งานใหม่จะพาเราไปได้ไกลแค่ไหน แนะนำให้ถามเกี่ยวกับ “การพัฒนาคนในองค์กรนั้นๆ”
มีคนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจออกจากงานเดิมทั้งที่ไม่ได้มีปัญหาขัดแย้งจนทำให้อยู่ไม่ไหว แต่ออกเพราะมองหา “ความท้าทาย” ครั้งใหม่ และโอกาสพัฒนาตัวเองเพื่อเติบโตในอาชีพมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่หลายบริษัทไม่สามารถแก้ให้กับพนักงานได้ ทำให้การเลือกเดินจากไปกลายเป็นทางออกที่ดีที่สุด
โดยทั่วไปมนุษย์เงินเดือนอย่างเรามักจะนิยมมองหางานและรอให้บริษัทใหม่คอนเฟิร์มผล ก่อนจะแจ้งลาออกกับที่เก่าเพื่อไม่ให้เสียโอกาส รวมถึงรายได้ในช่วงเปลี่ยนผ่าน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องเคลียร์ก่อนระหว่างนั้นก็คือ “แน่ใจได้อย่างไรว่างานใหม่จะตอบโจทย์”
สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้ตัวเองเจอเหตุการณ์ Shift shock ก็ทำได้ตั้งแต่ขั้นตอนสัมภาษณ์งานผ่านการตั้งคำถามที่สามารถให้ข้อมูลกับเราได้อย่างครบถ้วนเท่าที่เป็นไปได้ และ Reeracoen Thailand มีตัวอย่างมาแนะนำดังนี้ครับ
Career path ของตำแหน่งนี้มีลำดับขั้นเป็นอย่างไร มีวิธีหรือกระบวนการพัฒนาคนในบริษัทในรูปแบบไหน มีโอกาสเติบโตรองรับในลักษณะไหนบ้าง องค์กรมีเกณฑ์ชี้วัดผลงานก่อนจะโปรโมตจากอะไร ตัวอย่างเป้าหมายที่เราจะมีส่วนร่วมในอนาคต
สาเหตุที่เราควรถามเกี่ยวกับ Career advancement เสมอ
นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของวิธีป้องกันไม่ให้ตัวเองเข้าไปเจอกับ Dead-end job ยังทำให้เรารู้ว่าถ้าอยากจะเติบโตขึ้นไปในองค์กรนี้จะต้องทำอย่างไรบ้าง ได้เตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า กำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนว่าทักษะแบบไหนที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม รวมถึงทำให้เราสามารถเติบโตและพร้อมสำหรับโอกาสได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังช่วยให้เราได้รู้จักกับองค์กรในแง่มุมอื่นๆ ทางอ้อม อาทิ
- โอกาสที่รองรับในแต่ละรูปแบบ
การพัฒนาตัวเองในแต่ละบริษัทสามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธี ตั้งแต่การลงคอร์สฝึกทักษะ หรือ Training program ที่บริษัทส่วนใหญ่มักจะมีจัดให้กับพนักงานตามความเหมาะสมหรือเรียนรู้ผ่านการลงมือทำงานจริง (on the job training) เช่น ผลักดันให้ทดลองรับผิดชอบงานในสโคปที่ใหญ่ขึ้น ดังนั้นคำถามปลายเปิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคคลก็จะทำให้เรามีข้อมูลสำหรับพิจารณาในหลายๆ แง่มุม - ทัศนคติขององค์กรต่อ “ความล้มเหลว”
นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีแบบยกธงเขียวตัวโตๆ หากบริษัทพูดถึงการผลักดันให้พนักงานมีความกล้าที่จะลอง ก็หมายความว่าองค์กรให้ความสำคัญกับ Growth mindset และพร้อมจะเปิดกว้างต่อไอเดียใหม่ๆ ของพนักงาน แม้ว่าล้มเหลวก็สามารถนำบทเรียนไปพัฒนาแก้ไขต่อได้ซึ่งถ้าเราไปร่วมงานด้วยก็จะมีพื้นที่ของการเรียนรู้ได้เยอะ - ทางเลือกการเติบโตตามความสนใจส่วนตัว
Career path แบบที่หลายคนคุ้นเคยมักจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง เริ่มจากตำแหน่ง Junior ขยับไป Senior แล้วขึ้นเป็น Manager ซึ่งลักษณะของงานก็จะมีรูปแบบคล้ายๆ เดิมแล้วเพิ่มเติมด้วยความรับผิดชอบในภาพรวมของทีมมากขึ้นแต่กับปัจจุบันรูปแบบอาจจะเปลี่ยนไปพอสมควร เนื่องจากยุคนี้มีแหล่งข้อมูลมากมาย แถมยังเข้าถึงง่าย ทำให้ทักษะความรู้ต่างๆ กระจายไปหากันได้ง่ายขึ้น Career path จึงไม่ใช่แค่เส้นตรงแบบเมื่อก่อนแต่สามารถพัฒนาไปได้หลากหลายกว่าเดิมเพื่อหาความลงตัวและตรงกับเป้าหมายการทำงานมากที่สุด คำถามเกี่ยวกับการพัฒนาคน หรือ Career path จึงทำให้เรารู้จักวัฒนธรรมองค์กรว่ามีมุมมองแบบไหน และทางเลือกต่างๆ ที่องค์กรมีนั้นใช่สิ่งที่ตามหาหรือเปล่า
- ทัศนคติการเป็นผู้สอนของหัวหน้า
หัวหน้างานถือเป็นคนที่มีส่วนกับการพัฒนาของพนักงานโดยตรง เพราะลักษณะของคนเป็นผู้นำที่ดี ไม่ใช่แค่ทำงานเก่งแต่ต้องสามารถ “สร้างคน” ให้เก่งเหมือนตัวเองได้ด้วย สังเกตคำตอบขององค์กรว่าหัวหน้างานเข้ามามีบทบาทอย่างไร วิธีที่หัวหน้าใช้เพื่อเสริมความแกร่งให้พนักงานเป็นแบบไหน อีกหนึ่งเหตุผลคือ “ความเป็นอยู่ของพนักงาน” ก็มักจะเกี่ยวข้องกับหัวหน้างานเป็นส่วนใหญ่ ถ้าบริษัทมีระบบ Coaching ที่แข็งแรงประกอบกับหัวหน้าที่พร้อมถ่ายทอดวิชา พนักงานก็จะสามารถเติบโตได้ไกล และอยู่กับองค์กรได้นาน แนะนำ 9 คำถามสำภาษณ์งานถ้าไม่อยากรู้สึก Fail กับงานใหม่