Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

5 คำถามเช็กลิสต์ตอนสัมภาษณ์งาน องค์กรแบบไหนที่ “ใช่” สำหรับเรา

  • Home
  • Interview Guideline
  • 5 คำถามเช็กลิสต์ตอนสัมภาษณ์งาน องค์กรแบบไหนที่ “ใช่” สำหรับเรา

Select Category

5 คำถามเช็กลิสต์ตอนสัมภาษณ์งาน องค์กรแบบไหนที่ “ใช่” สำหรับเรา

การสัมภาษณ์งานคือการ “ขายของ” ผู้สมัครเองก็ต้องการขายทักษะ ความสามารถ ในขณะที่นายจ้างก็อยากนำเสนอว่าองค์กรตัวเองดีอย่างไร และจากประสบการณ์ที่คุณผู้อ่านได้ผ่านกันมาก็คงจะพอรู้ว่า “ไม่มีที่ไหนเพอร์เฟกต์” เพราะทุกที่ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีแต่ที่ที่ “เหมาะสม” ที่สุดเท่านั้นที่เราจะเลือกฝากชีวิตเข้าไปทำงานด้วย

แต่เมื่อการสัมภาษณ์งานคือการ “ขาย” ซึ่งส่วนใหญ่ก็คงพูดถึงเฉพาะด้านดีของกันและกัน ความท้าทายคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่ไหน “ดี” หรือ “เหมาะ” กับตัวเราก่อนที่จะตอบตกลงเริ่มงาน หนึ่งในวิธีดมกลิ่นหาความผิดปกติจากองค์กร มาหัดสังเกตงานที่ใช่ได้ง่ายๆ กับ 5 คำถามเช็กลิสต์ตอนสัมภาษณ์งาน องค์กรแบบไหนที่ “ใช่” สำหรับเรา

1) วัฒนธรรมองค์กรที่นี่เป็นอย่างไร

เป็นคำถามสัมภาษณ์งานที่ทั้งเรียบง่ายและตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นการเปิดประเด็นให้ได้ข้อมูลกว้างๆ ช่วยให้เราสังเกตว่าอีกฝ่ายเน้นตอบด้านไหนเป็นพิเศษ นอกจากนี้หากเรามีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือจุดที่คิดว่าสามารถ “ขุด” ให้ลึกกว่าเดิมเพื่อให้ตัวเองได้คำตอบที่ชัดเจนมากขึ้นก็ถือเป็นโอกาสที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไป

และอย่างที่เราคุ้นเคยกันดีบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรแบบ “ครอบครัว” เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานเราจะพบว่าที่นั่นมักจะเป็น “สนามรบ” ของการทำงานในอนาคตด้วยการแบกความคาดหวังที่มากเกินตัว จนขาดขอบเขตของการทำงานและชีวิตส่วนตัว ถ้าเจอแบบนี้ก็อาจตีความได้ง่ายๆ ว่า “หนีไป” เพราะงานไม่ควรถูกนำมาปนกับชีวิตส่วนตัว (โดยไม่ได้เต็มใจ) ตั้งแต่แรก

2) ผู้นำแบบไหนที่จะก้าวหน้า และไม่ก้าวหน้าในการทำงานที่นี่

หากมีผู้นำที่ดีองค์กรจะก้าวหน้าได้ไว เพราะวัฒนธรรมองค์กรส่วนหนึ่งมักได้รับอิทธิพลจาก “ผู้นำ” ทั้งทัศนคติ ความเชื่อ วิธีการทำงาน ดังนั้นเมื่อเราได้คำตอบจากคำถามดังกล่าว เช่น ผู้นำที่จะประสบความสำเร็จคือคนที่มีความเห็นอกเห็นใจ มีส่วนร่วมกับผู้อื่น พร้อมรับฟังปัญหา ไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว

ทริคเล็กๆ ที่สามารถนำไปใช้เพิ่มเติมก็คือนายจ้างควรอธิบายหรือยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้ด้วย เพราะไม่อย่างนั้นอาจหมายความว่าทั้งหมดที่ได้กล่าวมาอาจเป็นแค่ภาพ “อุดมคติ” แต่ไม่ได้มีอยู่จริงในองค์กรนั้นๆ

3) องค์กรสนับสนุนความเท่าเทียมหรือความเสมอภาคให้กับทุกคนอย่างไร

ทุกวันนี้เรามีการตระหนักถึงความหลากหลายการสร้างกลุ่ม และความเท่าเทียมกันมากขึ้น ทั้งด้านเพศ เชื้อชาติ ค่านิยม ความเชื่อต่างๆ หรือที่เรียกว่า DEI (Diversity, equity, inclusion) ซึ่งหน้าที่ขององค์กรคือทำให้สมาชิกทุกคนรู้สึกว่า “เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” ให้ได้ แม้สังคมจะตระหนักและองค์กรรู้ว่าเป็นหน้าที่สำคัญแต่บางแห่งอาจยังขาด “วิธีการ” ที่จะทำให้เกิดขึ้น

ซึ่งประเด็นสำคัญคือคำว่า “อย่างไร” โดยคำตอบของคำถามสัมภาษณ์งานนี้ควรเป็นลักษณะของการกระทำที่ชัดเจน เพราะหากองค์กรไม่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมให้พนักงานทุกคนรู้สึกเป็นที่ยอมรับและเท่าเทียมก็น่าเป็นที่สงสัยว่าถ้าเข้าไปแล้วแล้วเรารวมถึงคนอื่นๆ จะได้รับการปฏิบัติแบบไหนกันแน่

4) องค์กรมีวิธีช่วยให้คนกล้าพูดอย่าง "ตรงไปตรงมา" โดยไม่กลัวว่าจะมีปัญหาตามมาทีหลังอย่างไรบ้าง

สัมภาษณ์งานทุกครั้งควรถามแนวทางการจัดในองค์กร เพราะหนึ่งในวัฒนธรรม toxic ที่เป็นแผลใหญ่ขององค์กรคือการมีปัญหา แต่ไม่มีใครกล้าพูดถึงเนื่องจากกลัวผลลัพธ์ที่อาจตามมาจนทำให้ปัญหาไม่มีวันถูกแก้และฝังรากลึกจนถอนออกยาก ในทางกลับกัน องค์กรที่ดีควรสามารถช่วยให้พนักงานทุกคนสามารถยืนหยัดเพื่อพูดถึงความจริงอย่างตรงไปตรงมาโดยที่ไม่ต้องกลัวว่าถ้าพูดอะไรไปแล้วจะถูกหัวหน้าหมั่นไส้หรือโดนเพื่อนร่วมงานแอนตี้

5) คุณสามารถแนะนำบุคคลที่จะให้ข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติมได้ไหม

ไม่ว่าเราจะตั้งคำถามสัมภาษณ์งานไปสักกี่ข้อก็ไม่มีอะไรที่สามารถอธิบายว่าองค์กรนั้นเป็นอย่างไรได้ดีเท่ากับการรับฟัง “ประสบการณ์ตรง” จากคนที่ทำงานอยู่ แน่นอนว่าการที่คนแปลกหน้าสองคนพูดคุยกันคงเป็นเรื่องยากที่จะ “ใส่หมดเปลือก” ในทุกเรื่อง

ดังนั้นเมื่อเราได้ข้อมูลที่ต้องการ ถ้าเป็นไปได้อาจลองขอช่องทางการติดต่อพนักงานคนอื่นๆ เพิ่มเติม ถามถึงข้อดี - ข้อเสียของการทำงานที่นี่ ซึ่งถ้าเราเห็นได้ว่าคนเหล่านี้ไม่กล้าที่จะพูดหรือมีท่าทีแปลกๆ ที่ผิดสังเกตไปก็อาจแปลว่านี่คือสัญญาณที่กำลังบอกให้คุณ “หนีไป” แบบอ้อมๆ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม:

3 ผลกระทบจากการ WFH ที่หัวหน้างานต้องรับมือ
เริ่มงานใหม่ให้ปังตั้งแต่ 3 เดือนแรกด้วยการกำหนดเป้าหมายแบบ 30-60-90

ฝากโปรไฟล์สมัครงานผ่าน Reeracoen Thailand

Related Posts