนพบข้อสังเกตสัญญาณความเปลี่ยนแปลงที่แบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

ความเปลี่ยนแปลงในแง่ภาระหน้าที่

    • โยกงานสำคัญไปให้คนอื่นทำแทน
    • มอบหมายงานอื่นที่ไม่สอดคล้องกับหน้าที่หลัก
    • ไม่ให้โอกาสงานใหม่ๆ อย่างที่ควรจะเป็น
    • กำหนดเป้าหมายแบบเข้าขั้นเป็นไปไม่ได้

ความเปลี่ยนแปลงด้านผลตอบแทน

    • ลดฐานเงินเดือน
    • ไม่ขึ้นเงินเดือน / งดแจกโบนัส
    • ประหยัดรายจ่ายโดยการไม่อนุญาตให้ทำงานล่วงเวลา

ความเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขการทำงาน

    • เปลี่ยนชั่วโมงการทำงาน
    • โดนเพิ่มงานจนไม่ถึงระดับที่ไม่สามารถรับมือได้
    • บังคับให้ย้ายที่อยู่ / ที่ทำงาน
    • ถอดสวัสดิการต่างๆ ที่เคยได้เมื่อก่อน

ความเปลี่ยนแปลงด้านการสื่อสารกับหัวหน้า

    • หลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องแผนงานในอนาคต
    • ขาดการได้รับฟีดแบคผลงานอย่างต่อเนื่อง
    • ประเมินพนักงานด้วยมาตรฐานที่ต่างกัน
    • หัวหน้ามักจะ “หาย” แบบไม่มีสาเหตุ
    • บกพร่องด้านการให้ข้อมูลที่สำคัญต่องาน
    • ไม่ให้เครดิตผลงานที่ทำ

ฝากโปรไฟล์พร้อมมองหางานใหม่ที่ตอบโจทย์และตรงใจมากขึ้น

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่:

วิธีตอบคำถามสัมภาษณ์งานเมื่อต้องเล่าเรื่อง “ความล้มเหลว” ให้ HR ฟัง

ผลสำรวจ 8 เหตุผลยอดฮิตที่ทำให้คนลาออกจากงานในปี 2023

แปลและเรียบเรียงจาก:

https://bit.ly/41aMM7P

https://bit.ly/3Ry1i6t

#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment

Related Posts