Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

รับสมัครงานอย่างมีประสิทธิภาพกับ 5 เรื่องที่ต้องเคลียร์ก่อนลงประกาศ Job Post

  • Home
  • How to
  • รับสมัครงานอย่างมีประสิทธิภาพกับ 5 เรื่องที่ต้องเคลียร์ก่อนลงประกาศ Job Post

Select Category

รับสมัครงานอย่างมีประสิทธิภาพกับ 5 เรื่องที่ต้องเคลียร์ก่อนลงประกาศ Job Post

การจ้างงานแต่ละครั้งองค์กรส่วนใหญ่มักจะต้องแข่งขันกับเวลา จึงมีโอกาสมองข้ามรายละเอียดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร และแทนที่จะนำทักษะเข้ามากลบจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งให้กับทีม กลับกลายเป็นได้แค่เพิ่ม “จำนวนคน” และไม่ได้ประโยชน์จากการจ้างงานครั้งนี้เท่าที่ควร

การจ้างงานที่ขาดประสิทธิภาพไม่เพียงแค่เสียโควตาพื้นที่ในองค์กร แต่ยังเกิดช่องว่างของทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละส่วนซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำผลงานของทีมนั้นๆ ด้วย ดังนั้นหน้าที่ของ HR ก่อนลงประกาศรับสมัครงานทุกครั้งก็คือการวิเคราะห์ปัญหา ประเมินความต้องการของแต่ละทีมเพื่อคราฟต์ Job description ออกมาให้ตรงกับเงื่อนไขที่มีมากที่สุด

1) กำหนดสเปกให้สอดคล้องกับเป้าหมายบริษัท

ก่อนลงประกาศรับสมัครงานในแต่ละช่องทางควรมีการสรุปวัตถุประสงค์ในการจ้างงานครั้งนั้นๆ ให้ครอบคลุมความต้องการของทีมและความคาดหวังของบริษัทเพื่อระบุคุณสมบัติผู้สมัครที่เหมาะสมได้ในระยะยาวด้วย ยกตัวอย่าง หากบริษัทต้องการปรับกลุยทธ์เน้นทำการตลาดแบบ Data driven decision มากขึ้น ก็จำเป็นต้องรับสมัครพนักงานในทีม Marketing เพิ่มเติมและกำหนด Requirement ทักษะด้าน Data analysis หรือทักษะอื่นที่ใกล้เคียงในกลุ่มนั้นๆ เป็นหลัก

2) วางแผนเติมผู้เล่นที่เหมาะกับทีม

ประเมินความสามารถโดยรวมของทีมโดยจำแนกทักษะของสมาชิกรายบุคคลทั้ง Hard skill และ soft skill เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์ช่องว่างของทักษะแต่ละด้าน อะไรที่ยังขาด ทักษะแบบไหนจะเข้ามาเติมเต็มและส่งเสริมทีมให้ทำผลงานได้ตรงตามเป้ามากที่สุด
และตัดสินใจกำหนดคุณสมบัติเหล่านั้นให้ชัดเจนก่อนเปิดรับสมัครงาน

5 เรื่องที่ต้องเคลียร์ก่อนลงประกาศ Job Post

3) วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ

ศึกษาโครงสร้างของทีมในปัจจุบันตั้งแต่ผู้นำไปจนถึงสมาชิกจะได้ทราบว่าสถานการณ์ตอนนี้เอื้อต่อแผนที่วางไว้แค่ไหน บทบาทหน้าที่ของแต่ละคนเหมาะสมกับเป้าหมายของทีมไหม ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานมีสาเหตุจากอะไร เพื่อระบุไทป์ของคนที่สามารถเข้ามาแก้ปัญหานี้ได้อย่างตรงจุด

4) ประเมินสภาพแวดล้อมของทีม

การติดสินใจรับผู้สมัครเข้ามาทำงานโดยเน้น “ความสามารถ” เพียงอย่างเดียวอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการปรับตัวและกลายเป็นความขัดแย้งในองค์กร ดังนั้นนอกจากประเมินว่าทักษะของผู้สมัครจะสร้างผลงานได้แค่ไหนก็ควรใส่ใจเรื่องทัศนคติ วิธีการทำงาน ความเชื่อ หรือปัจจัยอื่นๆ ด้วย

วิเคราะห์ว่าลักษณะของทีมปัจจุบันเป็นอย่างไร บุคลิกภาพแบบไหนที่จะสามารถเข้ามาแล้วกลมกลืนไปด้วยกันได้ เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น หากทีมเน้นการทำงานแบบ Teamwork แชร์ข้อมูลกันอย่างใกล้ชิด ก็ควรเลือกผู้สมัครที่มีสไตล์เดียวกันมากกว่าคนที่ชอบทำงานเดี่ยว

5) ทำความเข้าใจความต้องการของสมาชิกเดิม

การรับสมัครพนักงานใหม่มักจะมาพร้อมกับอะไรใหม่ๆ เสมอ อาทิ ความคาดหวัง แผนงาน ตลอดจนวิธีการทำงานแบบใหม่และส่งผลให้คนที่อยู่มาก่อนหน้าต้องยอมปรับตัวตาม แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถยอมรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ ดังนั้นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเติมคนใหม่เข้ามาก็คือ “ความขัดแย้ง” เมื่อเป้าหมายและมุมมองไม่ตรงกัน

สำหรับวิธีลดความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว องค์กรจะต้องเข้าใจความต้องการของสมาชิกปัจจุบันก่อนว่าแต่ละคนมีมุมมองต่องานในตอนนี้อย่างไรบ้าง มีเป้าหมายหรือความคาดหวังในการทำงานเป็นแบบไหนแล้วจึงพยายามชี้ปัญหาและวิธีแก้ไขให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน ถือเป็นการเตรียมความพร้อมคนในก่อนจะต้อนรับคนใหม่ให้สามารถทำงานภายใต้เป้าหมายเดียวกันได้ตั้งแต่วันแรก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: สำรวจทิศทางและ 3 เทรนด์ตลาดงานในปี 2024

สนับสนุนการเติบโตขององค์กร ผ่านการคัดสรรบุคลากรที่ใช่

ลงทะเบียนฝากโปรไฟล์กับ Reeracoen Thailand

แปลและเรียบเรียงจาก: https://shorturl.at/im6oH

Related Posts