Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

8 ข้อ Do & Don’t และ 3 สเต็ปสำหรับ “ขอขึ้นเงินเดือน”

  • Home
  • How to
  • 8 ข้อ Do & Don’t และ 3 สเต็ปสำหรับ “ขอขึ้นเงินเดือน”

Select Category

ผลสำรวจของ Payscale ในปีค.ศ. 2015 พบว่าจากตัวอย่าง 30,000 คน มีเพียง 43% ที่กล้าขอขึ้นเงินเดือน โดยสำเร็จแค่ 5,600 คนหรือคิดเป็น 18.6% จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

ทำไมมนุษย์เงินเดือนอย่างเราต้องลำบากใจและผิดหวังเสมอเมื่อต้องพูดคุยเรื่องเงินเดือน

ทั้งๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการครองชีพ?

การขอขึ้นเงินเดือนคงเป็นสิ่งที่คนทำงานแทบทุกคนคงจะรู้สึกคล้ายๆ กันว่าพูดยา ขอยากและมีโอกาสสูงมากที่จะถูกบ่ายเบี่ยง

ซึ่งจะเป็นปมฝังใจว่า “ตัวเราไม่ดีพอ” นำไปสู่ภาวะหมดความเชื่อมั่นในตัวเอง (Imposter Syndrome) หนึ่งในสาเหตุของโรคซึมเศร้า

ทั้งๆ ที่ควรมีการหมั่นปรับฐานโดยอิงจากเรทเงินเดือนสายอาชีพ อายุงาน ผลประกอบการและผลงานที่ได้ทำ เพื่อรักษาประโยชน์ทั้งสองฝ่าย พนักงานไม่หนีหาย และองค์กรอาจได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น (แล้วแต่ข้อตกลง)

เมื่อลูกจ้างอยากได้แต่ก็ไม่กล้าขอ ส่วนนายจ้างก็ไม่รู้เหตุผลว่าทำไมถึงต้องให้

อัตราเงินเดือนจึงกลายเป็นประเด็นที่หาตรงกลางได้ยาก มนุษย์เงินเดือนหลายคนเลยตกอยู่ในสถานะ ‘ดอง’

ตัวงานดี สังคมโอเค เลยอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ให้งานค่อยๆ เพิ่ม แต่เงินไม่ขยับ (หรือขยับนิดหน่อย)

เมื่อใจไม่ได้อยากย้ายงาน แค่ต้องการผลตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อมากขึ้น

เราจึงต้องอุดช่องโหว่ระหว่างพนักงาน-นายจ้างด้วยเหตุผลที่ดีทำให้นายจ้างเชื่อมั่นว่าจะเป็นทางออกที่ ‘วิน-วิน’ ทั้งสองฝ่าย

รวมเทคนิค 8 ข้อ Do & Don’t กับเคล็ดลับการเตรียมตัวขอขึ้นเงินเดือน

Do

1) สำรวจฐานเงินเดือน

การสำรวจฐานเงินเดือนจะทำให้เรารู้ว่าในอาชีพเดียวกัน ตำแหน่งเดียวกันนี้ได้แค่ไหน

ซึ่งต้องดูความสมน้ำสมเนื้อของเงินและงานด้วย ความยาก ความท้าทายต่างกันยังไงเพื่อกำหนดตัวเลขในใจไว้ก่อน

2) มีตัวเลขในใจ

การมีตัวเลขในใจจะทำให้เรามี ‘เป้า’ ที่ชัดเจนโดยที่ต้องไม่เยอะจนเกินไป แต่ก็ควรตอบสนองความพึงพอใจมากที่สุดเพราะไม่สามารถขอได้บ่อยๆ

3) รวบรวมผลงาน

ตั้งแต่ทำงานที่นี่อะไรที่เป็นผลงานชัดๆ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ทีมหรือองค์กรในทางที่ดีขึ้นบ้าง

เพื่อประเมินตัวเองว่า ‘ดีพอ’ จะไปขอผลตอบแทนที่มากขึ้นหรือยัง

4) รู้คุณค่าตัวเอง

จุดเด่นของเราคืออะไร สามารถทำอะไรให้ทีมและองค์กรซึ่งคนอื่นทำไม่ได้ การรู้ข้อนี้จะทำให้เรามีน้ำหนักมากพอที่จะให้องค์กรจะกล้าลงทุนเพิ่มขึ้น

5) วางแผนอนาคต การเติบโตในระยะยาว

เมื่อเรากล้าที่จะขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น เราก็ต้องมีอะไรให้องค์กรกลับไปเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

วางแผนให้ดีทั้งโปรเจกต์ใหม่ๆ โอกาสเติบโตในอนาคต

6) มองไกลกว่าตัวเงิน

หากสุดท้ายไม่ได้สิ่งที่คาดหวังแต่ก็ไม่ได้อยากย้ายไปไหน ลองนึกถึงสิ่งอื่นนอกเหนือจากเงิน เช่น งบสำหรับลงเรียนคอร์ส วันหยุดพิเศษ

หรืออื่นๆ ที่องค์กรมอบให้ได้และเป็นผลดีกับองค์กรด้วย

7) นัดคุยจริงจัง

เมื่อเรื่องเงินนั้นสำคัญเราจึงต้องทำให้หนักแน่น ควรนัดหมายอย่างชัดเจน แสดงความจริงจังให้หัวหน้ารับรู้

มากกว่าพูดคุยตอนกินข้าวหรือเดินผ่านไปมา

8) มั่นใจในตัวเอง

Don’t

1) เข้าหาไม่รู้จังหวะเวลา

2) ขอมากเกินสมควร

ต้องคำนึงถึงภาพรวมของฐานเงินเดือนในองค์กร และแม้จะทำตำแหน่งเดียวกันแต่คนละบริษัท

ก็ควรพิจารณาปริมาณงาน ความท้าทายที่ต่างกันด้วย

3) เอาเงินเดือนเพื่อนร่วมงานมาพูด

4) ใช้เหตุผลส่วนตัว

ถ้าเราใช้เหตุผลส่วนตัวเข้าหาเช่น “ค่าข้าวแพง ค่าใช้จ่ายเยอะขึ้น”

ซึ่งไม่ใช่ความผิดขององค์กร ก็จะทำให้การขอขึ้นเงินเดือนนี้ไม่มีน้ำหนักพอให้รับฟัง

5) ขู่ย้ายงาน

จาก “พูดคุยเจรจา” กลายเป็นการสร้างความ “แตกหัก” และชี้ให้เห็นว่าตัวเราเองไม่ได้รักองค์กร พร้อมจะจากไปตลอดเวลา

6) เคลมผลงานเข้าตัว

ไม่ควรนำผลงานที่สำเร็จในฐานะทีมหรือองค์กร มาเป็นหนึ่งในผลงานส่วนตัว

7) ไม่หนักแน่น ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง

8) ปิดกั้นโอกาสใหม่ๆ ทั้งจากข้างในและนอกองค์กร

เมื่อรู้สิ่งที่ควรเตรียมรวมถึงข้อควรระวังแล้ว เราก็สามารถปรับใช้ตามความถนัด

ด้วยหลัก G.I.M.M.E ได้แก่

    1. Give Background: ประวัติการทำงาน ผลงาน
    2. Introduce: คุณสมบัติความสามารถ
    3. Make Your Case Research-based: ชี้ให้เห็นฐานงานเดือนในตลาด
    4. Make the ask: ขอผลตอบแทนในฐานะรางวัลและแรงกระตุ้น
    5. Ending: จบด้วยความจริงจังและมั่นใจ

ซึ่งแบ่งเป็นขั้นตอนให้เห็นภาพง่ายขึ้นดังนี้ครับ

สเต็ปที่ 1 “การเตรียมตัว”

    • สำรวจฐานเงินเดือนในตลาดเพื่อหาตัวเลขในใจ
    • รวบรวมผลงาน ความสำเร็จ
    • ดูจังหวะเวลาที่เหมาะสม (อารมณ์ สถานการณ์ เวลา)
    • นัดหมายอย่างจริงจัง (เช่นคุย One on one)

สเต็ปที่ 2 “พูดคุย”

    • พูดถึงความสำเร็จและผลงานที่ผ่านมา
    • เกริ่นถึงคุณค่าและความโดดเด่นของตัวเอง
    • นำเสนอแผนในอนาคต ความท้าทายใหม่ๆ และความต้องการที่ต้องการเติบโตในองค์กร
    • ขอขึ้นเงินเดือน เพื่อเป็นกำลังใจให้ความทุ่มเท และกระตุ้นสู่เป้าหมายที่วางไว้

สเต็ปที่ 3 “รอผล”

    • เมื่ออธิบายหมดแล้วเราควรหยุดพูดเพื่อแสดงความหนักแน่นและมั่นใจ
    • โดยทั่วไปหัวหน้ามักขอเวลาคิด และจะนัดมาพูดคุยอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุป
    • หากคำตอบคือไม่ แต่เราต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้นจริงๆ อาจลองมองหาในรูปแบบอื่น เช่นวันหยุดพิเศษ สวัสดิการที่เพิ่มขึ้นหรืองบสำหรับลงเรียนคอร์สต่างๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะได้ง่ายกว่า

เปิดใจให้กับโอกาสใหม่ๆ ฝากโปรไฟล์ไว้กับเรา

สำรวจฐานเงินเดือนในแต่ละสาย พร้อมเช็กตำแหน่งงานที่สนใจ คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติมที่:

5 กลุ่มทักษะและอาชีพที่จะไม่มีวันถูกยึดครองด้วยเทคโนโลยี AI

8 ข้อดีสุดเหลือเชื่อจากความขี้เกียจ (อย่างพอดี)

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:

https://we.co/3eqJ0mG

https://bit.ly/3T4qJdE

https://bit.ly/3rFwlzw

https://bit.ly/3yu1kCo

#ReeracoenRecruitment

#ReeracoenThailand

#Selfdevelopment #Salary #Raises

Related Posts