Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

จบวิศวะทำงานอะไรได้บ้าง? สำรวจตำแหน่งงานในสาย Engineer ได้ที่นี่

  • Home
  • General Topic
  • จบวิศวะทำงานอะไรได้บ้าง? สำรวจตำแหน่งงานในสาย Engineer ได้ที่นี่

Select Category

คณะวิศวกรรมศาสตร์ นับว่าเป็นหนึ่งในคณะยอดนิยมของชาวไทย และหากเทียบสัดส่วนจำนวนนักศึกษากับแต่ละคณะจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ก็ถือว่ามีจำนวนค่อนข้างเยอะกว่าสาขาวิชาอื่นๆ ทั้งนี้เพราะสาขาวิชาด้านวิศวกรรมศาสตร์มักจะถูกมองว่าสามารถการันตีความมั่นคงทางอาชีพได้ เรียนจบวิศวะมาแล้วมีโอกาสตกงานค่อนข้างน้อย แถมยังได้รับเรทเงินเดือนที่ดีกว่าสายงานอื่นๆ โดยมีหลักสูตรให้เลือกเรียนอย่างหลากหลาย เช่น วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ ฯลฯ

สำหรับปลายทางหลังเรียนจบก็มีหลายคนที่สงสัยว่าจบวิศวะแล้วทำงานอะไรดี

Reeracoen Thailand มีตัวอย่างตำแหน่งงานมาแนะนำเป็นแนวทางกันครับ

1) Production Planning

ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพ บริหารจัดระเบียบการทำงาน

ควบคู่กับประเมินทรัพยากรภายในองค์กรทั้งแรงงาน วัตถุดิบ เครื่องจักร และกระบวนการผลิต (4M)

สาขาวิชา: จบวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineer) ที่เน้นเรียนในด้านการควบคุมการผลิตโดยตรงเป็นส่วนใหญ่

2)  Production Engineer

มีหน้าที่ดูแลสายการผลิตให้ทำงานได้ตามเป้า คอยแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับหน้างาน

โดยทำงานร่วมกับฝ่ายปฏิบัติการในไลน์การผลิตและคิดหาวิธีเพิ่มทั้งผลผลิต และประสิทธิภาพ

ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

สาขาวิชา: วิศวกรรมการผลิต หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3) Maintenance Engineer (วิศวกรซ่อมบำรุง)

มีหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต

วางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

ป้องกันการชำรุด และความเสื่อมที่เกิดขึ้นจากอายุการใช้งาน

ซึ่งส่วนมากจะเป็นระบบเครื่องกล หรือระบบไฟฟ้าเป็นหลัก

จึงมักจะกำหนด Requirement เป็นคนที่จบวิศวะเครื่องกลและวิศวะไฟฟ้า

สาขาวิชา: วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineer), วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineer)

4) Project Engineer / New Model Engineer

เป็นวิศวกรที่มีระดับประสบการณ์สูง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานที่เข้ามาในรูปแบบของโปรเจกต์

เช่น เมื่อบริษัทมีแผนปรับการผลิตรถยนต์โมเดลใหม่

ทีม Project / New model ก็จะเข้ามามีบทบาททดสอบการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ

เพื่อวิเคราะห์ปัญหา วางแผนบริหารแรงงานคนและเครื่องจักร

รวมถึงตรวจสอบคุณภาพ และกำหนดกระบวนการก่อนเริ่มผลิตจริง ให้ไลน์การผลิตมีประสิทธิภาพ

สาขาวิชา: วิศวกรรมศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

5) R&D Engineer

ทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ

รวมถึงเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ ทดลองปรับปรุงผลิตภัณฑ์

ซึ่งใช้ทักษะเชิงวิศวกรรมเฉพาะทางในแต่ละอุตสาหกรรม

เช่น R&D Engineer ในโรงงานผลิตรถยนต์ ก็อาจอาศัยทักษะวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า เป็นต้น

สาขาวิชา: วิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงาน

6) Sales Engineer

สำหรับคนที่เรียนจบวิศวะแต่ไม่ได้อยากทำโรงงานหรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสายพานอุตสาหกรรมการผลิต

ตำแหน่ง Sales Engineer ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกโดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนขายสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่จบมา

เนื่องจากบางอย่างจำเป็นต้องใช้ความรู้เฉพาะทาง เช่น การจะขายเทคโนโลยีด้าน Automation

ก็ต้องมีความเข้าใจระบบโรงงานเพื่อนำเสนอสินค้าว่ามีจุดเด่นอะไร เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในด้านไหน

สาขาวิชา: วิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงาน

7) Structural Engineer (วิศวกรโครงสร้าง)

มีหน้าที่วิเคราะห์ อ่านแปลน ออกแบบและปรับปรุงโครงสร้างอาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ ยานพาหนะ

อาศัยทักษะการคำนวณขั้นสูง มีความละเอียดรอบคอบในระดับสูงสุด

โดยทำงานร่วมกับวิศวกรจากสาขาอื่นๆ ให้การออกแบบราบรื่นและมีความปลอดภัยต่อการใช้งานมากที่สุด

สาขาวิชา: วิศวกรรมโยธา (Civil Engineer)

8) Site Engineer/ Project Engineer

ศึกษาแบบแปลนเพื่อวางแผนควบคุมงานก่อสร้างกำกับดูแลไซต์งาน จัดการทรัพยากร บริหารงบประมาณ

ดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดและตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งมอบ

สาขาวิชา: วิศวกรรมโยธา (Civil Engineer)

ค้นหาตำแหน่งงานสายวิศวะ (Engineering Jobs)

เริ่มต้นฝากโปรไฟล์ไว้กับ Reeracoen Recruitment

#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment

Related Posts