ไม่ใช่ทุกโอกาสงานที่เข้ามาจะดีเสมอไป
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าครั้งไหนถึงจะดี
เชื่อว่าทุกครั้งที่จะย้ายงานหรือเริ่มต้นใหม่กับบริษัทสักแห่ง เราต้องตั้งความหวังว่าจะมีอนาคตที่ดีขึ้นไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง ซึ่งแต่ละบริษัทก็มีจุดเด่นในแต่ละด้านแตกต่างกันไป เช่น เงินเดือน สวัสดิการ สังคม รูปแบบการทำงานและ Career path
ในกรณีโชคดีได้เจอบริษัทที่ใช่ ตอบโจทย์กับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ชีวิตก็นับว่าสดใสพร้อมพัฒนายกระดับไปข้างหน้าได้ไกลขึ้น กลับกันถ้าตั้งเป้าไว้แล้ว แต่สุดท้ายกลายเป็นความล้มเหลว ซึ่งมีรายงานว่าคนส่วนใหญ่เคยผ่านประสบการณ์แบบนี้มาก่อนเมื่องานใหม่พาวนกลับไปเจอปัญหาเก่า (หรืออาจจะหนักกว่าเดิม)
กรณีนี้อาจไม่ใช่แค่เสียเวลา แต่ยังรวมถึงโอกาสอื่นๆ ที่มากกว่านั้น เช่น สุขภาพจิต งานใหม่ที่ตรงใจมากกว่า ความมั่นใจจนอาจส่งผลถึงขั้น “หมดไฟ” เพราะได้แต่ผิดหวังซ้ำไปซ้ำมา
แล้วเราจะเช็กเบื้องต้นได้อย่างไรว่าโอกาสครั้งไหนที่ใช่สำหรับเรา จากข้อมูลต่างๆ ที่มีสามารถพิจารณาจากอะไรได้บ้าง มาสำรวจไปพร้อมกันกับ Reeracoen Thailand ได้เลย
-
- ฐานเงินเดือน
เพดานเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้นๆ อยู่ที่เท่าไร มีโอที โบนัส หรือคอมมิชชันพิเศษเพิ่มเติมไหม ข้อกำหนดและนโยบายของบริษัทเป็นอย่างไร
ปัจจัยอย่างลักษณะ “โครงสร้างองค์กร” ก็น่าพิจารณา เพราะขนาดขององค์กรมักจะมีผลต่อโครงสร้างเงินเดือนและองค์กรที่มีโครงสร้างแข็งแรงเป็นทุนเดิมอยู่แล้วก็มีโอกาสที่จะขึ้นเงินเดือนให้พนักงานได้แบบไม่ขัดสน
-
- สวัสดิการอื่นๆ
สวัสดิการมักจะเป็นส่วนที่หลายคนมองข้ามไปเสมอ เนื่องจากเทน้ำหนักไปให้ความสำคัญกับ “เงินเดือน” มากกว่า แต่ถ้าใส่ใจกับรายละเอียดสวัสดิการในแต่ละด้านอีกสักหน่อยอาจได้ผลตอบแทนโดยรวมกลับมาน่าพอใจไม่แพ้เงินเดือน ซึ่งแต่ละบริษัทมีรูปแบบของสวัสดิการโดดเด่นแตกต่างกัน เช่น
-
- วันลา: ลาป่วย, ลากิจ, ลาพักร้อน, หรือวันลาในกรณีอื่นๆ (ถ้ามี)
- กองทุนออมทรัพย์: มีประเภทไหนให้เลือกบ้าง แผนเป็นอย่างไร
- ประกัน: สุขภาพ, อุบัติเหตุ มีลักษณะเป็นแบบไหน มีเงื่อนไขไหม
- การศึกษา: งบสำหรับเรียนเสริมทักษะเพิ่มเติม
- เครื่องมือและทรัพยากร
ต้นทุนทรัพยากรที่บริษัทเตรียมให้ใช้ในการทำงาน เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ รถประจำแหน่ง จำนวนสมาชิกในทีมที่แบ่งกันดูแลงานในส่วนต่างๆตลอดจนเครื่องมือและทรัพยากรอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้ทีมสามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้ตามแผน
ปัจจัยเหล่านี้มีความแตกต่างกันในแต่ละบริษัทแม้จะเป็นธุรกิจประเภทเดียวกันก็ตาม ดังนั้นอย่าลืมเคลียร์ให้ชัดก่อนว่ามีอะไรรองรับบ้าง และมีอะไรที่เราควรเตรียมพร้อมทำความคุ้นเคยก่อนล่วงหน้าเมื่อถึงหน้างานจะได้ไม่ติดขัดเวลาต้องใช้งานจริง
-
- ตำแหน่ง ความรับผิดชอบ รูปแบบการทำงาน
การหางานที่ “ไม่ทำให้ชีวิตเป็นทุกข์” ถือเป็นภารกิจที่ไม่เคยง่าย ด้วยเหตุนี้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานโดยตรงไม่ว่าจะเป็นความน่าสนใจ ความท้าทาย ตลอดจนข้อจำกัดที่ต้องรู้เบื้องต้น จากข้อมูลที่ได้ลองชั่งน้ำหนักดูว่าชอบหรือไม่ชอบอะไรบ้างแล้วในระยะยาวจะมีความสุขกับการทำงานนี้ได้นานขนาดไหน
นอกจากลักษณะหน้าที่แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่อาจต้องคำนึงถึงก็คือ “ตำแหน่ง” ที่ควรมีความชัดเจนว่าตัวเองอยู่จุดไหนในองค์กร สถานะที่ได้รับเป็นการยกระดับอาชีพไปข้างหน้าหรือว่าถอยหลัง เช่น Junior -> Senior / Senior -> Manager เพราะความก้าวหน้าจากการย้ายงานแต่ละครั้งก็ถือว่ามีผลต่ออนาคตและสำคัญต่อชีวิตการทำงานไม่น้อย
ส่วนรูปแบบการทำงานเองก็นับว่ามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน เช่น ถ้าตัวเองชอบอิสระ หรือติดเงื่อนไขไม่สะดวกเดินทางก็อาจต้องพิจารณางานแบบ Remote working เป็นหลัก พยายามหาบริษัทที่มีรูปแบบเข้ากับตัวเองและปรับหา “ตรงกลาง” ที่ยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย
โดยปกติแล้วงานใหม่จะส่งผลต่ออาชีพของเราใน 3 ด้านได้แก่
-
- เลื่อนตำแหน่ง
- พัฒนาชุดทักษะต่างๆ
- มอบประสบการณ์ใหม่
มีคนไม่น้อยที่เลือกตัดสินใจออกจากบริษัท เพราะงานที่ทำไม่สามารถช่วยให้พวกเขาพัฒนาได้มากกว่านี้ดังนั้นหากคาดหวังการเติบโตของอาชีพในระยะยาวควรมองหาองค์กรที่มี “พื้นที่” รองรับอนาคตได้มากพอ
-
- วัฒนธรรมองค์กร เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า
เราจำเป็นต้องเรียนรู้สภาพแวดล้อมและปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ ซึ่งประกอบด้วยเพื่อนในทีม หัวหน้างาน คนในแผนกอื่นๆ รวมถึงวิถีปฏิบัติที่ทุกคนยึดถือเป็นวัฒนธรรมในองค์กร เพราะการทำงานในที่ที่มีสิ่งรอบข้างคล้ายกับความชอบส่วนตัว เช่น เป้าหมายของบริษัท ตรงกับเป้าหมายในการทำงาน
มีเพื่อนที่คุยรู้เรื่อง หัวหน้าที่มีวิสัยทัศน์ช่วยกันผลักดันพัฒนา ก็จะเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่คอยกระตุ้นให้เรามีไฟ มีความสุขที่จะทำงานเต็มที่เพื่อเป้าหมายเหล่านั้น
-
- สถานการณ์และทิศทางของบริษัท
บริษัทที่เราจะเข้าไปทำงานด้วยมีความมั่นคงไหม ลองหาข้อมูลจากงบการเงิน รายงานผลกำไรขาดทุน วิธีนี้จะทำให้เราพอเดาออกว่าชีวิตเราจะเป็นอย่างไร มีโอกาสที่จะได้ไปต่อยาวๆ หรือตั้งอยู่บนความเสี่ยง การขึ้นเงินเดือน โปรโมตเลื่อนขั้น ขยายทีมหรือลงทุนจัดซื้อเครื่องมือไว้ใช้ทำงานเพิ่มเติมจะติดขัดตรงไหนหรือไม่
จากปัจจัยแต่ละข้อ สามารถหาข้อมูลได้จากที่ไหนบ้าง
Insight ภายในองค์กรเหล่านี้ที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน อาจไม่ได้หาได้โดยตรงจากเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลทั่วไป แต่เราสามารถอาศัยการ “สืบ” รวบรวมข้อมูลจากหลากหลายวิธี เช่น บางบริษัทอาจมีบทสัมภาษณ์ผู้บริหาร หรือถูกกล่าวถึงในที่ต่างๆ
สำหรับวิธีที่ Reeracoen Thailand ไม่อยากให้เพื่อนๆ มองข้ามก็คือการพยายามเคลียร์ข้อสงสัยที่มีให้จบตั้งแต่การสัมภาษณ์งานด้วยคำถามสัมภาษณ์งานที่บอกใบ้ถึงปัจจัยภายในองค์กรนั้นๆ เช่น คนแบบไหนที่จะก้าวหน้า และไม่ก้าวหน้ากับการทำงานที่นี่
หรือเช็กว่าบริษัทนี้ “ใช่” สำหรับเราไหมกับ 32 คำถามเช็กลิสต์สำรวจตัวเอง
อีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดซึ่งเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนก่อนสมัครคือการหาผู้ช่วยที่รู้ว่าเป้าหมายในการทำงานของเราคืออะไร ทักษะ ประสบการณ์ คุณสมบัติเหมาะกับงานแบบไหนและปัจจุบันกำลังคาดหวังอะไรถ้าจะต้องย้ายงานแต่ละครั้ง
ที่สำคัญนอกจากจะรู้ใจจากฝั่งความคาดหวังของเราแล้ว ยังรู้จักบริษัทที่เราจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในอนาคตด้วย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมองค์กร ภาพรวมของทีม ความคาดหวังที่มีต่อพนักงาน ตลอดจนเกณฑ์การคัดเลือกต่างๆเพื่อให้การจ้างงานลงตัวและประสบผลสำเร็จทั้งสองฝ่าย
มีผู้ช่วยที่รู้ใจ พร้อมช่วยคลายความกังวลใจตั้งแต่วันแรกที่สมัครงาน คอยสกรีนโอกาสงานและให้ข้อมูลจำเป็นที่ต้องรู้แบบครบถ้วน ฝากโปรไฟล์หางานกับ Recruiter มืออาชีพจาก Reeracoen
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:
#ReeracoenRecruitment #ReeracoenThailand #Recruitment