Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

แจ้งลาออก ต้องบอกล่วงหน้าก่อน 30 เท่านั้นจริงไหม?

  • Home
  • General Topic
  • แจ้งลาออก ต้องบอกล่วงหน้าก่อน 30 เท่านั้นจริงไหม?

Select Category

แจ้งลาออกต้องบวกล่วงหน้ากี่วัน

แจ้งลาออก ต้องบอกล่วงหน้าก่อน 30 เท่านั้นจริงไหม

สำหรับพนักงานประจำที่ไม่ได้มีกำหนดสิ้นสุดสัญญาจ้าง เรามักจะคุ้นเคยกับระเบียบขององค์กรมักจะมีระบุเงื่อนไขการลาออกว่าพนักงานจะต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนออก 30 วัน แต่คำถามคือถ้าจู่ๆ วันหนึ่งเราเกิดรู้สึกว่าไม่อยากทำงานแล้ว หรือได้งานที่ใหม่แล้วบริษัทอยากให้ไปเริ่มงานทันทีทั้งที่เรายังไม่ได้แจ้งลาออกกับบริษัทปัจจุบัน

ในกรณีแบบนี้เราจำเป็นต้องยอมทิ้งโอกาสนั้นไปแล้วยึดตามระเบียบที่บริษัทเดิมระบุไว้เท่านั้น
หรือความจริงเราสามารถปล่อยจอยแล้วออกได้เลยทันที เรามาเคลียร์ข้อสงสัยกัน!

ข้อกำหนดบริษัท – ข้อกฎหมายเรื่องการแจ้งลาออก

รายละเอียดสัญญาจ้างงานของบริษัทระบุว่าพนักงานต้องแจ้งลาออกก่อน 30 วัน ตรงตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ในมาตรา 17 ที่บอกว่าถ้าลูกจ้างลาออกจะต้องมีการบอกล่วงหน้า ดังนั้นในกรณีที่ออกโดยไม่ได้บอกก่อน นายจ้างก็จะสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ เพียงแต่การลาออกนั้นจะต้องก่อให้เกิดความเสียหายและนายจ้างต้องพิสูจน์ได้ว่าบริษัทเสียหายอย่างไร

หมายความว่าแม้ลูกจ้างจะออกก่อนที่กำหนดไว้ 30 วัน แต่ถ้าไม่ได้ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย (ที่สามารถพิสูจน์ได้) ก็จะไม่มีผลทางกฎหมายเป็นปัญหาตามมาภายหลัง ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องลาออกก่อนช่วงเวลาที่กำหนดไว้ก็ควรประเมินลักษณะงานและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัท ถ้ายังมีภาระงานผูกพัน หรือหน้าที่ที่ต้องทำให้เสร็จก่อนหรือไม่

เช่น วิศวกรโยธาได้รับโปรเจกต์ดูแลการก่อสร้างอาคาร แต่ระหว่างนั้นกลับลาออกแล้วทิ้งงานไว้กลางคันเป็นเหตุให้บริษัทเสียหาย กรณีนี้ก็เข้าข่ายที่จะถูกฟ้องได้

ข้อควรระวังกรณีลาออกก่อน 30 วัน

ข้อควรระวังที่อยากให้พิจารณาเพิ่มเติมกรณีแจ้งลาออกก่อนกำหนด 30 วัน

พออ้างอิงจากข้อกฎหมายที่ปรากฎข้างต้น บางคนอาจเห็นว่ามีช่องทางที่สามารถออกได้เลยไม่ต้องรอ 30 วัน แต่ก็ไม่ได้แปลว่านี่คือ “ช่องโหว่” ให้ทิ้งความรับผิดชอบแล้วจะทำตามใจตัวเองยังไง แบบไหนก็ได้ เพราะเราไม่รู้เลยว่ามีผลกระทบอะไรที่จะตามมาบ้างข้อมูลจะถูกแชร์ต่อไปที่ไหน เขาพูดถึงเราไว้อย่างไร บางเคสอาจถึงขั้นติด blacklist จนหางานใหม่ได้ยาก

ดังนั้นนอกจากให้ความสนใจกับผลทางกฎหมายแล้ว พยายามใส่ใจรักษาความสัมพันธ์กับบริษัทปัจจุบันด้วยการแสดงพฤติกรรมที่ดีในฐานะสมาชิกองค์กร อย่าลืมว่า “คอนเนกชัน” เองก็สำคัญในชีวิตการทำงานเช่นกัน

สรุป

ในกรณีลาออกซึ่งผ่านการคิดอย่างรอบคอบมาแล้วและมีความจำเป็นต้องออกก่อน 30 วันจริงๆ อย่างเช่น ได้งานใหม่แล้วต้องไปเริ่มงานเร่งด่วน
ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ติดงานสำคัญอะไรไว้กับที่เดิม รวมถึงออกแล้วไม่สร้างปัญหาให้บริษัทเสียหายหรือโยนภาระให้บริษัทต้องไปเดือดร้อนทีหลัง
ก็สามารถตกลงกับนายจ้างก่อนกำหนดได้

ไม่ใช่ทุกโอกาสงานที่เข้ามาจะดีเสมอไป แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าครั้งไหนคือ “โอกาสที่ดี”

ฝากโปรไฟล์สมัครงานผ่าน Reeracoen Thailand

แหล่งข้อมูล:
https://shorturl.at/of5vj
https://shorturl.at/Aq3rs

Related Posts