Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

4 Steps สัมภาษณ์งาน สอบผ่านได้ทุกที่

  • Home
  • How to
  • 4 Steps สัมภาษณ์งาน สอบผ่านได้ทุกที่

Select Category

4 Steps สัมภาษณ์งาน สอบผ่านได้ทุกที่

มีหลายเหตุผลที่ทำให้การสัมภาษณ์งานดูเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้สมัคร ไม่ว่าจะด้วยความกดดัน ความคาดหวัง คำถาม หรือการเตรียมตัว
และกว่าจะผ่านเข้ามาถึงจุดนี้ก็ไม่ง่าย ใช้เวลาไปก็ไม่น้อย ดังนั้นเราต้องมองไปถึงผลลัพธ์สูงสุดอย่างการ “ถูกจ้างงาน” เท่านั้น!

อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้การแข่งขันระหว่างผู้สมัครก็สูงขึ้นมาก มองไปทางไหนก็เจอแต่คนเก่งอัดแน่นกันอยู่เต็มตลาด การทำให้องค์กรมั่นใจว่าเราคือ “คนที่ใช่” จึงเป็นคำตอบ สำหรับใครที่ไม่มั่นใจในสกิลสัมภาษณ์งานของตัวเองก็อย่าเพิ่งท้อใจ Reeracoen Thailand มี 4 Steps ช่วยพัฒนาเทคนิคไปสมัครที่ไหนก็สอบผ่านและมีโอกาสคว้างานในฝันกันได้ไม่ยาก

อะไรคือหัวใจสำคัญของการสัมภาษณ์งาน

หนึ่งในความเข้าใจผิดที่หลายคนมีเกี่ยวกับการสัมภาษณ์งานคือการมองว่าเราเป็น “ตัวเลือก” ขององค์กรเพียงอย่างเดียว ซึ่งอันที่จริงแล้วควรเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างสองฝ่าย ไม่ใช่แค่นายจ้างเลือกเรา แต่เราเองก็เป็นคนที่เลือกงานด้วยเช่นกัน

หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่การใช้เวลาในห้องสัมภาษณ์อย่างคุ้มค่า สามารถสื่อสาร เคลียร์ข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ ได้ครบถ้วน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมั่นใจว่าจะเป็น “คำตอบสุดท้าย” ของกันและกัน

การทำให้องค์กรมั่นใจ แม้จะมีเวลาในห้องสัมภาษณ์ไม่กี่ชั่วโมง สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าเราเข้าใจตัวงาน และความคาดหวังขององค์กร แค่สังเกตเนื้อหาบน Job description (รายละเอียดประกาศงาน) ที่มักจะมี “คำใบ้” แอบแฝงไว้ให้ผู้สมัครได้ทำการบ้านล่วงหน้า เช่น ลักษณะของคนที่เหมาะกับงาน รูปแบบประสบการณ์ที่บริษัทมองหา คลิกอ่าน วิธีเพิ่มโอกาสคว้างานจากการวิเคราะห์ Job description ได้ที่นี่

4 Steps สัมภาษณ์งาน สอบผ่านได้ทุกที่

เมื่อเรามีความเข้าใจเป้าหมายการจ้างงานของบริษัทที่ได้จากการวิเคราะห์ Job description ไว้ล่วงหน้าแล้ว ต่อมาคือการนำตัวเองเข้าไปเติมเต็มช่องว่างต่างๆ เพื่อตอบสนองกับความคาดหวังขององค์กรให้มากที่สุด โดยออกแบบเนื้อหาที่สามารถดึงดูดนายจ้างได้ตั้งแต่ต้นจนจบ

  1. การแนะนำตัว สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกในการสัมภาษณ์งานก็คือ “แนะนำตัว” เพื่อทำความรู้จักกันเบื้องต้นก่อนลงรายละเอียดในส่วนอื่นๆ ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าไม่ได้สำคัญเท่าการตอบคำถาม แต่ความจริงการแนะนำตัวที่ดีนั้นช่วยสร้างความโดดเด่นได้มาก เพราะหลายคนไม่รู้ว่านอกจาก ชื่อ ประวัติการศึกษา งานปัจจุบัน ยังมีประเด็นอีกมากมายที่ยิ่งทวีคูณความน่าสนใจ เช่น ประสบการณ์และผลงานที่สอดคล้องกับตำแหน่งที่สมัคร งานปัจจุบันคล้ายหรือแตกต่างกับตำแหน่งนี้อย่างไร อะไรที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในบริษัทนี้ คลิกอ่าน สัมภาษณ์งาน แนะนำตัวอย่างไรให้น่าจดจำ ได้ที่นี่
  2. เล่าเรื่องการทำงานให้เห็นภาพ องค์กรย่อมอยากรู้ว่าเราเก่งด้านไหน มีความสามารถอย่างไร เพียงแต่วิธีบอกเล่าควรลง “รายละเอียด” ให้เห็นภาพ มีการยกตัวอย่างสถานการณ์ สะท้อนแนวคิด รูปแบบการทำงาน ไม่ใช่บอกว่าทำอะไรเป็นบ้างซึ่งไม่ต่างกับไปนั่งอ่านเรซูเม่ให้ฟัง เพราะถ้าถึงขั้นได้นัดเข้ามานั่งสัมภาษณ์แล้ว ประเด็นเรื่องของคุณสมบัติก็คงไม่ใช่ข้อกังขาที่น่ากังวล สิ่งที่สำคัญกว่าการทำความรู้จักตัวตน ทัศนคติ และพลังงานซึ่งอาจเป็น “จุดเปลี่ยนเกม” ของผู้สมัครแต่ละคน
    เนื่องจาก บางคนอาจมีคุณสมบัติเข้าขั้นดีมาก แต่ถ้าไม่สามารถถ่ายทอด “เรื่องราว” ของตัวเอง สัมภาษณ์ตั้งนานก็ยังหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมถึงอยากเข้ามาทำงานในบริษัทของเขาก็คงไม่สามารถตัดสินใจรับเข้ามาทำงานได้
  3. อธิบายแผนงานและเป้าหมายในอนาคต นอกเหนือจากผลงานที่ดี ช่วยสร้างอิมแพคในองค์กรได้จริง เป้าหมายที่ถูกคาดหวังทุกครั้งที่มีการจ้างงานก็คือความสำเร็จในระยะยาวของผู้สมัครและบริษัท ดังนั้นเราจึงมักจะเจอคำถามประมาณว่า “อนาคตอยากทำอะไร” หรือ “มองตัวเองเป็นอย่างไรในอีก 5 ปีข้างหน้าเพื่อศึกษาแนวคิด และดูทิศทางเป้าหมายของผู้สมัคร หากมองในจุดเดียวกันก็มีโอกาสได้คะแนนบวกสูง
    ถ้ายังคิดไม่ออกว่าเป้าหมายส่วนตัวของเราคืออะไรก็สามารถอิงจาก “ทิศทางธุรกิจของบริษัท” หรือคิดถึงผลงานที่จะประดับหน้าหน้าเรซูเม่ในอนาคตก็ได้
  4. ตอบให้ได้ว่าทำไมบริษัทต้องจ้างเรา ทำไมเราต้องจ้างคุณ” คงเป็นคำถามสัมภาษณ์งานที่หลายคนไม่ชอบ เพราะถ้าตื่นเต้นจนเรียบเรียงคำตอบออกมาไม่ดี หรือมีใจความเชิงลบก็มีสิทธิที่จะถูกตัดออกจากลิสต์ผู้ท้าชิงตำแหน่งได้ทันที
    ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจว่าทำไมถึงต้องถามและอะไรคือคำตอบที่นายจ้างคาดหวังจะได้ยิน ต้องอธิบายว่าส่วนใหญ่ผู้สมัครที่ได้เข้ามาสัมภาษณ์จะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกันเพราะผ่านการคัดสเปคมาแล้วเบื้องต้น ขั้นตอนถัดไปจึงต้องตามหา “ความแตกต่าง” ของแต่ละคนซึ่งจะไปวัดกันที่ประสบการณ์ส่วนตัว ทัศนคติหรือแม้แต่ทักษะอื่นๆ เช่น ความเป็นผู้นำ การแก้ปัญหา ฯลฯ
    ดังนั้นคำถามปลายเปิดอย่าง “ทำไมเราต้องจ้างคุณ” จะทำให้เราต้องใช้ทักษะหลายอย่างเพื่อรับมือความกดดันและสะท้อนตัวตนของผู้สมัครผ่านการคำตอบที่ได้รับกลับมา

ฝากโปรไฟล์สร้าง Passive Job Opportunity และให้โอกาสงานเป็นฝ่ายเข้าหาคุณ
ฝากโปรไฟล์สมัครงานผ่าน Reeracoen Thailand

Related Posts