Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

เขียนประสบการณ์ทำงานในเรซูเม่เยอะเกินไป อาจไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างที่คิด

  • Home
  • Career Insight
  • เขียนประสบการณ์ทำงานในเรซูเม่เยอะเกินไป อาจไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างที่คิด

Select Category

เขียนประสบการณ์ทำงานในเรซูเม่เยอะเกินไป อาจไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างที่คิด

หลายคนมีมุมมองและยึดถือความเชื่อเกี่ยวกับการเขียนข้อมูลของตัวเองลงในเรซูเม่ ด้วยแนวคิดที่ว่ายิ่งมีประสบการณ์ทำงานเยอะเท่าไรก็จะยิ่งเป็นผู้สมัครที่น่าสนใจมากขึ้นเท่านั้น จึงพยายามที่จะยัดประสบการณ์ลงไปเยอะๆ ชนิดที่ว่าชีวิตนี้เคยทำอะไรก็เขียนลงไปให้หมด เพื่อพยายามเพิ่มมูลค่าโปรไฟล์ด้วยประวัติการทำงาน และผลที่ได้คือเรซูเม่สมัครงานของบางคนแทบจะไม่ต่างจากหนังสือชีวประวัติส่วนตัวซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้โปรไฟล์ของเราถูกปัดตกไป

คำถามคือแล้วเราควรเขียนประสบการณ์ทำงานอย่างไร แค่ไหนถึงเรียกว่าเหมาะสม Reeracoen Thailand มีคำแนะนำมาฝากกันดังนี้ครับ

ทำไมเราไม่ควรบอกเล่าประสบการณ์ทำงานทุกอย่างลงในเรซูเม่

  • ดูไม่มีทิศทาง/เป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน
    ในชีวิตการทำงาน แต่ละคนมักจะมีเป้าหมายเป็นขั้นบันไดที่เรียกว่า Career path ในแบบของตัวเอง ดังนั้นคนที่มีจุดหมายในแต่ละขั้นที่ชัดเจน รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร เป้าหมายต่อไปคือที่ไหน ก็จะทำให้องค์กรเข้าใจภาพรวมตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงเป้าหมายในอนาคตที่ผู้สมัครอยากจะเป็น และสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้ง่าย
  • อาจเป็น Red Flag ในสายตาองค์กร
    การมีประวัติทำงานหลายบริษัทภายในระยะเวลาสั้นๆ อาจสื่อถึงการเป็นคนย้ายงานบ่อย และตีความได้ว่าเป็น Job hopper ที่มีเป้าหมายเข้ามาเพื่อเก็บโปรไฟล์ มีปัญหาบางอย่างที่ทำให้ไม่เคยอยู่บริษัทไหนได้นาน ซึ่งในแง่ของงานบริหารบุคคลในองค์กร หน้าที่หลักคือต้องพยายามลดอัตราการลาออกหรือจำกัด Turnover rate ให้มีตัวเลขน้อยที่สุด ดังนั้นการรับผู้สมัครที่อยู่ในเงื่อนไขดังกล่าวเข้ามาจึงเป็นตัวเลือกลำดับท้ายๆ ที่จะนำมาพิจารณา
  • เยอะไป ไม่อ่าน
    วิธีแก้ปัญหาข้อมูลประวัติการทำงานที่มีมากเกินไป แบบแรกคือ เพิ่มหน้าเอกสารเป็น 2-3 แผ่น ส่วนวิธีที่สองคือย่อขนาดตัวอักษรให้เล็กลง ซึ่งทั้งสองวิธีล้วนเพิ่มความยากให้งานของฝ่ายคัดกรองและเป็นสาเหตุให้ “ไม่อ่าน” และพร้อมปัดตกทันที เนื่องจากการเปิดรับสมัครงานหนึ่งตำแหน่งอาจมีคนสมัครเข้ามาตั้งแต่หลักสิบ ไปจนถึงหลักร้อย แน่นอนว่าฝ่ายคัดกรองไม่สามารถอ่านทุกตัวอักษรหลังจากอ่านไปสักพักถ้าไม่เจอจุดที่น่าสนใจก็สามารถเก็บใบสมัครของเราทิ้งลงใต้โต๊ะได้เลย
  • ถูกจัดในกลุ่ม Overqualified
    การมีชั่วโมงบินในการทำงานสูงเป็นเรื่องที่ดี แต่บางครั้งการมีโปรไฟล์ที่ “หรู” เกินกว่าตำแหน่งที่สมัครอาจกลายเป็นการลดโอกาสได้งานด้วยเหตุผลต่อไปนี้
  1. โปรไฟล์หรูมักจะแลกมาด้วยราคาค่าตัวที่สูงขึ้น
  2. ไม่ค่อยเหลือพื้นที่ให้เรียนรู้หรือเติบโตในองค์กรต่อไป
  3. ถ้างานไม่ท้าทาย อาจเบื่อง่ายและย้ายงานเร็ว

ทำอย่างไรให้ประสบการณ์สูงไม่กลายมาเป็นอุปสรรคในการสมัครงาน

  • เลือกเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัคร
    หากว่ากันตามตรรกะพื้นฐาน ยิ่งมีข้อมูลเยอะ เรายิ่งตัดสินใจได้ง่าย เช่นเดียวกัน ยิ่งองค์กรรู้ถึง Background เกี่ยวกับผู้สมัครได้มากเท่าไร การคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง ทั้งเวลาและกำลังคนทำให้องค์กรไม่สามารถใช้เวลาคัดกรองได้ละเอียดขนาดนั้น แต่จะแทนที่ด้วยวิธีการอ่านเอกสารด้วยความรวดเร็วแล้วจับคีย์เวิร์ดที่ตรงตาม Requirement ได้กำหนดไว้

    เราจึงต้องรู้จักเลือกใช้ข้อมูลให้เป็นเน้นคัดเฉพาะที่ใกล้เคียงกับงานที่สมัครไม่เกิน 4 อย่างโดยจัดลำดับให้ “งานล่าสุด” ขึ้นมาเป็นอันดับแรก เนื่องจากองค์กรจะดูที่งานปัจจุบันหรืองานล่าสุดก่อนเสมอ เพราะเป็นส่วนที่บ่งบอกถึงตัวตนของเราในตอนนี้ทั้งหมดทั้งตำแหน่งงาน ลักษณะงาน รวมถึงทักษะที่ใช้งานบ่อย ถ้าส่วนแรกนี้ผ่าน ก็จะย้อนลงไปดูประวัติส่วนอื่นเพิ่มเติมว่ามีส่วนไหนสอดคล้องกับการทำงานในตำแหน่งนั้นๆ บ้าง

สำหรับคนที่ “เสียดาย” และคิดประวัติส่วนอื่นยังสำคัญก็มีวิธีการแก้ปัญหา 3 วิธี

  1. จัดส่วน Early career ที่สรุปช่วงต้นของชีวิตการทำงานเปลี่ยนรูปแบบเป็นลิสต์ที่ไม่ต้องอธิบายรายละเอียดเยอะ เท่านี้ก็จะไม่ต้องเปลืองพื้นที่ หรือย่อขนาดตัวอักษรแถมยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับประกอบการตัดสินใจด้วย อธิบายลงในจดหมายสมัครงานตั้งแต่ต้น
  2. Cover letter หรือจดหมายสมัครงานเป็นเครื่องมือที่ดีที่เราจะได้ใช้โอกาสอธิบายเกี่ยวกับข้อสงสัยที่อาจจะเกิดขึ้น เป้าหมายคือสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนว่าทำไมถึงสมัครงานตำแหน่งนี้เรากำลังคาดหวังเรื่องอะไร สามารถสร้างอะไรให้กับองค์กรได้บ้าง ซึ่งจะทำให้ฝ่ายคัดกรองเกิดมุมมองที่ดีและเพิ่มโอกาสสัมภาษณ์งาน พร้อมระบุความคาดหวังเงินเดือนให้ชัดเจน
  3. ส่วนสุดท้ายคือพยายามลดความกังวลของฝ่ายคัดกรองเกี่ยวกับ “ค่าตัว” เพราะคุณสมบัติที่สูงเกินไปอาจทำให้องค์กรรู้สึกว่าจ่ายเงินเดือนไม่ไหว จึงควรชัดเจนตั้งแต่ต้นเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดไปเอง ที่สำคัญคือต้องรู้ตัวเลขพื้นฐานก่อนว่าในตำแหน่งงานเดียวกันนี้บริษัทอื่นๆ เขาจ่ายกันเฉลี่ยอยู่ที่เท่าไรเพื่อหาตัวเลขเหมาะสมที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม: สรุปทุกเรื่องที่ควรรู้และการใช้ประโยชน์จาก Job Description ในทุกขั้นตอนสมัครงาน

ฝากโปรไฟล์สมัครงานผ่าน Reeracoen Thailand

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม:

https://shorturl.at/krGW8

https://shorturl.at/bqFP7

https://shorturl.at/rEZ18

https://shorturl.at/kpBH9

Related Posts