Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

Recruiter ติดต่อเข้ามาเสนองาน ควรเช็กข้อมูลอะไรบ้างก่อนตอบรับ หรือปฏิเสธ

  • Home
  • General Topic
  • Recruiter ติดต่อเข้ามาเสนองาน ควรเช็กข้อมูลอะไรบ้างก่อนตอบรับ หรือปฏิเสธ

Select Category

Recruiter ติดต่อเข้ามาเสนองาน
ควรเช็กข้อมูลอะไรบ้างก่อนตอบรับ หรือปฏิเสธ

เวลามีเบอร์คนที่ไม่รู้จักติดต่อมาพยายามแนะนำตำแหน่งงาน อย่าเพิ่งรีบวางสาย หรือตัดสินว่าเขาเป็นแก๊งพี่มิจ(ฉาชีพ) เพราะนี่อาจจะเป็นโอกาสที่ดีและเปลี่ยนอาชีพการงานของเราไปในทางที่ดีขึ้น

แต่ละคนน่าจะเคยได้รับการติดต่อจาก Recruiter กันอย่างน้อยสักครั้ง ไม่ว่าจะเพราะฝากประวัติหางานเอาไว้ หรือเห็นโปรไฟล์ของเราจากที่ต่างๆ  อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์หางานในรูปแบบนี้มาก่อนก็อาจตกใจเมื่อมีคนแปลกหน้าโทรมานำเสนองาน พูดคุยเกี่ยวกับอาชีพปัจจุบัน แถมยังถามข้อมูลส่วนตัวซึ่งเราเองก็ไม่รู้ว่าอีกฝ่ายจะเอาไปทำอะไรต่อจึงมีโอกาสที่จะตีความว่าเป็น “มิจฉาชีพ” และตัดสายทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย

ถือเป็นความน่าเสียดายอย่างยิ่งเพราะบางทีโอกาสงานที่ Recruiter เสนอเข้ามา อาจเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีของอาชีพ และไม่ย้อนกลับมาหาเราอีกแล้วก็ได้ ดังนั้นในบทความนี้ Reeracoen Thailand อยากให้ทุกคนสามารถ “เซฟโอกาส” ของตัวเองไม่ให้หลุดมือกันไปง่ายๆ ด้วยวิธีตรวจสอบความน่าเชื่อถือ และเช็กรายละเอียดงานเบื้องต้น เพราะปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่ายุคนี้แก๊งพี่มิจก็มาในหลากหลายรูปแบบเหลือเกิน!

ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทต้นทาง

การเช็กเครดิตของบริษัทจัดหางานและผู้ติดต่อเสนองานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก อันดับแรกคือการป้องกันความเสี่ยงถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพรวมถึงช่วยรักษาเวลากับโอกาสจากตัวงาน หรือบริษัทที่ยังไม่ใช่

โดยทั่วไปก่อนเริ่มต้นแนะนำตำแหน่งงานที่จะเสนอให้กับผู้สมัคร Recruiter จะต้องแนะนำตัว ชื่อบริษัท และจุดประสงค์ของการติดต่อให้ชัดเจน ดังนั้นเราสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเช็กเครดิตของบริษัทดังกล่าว

  1. เป็นธุรกิจประเภทไหน
  2. เครดิตของบริษัทเป็นอย่างไร
  3. ผู้มาติดต่อเป็นพนักงานจริงไหม

ข้อสังเกต  Recruiter ที่ติดต่อมาแนะนำตำแหน่งงานจะไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการ หรือให้โอนเงินเด็ดขาด เพราะได้รับการว่าจ้างจากบริษัทพาร์ทเนอร์มาเรียบร้อยแล้วและจะไม่ขอข้อมูลส่วนตัวด้านการเงินในทุกกรณี

สาเหตุที่นอกจากดูประเภทธุรกิจแล้วยังควรเช็กเครดิตของบริษัทด้วยเนื่องจากเป็นส่วนช่วยคัดกรอง “คุณภาพ” ของตัวงานที่ถูกนำเสนอเข้ามา
หากบริษัทที่ Recruiter ทำงานอยู่ด้วยไม่ได้รับการพูดถึงในทางที่ดีนักก็มีโอกาสที่เราในฐานะ “ผู้สมัคร” จะไม่ได้รับการดูแลที่ดีตามไปด้วย กลายเป็นอยู่ดีดีปัญหาก็เข้ามาเพิ่มทั้งที่ภาระเดิมก็หนักอยู่แล้วในแต่ละวัน

Tips ตรวจสอบเครดิตของบริษัทจัดหางาน

ความน่าเชื่อถือของบริษัท
• ตรวจสอบ “ใบอนุญาต” จากกรมการจัดหางาน
• ระยะเวลาในการเปิดดำเนินกิจการ
• ขนาด และโครงสร้างองค์กร
• รูปแบบลักษณะงานส่วนใหญ่ที่เปิดรับสมัครผ่านบริษัท
• ระวังการเก็บค่าบริการย้อนหลัง
• สถานที่ตั้ง (เผื่อกรณีไปติดต่อสำนักงาน)

ความเป็นมืออาชีพของผู้ติดต่อเสนองาน
• โปรไฟล์บนโซเชียลมีเดียน่าเชื่อถือหรือไม่
• มีความเข้าใจในตำแหน่งงานที่เสนอมากแค่ไหน
• สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบริษัทนั้นๆ เพิ่มเติมได้ไหม
• วิธีสื่อสารกับผู้สมัครเป็นอย่างไร
• ช่องทางการติดต่อ (ควรใช้ Email เป็นหลัก แต่อาจแอดไลน์เพื่อความสะดวกของผู้สมัครภายหลัง)

บริษัทจัดหางานที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพจะมาพร้อมกับโอกาสงานที่ดีสำหรับอาชีพของเรา หากตรวจสอบแล้วพบว่าสามารถไว้วางใจได้
ขั้นตอนต่อไปคือพิจารณา “โอกาสงาน” เพราะไม่ใช่ทุกครั้งที่มีงานติดต่อเข้ามาแล้วจะเหมาะกับอนาคตของเราเสมอไป

พิจารณา “โอกาสงาน” ให้เหมาะกับเป้าหมายทางอาชีพ

  1. ความเข้ากันระหว่างตัวงาน ทักษะ และประสบการณ์
    ส่วนใหญ่งานที่นำเสนอให้เราผ่านบริษัทจัดหางาน มักจะมีคุณสมบัติตรงกัน หรือคล้ายกับคุณสมบัติส่วนตัวของเราอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ควรต้องนำมาพิจารณาเพิ่มเติมให้มากขึ้น เช่น ลักษณะงาน เพราะถึงจะชื่อตำแหน่งเดียวกัน ใช้ทักษะเดียวกัน แต่รูปแบบการทำงานและความคาดหวังที่มีต่องานอาจต่างกัน หน้าที่ของเราคือวิเคราะห์ว่าโดยรวมแล้วเป็นงานที่เหมาะกับเราไหม ถ้าอยากประสบความสำเร็จกับที่นี่มีอะไรต้องปรับตัวหรือไม่
  2. วัฒนธรรมองค์กรและสภาพแวดล้อมการทำงาน
    เราจำเป็นต้องเรียนรู้สภาพแวดล้อมและปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ประกอบด้วยเพื่อนในทีม หัวหน้างาน คนในแผนกอื่น รวมถึงวิถีปฏิบัติที่ทุกคนยึดถือเป็นวัฒนธรรมในองค์กร การทำงานในที่ที่มีสิ่งรอบข้างคล้ายกับความชอบส่วนตัว เช่น เป้าหมายของบริษัท ตรงกับเป้าหมายในการทำงาน มีเพื่อนวัยเดียวกัน คุยรู้เรื่อง มีหัวหน้าคอยช่วยผลักดัน จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ควรนำมาคิดให้ถี่ถ้วน 
  3. ชื่อเสียงของบริษัท และความมั่นคงในระยะยาว
    บางกรณีเราอาจเจอการแนะนำตำแหน่งงานที่อยู่ในช่วง “ขาลง” การเข้าไปร่วมงานจึงหมายถึงอนาคตกำลังอยู่บนความไม่แน่นอน ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าบริษัทนั้นๆ มั่นคงไหม งบการเงินเป็นอย่างไร ซึ่งมีผลต่อการขึ้นเงินเดือน โปรโมต เลื่อนขั้น ขยายทีมหรือแม้แต่การลงทุนจัดซื้อเครื่องมือไว้ใช้สนับสนุนงานเพิ่มเติม 
  4. เงินเดือน สวัสดิการ
    ระบุฐานเงินเดือนที่คาดหวังให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น เพดานเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้นๆ อยู่ที่เท่าไร มีโอที โบนัส หรือคอมมิชชันพิเศษเพิ่มเติมไหมข้อกำหนดและนโยบาย ของบริษัทเป็นอย่างไร 

    ปัจจัยอย่างลักษณะ “โครงสร้างองค์กร” ก็น่าพิจารณา เพราะขนาดขององค์กรมักจะมีผลต่อโครงสร้างเงินเดือนและองค์กรที่มีโครงสร้างแข็งแรงเป็นทุนเดิมอยู่แล้วก็มีโอกาสที่จะขึ้นเงินเดือนให้พนักงานได้แบบไม่ติดปัญหา ส่วนของ “สวัสดิการ” มักจะเป็นส่วนที่หลายคนมองข้ามเนื่องจากเทน้ำหนักไปให้ความสำคัญกับ “เงินเดือน” มากกว่า แต่ถ้าใส่ใจกับรายละเอียดสวัสดิการในแต่ละด้านอีกสักหน่อยก็อาจได้ผลตอบแทนโดยรวมกลับมาน่าพอใจมากขึ้นไม่น้อย 

  5. ความท้าทายและโอกาสเติบโต
    โดยปกติแล้วงานใหม่จะส่งผลต่ออาชีพของเราใน 3 ด้าน ได้แก่ เลื่อนตำแหน่ง พัฒนาความสามารถ หรือมอบประสบการณ์ใหม่ หากคาดหวังการเติบโตของอาชีพในระยะยาวก็ควรมองหาองค์กรที่มี “พื้นที่” รองรับอนาคตได้มากพอ ตัวงานมีความท้าทายมากพอให้มีช่องทางพัฒนาศักยภาพซึ่งสำคัญมากกับโลกการทำงานที่เน้นการแข่งขัน และต้องการคนทำงานที่ทักษะมีความยืดหยุ่นสูงแบบปัจจุบัน 
  6. ระยะเวลาการตอบกลับจากองค์กร
    หนึ่งในปัญหาหลักที่ผู้สมัครหลายคนน่าจะเจอกันมาไม่น้อยก็คือสมัครแล้ว “รอการตอบกลับ” จากบริษัทนานเกินไป กว่าจะรู้อีกทีผลก็คือยังไม่ผ่านการคัดเลือกเสียทั้งเวลาและโอกาสที่ควรจะได้ใช้ไปกับกิจกรรมอื่นๆ แทน อย่าลืมสอบถามว่าปกติแล้วรอบริษัทตอบกลับนานไหม ขั้นตอนการติดตามผลเป็นอย่างไร ติดต่อใคร จะได้มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ไม่ต้องรอแบบไร้จุดหมาย 
  7. ความรู้สึกที่มีต่องาน
    หลังจากได้รับฟังข้อมูลทั้งหมดอย่างละเอียดแล้ว ความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นอาจเป็น “คำตอบ” ที่ชัดเจนที่สุดว่าเราควรจะเลือกตอบรับ หรือปฏิเสธโอกาสงานที่เข้ามาในครั้งนี้ และไม่ว่าจะตัดสินใจแบบไหนเราก็มีคำแนะนำให้นำไปปรับใช้กันต่อ เพราะไม่แน่ว่าโอกาสครั้งต่อไปนั้นอาจจะใช่มากขึ้นกว่าเดิม

    อ่านบทความ 4 เหตุผลทำไมการหางานผ่านบริษัทจัดหางานมักจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการสมัครด้วยตัวเอง

กรณีสนใจในตัวงาน
แสดงความสนใจสมัครงาน เพื่อขอรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม เช่น สถานที่ทำงาน ชื่อบริษัท สวัสดิการ โครงสร้างองค์กร ฯลฯ เพราะการติดต่อครั้งแรกจะเป็นเพียงแค่ “ข้อมูลเบื้องต้น” เท่านั้น

จากนั้นให้เตรียมเอกสารที่จำเป็นในการสมัครงานทั้งหมดเพื่อให้ตัวแทนนำเสนอกลับไปให้บริษัทพิจารณา หากบริษัทให้ความสนใจในโปรไฟล์ที่ได้รับก็จะมีการนัดหมายสัมภาษณ์ ซึ่ง Recruiter จะช่วยให้คำแนะนำตัวอย่างคำถามตลอดจนข้อมูลเชิงลึกอื่นๆ ให้ผู้สมัครมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น

กรณีไม่สนใจงาน
ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในสถานะ “เปิดกว้าง” ต่อโอกาสงานใหม่อยู่เป็นระยะ เพียงแค่ตอนนี้ยังไม่ได้สนใจงานที่ Recruiter ติดต่อเข้ามาแนะนำมากขนาดนั้น ก็แนะนำให้อย่าเพิ่งรีบตัดบท หรือวางสายทันทีหลังฟังข้อเสนอ เพราะเราสามารถให้ทาง Recruiter เก็บข้อมูลประวัติของเราไว้ในระบบและถ้ามีโอกาสงานอื่นๆ ที่ตรงกับความสนใจมากกว่าก็ติดต่อกลับมาแนะนำได้

ฝากโปรไฟล์สร้าง Passive Job Opportunityและให้โอกาสงานเป็นฝ่ายเข้าหาคุณ
ฝากโปรไฟล์สมัครงานผ่าน Reeracoen Thailand

Related Posts