ถ้าคุณเคยสแกนคิวอาร์โค้ดเวลาจ่ายเงินซื้อของหรือเข้าแอปธนาคารเพื่อโอนเงินให้คนรู้จัก รวมถึงลงทุนในตลาดสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency แปลว่าคุณคือหนึ่งในคนที่กำลังนำเทคโนโลยี Fintech มาใช้งานเพิ่มความสะสบายให้ตัวเองในชีวิตประจำวัน
หากพูดถึงอาชีพและสายงานที่กำลังมาแรงที่สุด ณ ตอนนี้คงหนีไม่พ้นอุตสาหกรรม Fintech หรือ Financial Technology ซึ่งเป็น “เทคโนโลยีด้านการเงิน” ที่มีบทบาทอย่างยิ่งกับชีวิตเราในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นระบบ Mobile Banking ที่แทบจะใช้กันแทนเงินสดไปแล้ว รวมถึงระบบ Payment Gateway, Insurtech, ระบบทำจ่ายเงินในองค์กร ตลอดจนสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Cryptocurrency ตระกูลต่างๆ โดยทั้งหมดนี้คือตัวอย่างเบื้องต้นของความร้อนแรงในสายงาน Fintech
ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ จากอุตสาหกรรม Fintech คือหนึ่งปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีพในแต่ละวันของมนุษย์ ซึ่งมีการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ และขยายตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อพิจารณาจากสถิติการใช้งานในสหรัฐฯ พบว่าอัตราการเติบโตของผู้ใช้เทคโนโลยีในกลุ่ม Fintech เพิ่มขึ้นจาก 58% ในปี 2020 เป็น 80% ในปี 2022 ถือว่าแซงหน้าอัตราการใช้งาน Social Media โดยเป็นรองแค่ “อินเทอร์เน็ต” ในแง่ของเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางมากที่สุด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าอัตราการใช้งานเทคโนโลยี Fintech ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและทิศทางที่โลกกำลังจะเดินไป ซึ่งเข้าถึงเรื่องการเงินรวมถึงจัดการได้ง่ายขึ้นไม่น้อย ไม่ว่าจะเพื่อเก็บออม ลงทุน วางแผนการเงิน บริหารจัดการ ก็สามารถทำได้เพียงอาศัยแค่ “มือถือเครื่องเดียว”
Fintech คืออะไร?
ความหมายตามตัวอักษร Fintech คือคำที่เกิดขึ้นจากการผสมระหว่าง Financial และ Technology หมายถึงแอปพลิเคชัน เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ ที่ช่วยให้ผู้คนหรือธุรกิจสามารถเข้าถึง จัดการ รับข้อมูลด้านการเงินของตัวเอง รวมถึงดำเนินการธุรกรรมทางการเงินได้ผ่านระบบดิจิทัลซึ่ง Fintech ได้กลายเป็นช่องทางในการให้ความสะดวกสบาย ด้วยการใช้งานที่หลากหลายและครอบคลุมทั้งฝาก ถอน โอน จ่าย ไปจนถึงวางแผนการเงินการลงทุนและกู้ยืมให้ง่ายยิ่งขึ้น
อ้างอิงรายงานผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยี Fintech โดย Plaid พบว่านอกจากช่วยประหยัดเวลา บริหารการเงินได้สะดวกยิ่งขึ้น ยังช่วยป้องกันความผิดพลาด รวมถึง “ลดความกังวล” ด้านสถานะการเงินอีกด้วย
สำรวจภาพรวมอุตสาหกรรม Fintech
เมื่อย้อนดูอัตราการเติบโตในช่วงที่ผ่านมาจะพบว่าอุตสาหกรรม Fintech อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างน่าประทับใจ
หากนับจากแค่ในสหรัฐฯ พบว่ามีธุรกิจสตาร์ทอัปเกิดขึ้นใหม่กว่า 5,000 บริษัทภายในระยะเวลาเพียง 5 ปี (2018-2023)
แม้จะมีธุรกิจเกิดใหม่ในสาย Fintech มากมาย แต่ถึงอย่างนั้นภาพรวมอุตสาหกรรม Fintech เริ่มชะลอตัวลง
ด้วยการหดตัวของตัวเลขการระดมทุนจากสูงสุด 132 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2021
นับเป็น 21% ของเงินการลงทุนทั้งหมดทั่วโลกจนลดลงเหลือ 75.2 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2022 (หดตัว 46%)
อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวไม่ได้แปลว่าสายงาน Fintech จะเป็นที่ต้องการน้อยลง
เนื่องจากหากนับจริงๆ ปี 2022 ก็ยังคงระดมทุนได้มากกว่าปี 2020 ถึง 52% อยู่ดี
แสดงให้เห็นว่า “ความต้องการ” นั้นไม่ได้ลดลง เพียงแต่ตลาดภาพรวมกำลังอยู่ในช่วง “ปรับตัว” ให้คงที่มากขึ้น
ประเภทของเทคโนโลยี Fintech ที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์การให้บริการของเทคโนโลยี Fintech มีอยู่อย่างกว้างขวางตั้งแต่ B2B, B2C
รวมถึงผู้คนสู่ผู้คน (P2P) ด้วยเช่นกัน โดยแบ่งประเภทที่คุ้นเคยกันในชีวิตประจำวัน 3 รูปแบบดังนี้
1) Banking
หนึ่งในเทคโนโลยี Fintech ที่คนนึกถึงมากที่สุดเนื่องจากเป็นเครื่องมือเกี่ยวกับ “การเงิน” ผ่าน “เทคโนโลยี” โดยตรง สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ทุกรูปแบบผ่านอุปกรณ์อย่างแอปฯ ธนาคาร ที่เราติดใช้งานกันเป็นประจำในทุกวันนี้
2) Cryptocurrency
หากพูดถึงเทคโนโลยีที่อาจจะพลิกโฉมโลกคงไม่อาจมองข้ามคำว่า “คริปโต” หรือ Cryptocurrency ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มี “มูลค่า” เสมือนหรือมากกว่าเงินจริงเพื่อลดกำแพงของค่าเงินที่ถูกควบคุม (Centralized) เช่น Bitcoin ที่เคยมีมูลค่าขึ้นไปแตะเกินหลัก 2 ล้านบาทมาแล้วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บางส่วนมองว่าเป็นข้อดีที่ทำให้เกิดความเท่าเทียมทางการเงินในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งมองว่าอาจเป็นภัยต่อระบบการเงินโลกได้
3) Digital Payments
คือระบบการจ่ายเงิน ชำระค่าสินค้า/บริการผ่านเทคโนโลยี ตัวอย่างที่คนส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยกัน ได้แก่ E-Wallet ในแอปฯ ต่างๆ ที่เราต้องดาวน์โหลดและลงทะเบียนสร้างบัญชีผู้ใช้ก่อน ซึ่งสามารถใช้จ่ายผ่านแอปฯ ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านแอปฯ ธนาคาร
ตัวอย่างผู้ให้บริการและการเติบโตของ Fintech ในไทย
อันดับแรกๆ ที่ต้องพูดถึงคงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากกลุ่ม Mobile Banking และ Digital Payments อาทิ KPlus, SCB Easy, TrueMoney Wallet รวมถึง Cryptocurrency ที่มีแพลตฟอร์มซื้อขายอย่าง Bitcub เป็นต้น
หากจะพูดถึงรายเล็กหรือธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นมาในช่วงระยะหลังๆ มานี้ก็มีรายงานในปี 2023 จาก Fintech Singapore ที่ได้รายงานสถานการณ์ในประเทศไทยว่ามีบริษัทสตาร์ทอัปเกิดใหม่ในกลุ่มสายงาน Fintech อยู่ที่จำนวนราวๆ 107 บริษัท โดยจัดอยู่ในกลุ่ม Payment เป็นส่วนใหญ่
ตำแหน่งงานที่รองรับ
จากแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรม Fintech ทำให้มีธุรกิจเกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก รวมถึงการปรับตัวของธุรกิจดั้งเดิม ที่ต้องหันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยีและ Digitalization มากขึ้นทำให้ “ทรัพยากรบุคคล” เป็นอาวุธสำคัญในการพัฒนาองค์กรสู่อนาคตซึ่ง emeritus ได้แนะนำ 8 อาชีพเป็นที่ต้องการสูงในสายงาน Fintech ได้แก่
-
- Blockchain Expert/Developer
- App Developer
- Product Owner/Manager
- Financial Analyst
- Cybersecurity Expert
- Quantitative Analysts and Data Scientists
- Risk Control Managers
- Compliance Experts
เริ่มต้นค้นหางานด้าน Fintech หรือตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ฝากโปรไฟล์พร้อมมองหางานใหม่ที่ตอบโจทย์และตรงใจมากขึ้น
อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง:
ผลกระทบจาก AI เมื่อการสมัครงาน “ง่าย” แต่กลับได้งาน “ยาก”
รู้จัก Quiet Firing กลยุทธ์ความเงียบที่มีไว้ทำให้พนักงานอยากลาออก
แปลและเรียบเรียงจาก:
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand
#Recruitment #Fintech #financialtechnology