Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

ออกแบบเรซูเม่ให้เตะตา HR ในปี 2024 ด้วยหลักจัดหน้าแบบ F Method

  • Home
  • How to
  • ออกแบบเรซูเม่ให้เตะตา HR ในปี 2024 ด้วยหลักจัดหน้าแบบ F Method

Select Category

ออกแบบเรซูเม่ให้เตะตา HR

ออกแบบเรซูเม่ให้เตะตา HR ในปี 2024 ด้วยหลักจัดหน้าแบบ F Method

ปี 2024 แล้วเราจะออกแบบเรซูเม่อย่างไรดี?

ขณะที่โลกการทำงานเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทักษะและองค์ความรู้ที่ใช้กันก็ถูกพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้น เพื่อเอาตัวรอดและชนะการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการ Reskill – Upskill จึงสำคัญมากในสังคมคนทำงาน แล้วในแง่ของหลักการ ความเชื่อที่เกี่ยวกับการสมัครงาน
โดยเฉพาะ “รูปแบบเรซูเม่” ที่ใช้กันมาตั้งแต่อดีตยังคงทันสมัยหรือเหมาะสมหรือไม่ในบริบทปัจจุบัน มาหาคำตอบและอัปสกิลการออกแบบเรซูเม่เพื่อเตะตา HR ไปพร้อมกันได้เลย

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการออกแบบเรซูเม่

เพราะในการสมัครงานแต่ละตำแหน่งมักจะมีผู้สมัครยื่นโปรไฟล์เข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยค่าเฉลี่ยอาจอยู่ที่หลักสิบ ไปจนถึงหลักร้อยใบ ทำให้ฝ่ายคัดกรองอย่าง HR หรือทีมรีครูทเตอร์มักจะใช้วิธีสแกน (อ่านเร็วๆ) เพื่อความรวดเร็ว เรซูเม่จึงเป็นใบเบิกทางสำหรับการคัดเลือกรอบแรก และนอกเหนือจากพิจารณาด้วยคุณสมบัติบนโปรไฟล์ อีกหนึ่งวิธีช่วยเรียกความสนใจจาก HR ได้เป็นอย่างดีก็คือการออกแบบให้อ่านง่าย มีจุดดึงดูดสายตาและเป็นที่น่าจดจำมากขึ้นสำหรับคนคัดกรอง

การออกแบบเรซูเม่ที่พบเจอบ่อยๆ

ปฏิเสธไม่ได้สิ่งที่สำคัญที่สุดบนหน้าเรซูเม่ก็คือ “เนื้อหา” หลายคนเลยมองว่าแค่ใส่คุณสมบัติทักษะที่มีติดตัวและร่ายประวัติการทำงานมาให้ครบก็เป็นอันพร้อมลุย ซึ่งปัจจุบันก็มีเครื่องมือช่วยสร้างเรซูเม่ให้เลือกใช้หลายเจ้า มีการจัดรูปแบบหน้าตา กำหนดตำแหน่งข้อความไว้แล้ว เพียงแก้ไขเนื้อหาให้ตรงกับข้อมูลส่วนตัวก็ใช้งานได้เลย

ทำให้รวมๆ แล้วลักษณะการออกแบบเรซูเม่จะดูหน้าตาคล้ายกันไปหมด คือรูปภาพที่อยู่มุมบนฝั่งซ้าย – ขวา มีส่วนสรุปแนะนำตัวไว้ใต้รูปภาพหรือใต้ชื่อ แบ่งส่วนข้อมูลส่วนตัวแยกฝั่งกับประวัติการทำงานชัดเจนดังภาพ

ออกแบบเรซูเม่ด้วยหลักการ F Method

ออกแบบเรซูเม่ให้ปังด้วยหลักการจัดหน้าแบบตัว F

ข้อมูลหลักฐานการศึกษาจาก Nielsen Norman Group ที่ใช้เทคโนโลยีจับการเคลื่อนที่ของสายตาจนพบ “พฤติกรรมการอ่าน” ที่มักจะเริ่มจากส่วนบนของเนื้อหา แล้วกวาดสายตาอ่านในแนวขวางทีละบรรทัด จบด้วยการลากจากบนลงล่างเป็นเส้นแนวดิ่ง ซึ่งวาดออกมาได้เป็นลักษณะการเคลื่อนที่คล้ายกับตัว F

สำหรับวิธีนำมาปรับใช้กับการออกแบบเรซูเม่ เราสามารถกำหนดตำแหน่งเนื้อหาตามลำดับความสำคัญ อิงตามลักษณะการเคลื่อนที่ของสายตาในแต่ละจุด ลองออกแบบโดยคิดว่าผลงานหรือคุณสมบัติโดนๆ มาวางในจุดแรกๆ ให้ HR เห็นแล้วต้องสนใจและเลือกไว้รอเรียกเข้ามาสัมภาษณ์ในรอบถัดไป

เมื่อเรซูเม่ที่เราออกแบบสามารถช่วยไฮไลท์โปรไฟล์ให้องค์กรมองเห็นข้อดี หรือความโดดเด่นของเราได้ง่าย เราก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จกับการสมัครงานได้มากขึ้น

ออกแบบเรซูเม่ด้วยหลักการ F Method

สรุป 3 องค์ประกอบที่ร่วมกันทำให้การออกแบบเรซูเม่โดดเด่นและเป็นที่จดจำมากขึ้น

  1. จุดที่สายตาจะเลือกไปโฟกัสเป็นอันดับแรก
  2. กำหนดเส้นนำสายตา และจุดที่โฟกัสลำดับถัดไป
  3. ออกแบบให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามไปกับเนื้อหาที่วางไว้

อีกหนึ่งคำแนะนำสำหรับการออกแบบเรซูเม่ในปี 2024

ปัจจุบันหลายองค์กรมีการใช้เครื่องมือ Applicant tracking system: ATS เข้ามามีส่วนในกระบวนการรับสมัครงานมากขึ้น ซึ่งบางตัวอาจมี AI ช่วยทำหน้าที่คัดกรองใบสมัครแทน HR โดยใช้วิธีแมตช์คีย์เวิร์ดเข้ากับใบประกาศรับสมัครงาน เช่น ชื่อตำแหน่ง คุณสมบัติที่ต้องการ ทักษะประสบการณ์ทำงานและถ้าใบสมัครของเราไม่มีคีย์เวิร์ดที่ตรงกับ Job description ก็จะมีโอกาสถูก AI ปัดตกไปตั้งแต่แรกได้เช่นกัน

ดังนั้นการสมัครงานในยุคนี้การใช้เรซูเม่หนึ่งใบเพื่อส่งสมัครงานได้เป็นสิบๆ บริษัทก็อาจไม่เหมาะอีกต่อไป คำแนะนำที่อยากฝากก็คือพยายามทำเรซูเม่เพื่อสมัคร “งานใดงานหนึ่ง” โดยเฉพาะ เพื่อให้มีคีย์เวิร์ดตรงกับ Job description มากที่สุด

อ่านบทความ : ข้อระวังและความผิดพลาดบนเรซูเม่ที่อาจทำให้คุณไม่ได้งาน

เริ่มต้นฝากโปรไฟล์ สร้าง Passive Job Opportunity ให้กับตัวเอง

ฝากโปรไฟล์สมัครงานผ่าน Reeracoen Thailand

Related Posts