Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน เพราะพยายาม “ปิดบังข้อเสีย” ของตัวเองมากเกินไป

  • Home
  • Interview Guideline
  • สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน เพราะพยายาม “ปิดบังข้อเสีย” ของตัวเองมากเกินไป

Select Category

ในมุมมองทั่วไปการสัมภาษณ์งานคือการที่องค์กร (นายจ้าง) และผู้สมัคร (ลูกจ้าง) มานั่งพูดคุยทำความรู้จัก พร้อมหาข้อสรุปในแต่ละประเด็น ทั้งหน้าที่ ความคาดหวัง เป้าหมาย ตลอดจนผลตอบแทนก่อนจะตัดสินใจ “ไปต่อ” หรือควรพอแค่นี้

สำหรับข้อมูลที่ผู้สมัครต้องการจากการสัมภาษณ์หลักๆ คือ

    1. ตำแหน่งงานนี้ “ต้องทำอะไรบ้าง”
    2. รูปแบบการทำงานที่นี่เป็นอย่างไร
    3. คุณภาพชีวิตที่จะดีขึ้นหลังจากนั้น
    4. มี Career path รองรับในระดับไหน

ในส่วนขององค์กรอาจต่างไปเล็กน้อยซึ่งมีเนื้อหาสาระหลักๆ อยู่ 4 ด้านด้วยกัน

    1. ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
    2. “บุคลิกนิสัย” สไตล์เข้ากับองค์กรได้
    3. มีความมุ่งมั่นและแพชชันที่น่าสนใจ
    4. จะเป็นการตัดสินใจที่ “คุ้มค่า” ในอนาคต

เมื่อเข้าใจเป้าหมายที่องค์กรมองหาแล้วผู้สมัครก็จะใช้เวลาเตรียมตัวได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม หนึ่งในข้อผิดพลาดที่ทำให้หลายคนสัมภาษณ์งานไม่ผ่านอยู่บ่อยๆ

ก็คือการตั้งเป้าเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะพยายามปิดบังตำหนิหรือข้อเสียของตัวเอง

เพราะเชื่อว่ายิ่ง “ไร้ที่ติ” ก็จะยิ่งมีโอกาสได้งานสูง

ยกตัวอย่าง เมื่อองค์กรอยากรู้จักผู้สมัครมากขึ้นก็อาจใช้คำถามที่ให้บอกเล่าเกี่ยวกับความผิดพลาด เช่น

“พูดถึงงานที่ทำแล้วผิดพลาดให้ฟังหน่อย”

กลุ่มคนที่ยึดคติว่าต้องสมบูรณ์แบบเท่านั้น ก็จะพยายามเลี่ยงการเปิดเผยจุดอ่อน

และเบี่ยงประเด็นไปพูดถึงเรื่องอื่นแทน

“ไม่เคยมีประวัติทำงานแล้วผิดพลาด เพราะมีการเช็กความเรียบร้อยก่อนเสมอ”

ถ้าลองเอาตัวเองไปนั่งอยู่ในสถานการณ์นั้น ก็จะพบว่าเราไม่อยากจะเชื่อคำตอบในเชิงนี้สักเท่าไร

เพราะแทบเป็นไปไม่ได้ที่คนเราจะไม่เคยทำพลาดเลย และเมื่อคำตอบที่เลือกใช้เพื่อ “สร้างเครดิต”

กลายเป็นการ “ดิสเครดิต” ให้ตัวเองดูไม่น่าเชื่อถือ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ถือว่าผิดวัตถุประสงค์ไปไกล

ยิ่งไปกว่านั้น ย้อนกลับไปที่เป้าหมายการสัมภาษณ์ขององค์กรข้อที่ 4

คือการพิจารณาว่า “คุ้มค่า” ต่ออนาคตหรือไม่ แสดงว่าเกณฑ์การคัดเลือกจะไม่ใช่แค่ทำงานตอนนี้ได้ดี

แต่ต้องมีพื้นที่ให้พัฒนาสำหรับอนาคตขององค์กรด้วย

ดังนั้นการพยายามปกปิดข้อผิดพลาดในอดีต จึงเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่องค์กรมองหา

อย่าง Growth Mindset ที่เป็นคุณสมบัติพื้นฐาน ทำให้เปิดกว้างต่อการเรียนรู้ กล้าออกนอกกรอบ

และมอง “ความล้มเหลว” เป็นขั้นบันไดของความสำเร็จ การที่ใครสักคนจะมีตำหนิบ้าง ไม่ใช่อาชญากรรมเลวร้าย

เพราะองค์กรเองก็อยากทำความเข้าใจตัวตนของผู้สมัครให้มากขึ้น สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการมีข้อเสีย

หรือความผิดพลาดคือความกล้าที่จะลุกขึ้นมาเรียนรู้เพื่อก้าวข้ามกำแพงเหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แปลว่าทุกปัญหาควรถูกขุดขึ้นมาพูดถึง

กุญแจสำคัญอันดับแรกคือเลือกจากสิ่งที่กำลังพัฒนาหรือแก้ไขแล้ว

โดยไม่ใช่จุดอ่อนที่ “แก้ยาก” จนมองไม่เห็นหนทาง

และถ้าให้ดีที่สุดคือใช้สิ่งที่เคยเป็นปัญหาจริงๆ แต่ปัจจุบันสามารถเอาชนะได้จนกลายเป็น “จุดเด่น” ในที่สุด

ฝากโปรไฟล์กับ Reeracoen Thailand พร้อมค้นหางานที่ใช่ในบริษัทที่ชอบ

อ่านบทความเสริมทักษะการสัมภาษณ์งาน:

รู้จักสไตล์และจุดเด่นตัวเองให้มากขึ้น ผ่าน 4 รูปแบบหลักของการสัมภาษณ์งาน

กฎ 3 ข้อในการแสดงทักษะ “การทำงานเป็นทีม” ระหว่างสัมภาษณ์งาน
แปลและเรียบเรียงจาก: https://shorturl.at/dijT6

#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment

Related Posts