Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

การจ้างงานในปี 2024 ทำไมองค์กรยุคนี้ควรมี Talent Pool เป็นของตัวเอง

  • Home
  • General Topic
  • การจ้างงานในปี 2024 ทำไมองค์กรยุคนี้ควรมี Talent Pool เป็นของตัวเอง

Select Category

การจ้างงานในปี 2024
ทำไมองค์กรยุคนี้ควรมี Talent Pool เป็นของตัวเอง

หนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่ธุรกิจในปัจจุบันกำลังเผชิญกันทั่วโลกก็คือความท้าทายในการจ้างงานเพื่อพัฒนาองค์กรให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การสรรหา คัดกรอง และโน้มน้าวให้ผู้สมัครตกลงเริ่มงาน โดยมีความซับซ้อนมากขึ้นจากหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น

1. ผู้สมัครยังขาดทักษะ (Skills Gap)
หลายองค์กรพบว่าผู้สมัครที่มีทักษะเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นมีอยู่จำกัด เพราะการพัฒนาของนวัตกรรมกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทักษะที่จำเป็นต้องนำมาปรับใช้กับการทำงานก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย

2. การแข่งขันระหว่างองค์กร (War for Talent)
เมื่อผู้สมัครที่มีศักยภาพมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาด จึงเกิดการแข่งขังระหว่างองค์กรเพื่อแย่งชิงบุคลากรความสามารถสูง
โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ช่วงกำลังเติบโต เช่น เทคโนโลยี การเงิน และสายสุขภาพ ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ ใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ ให้องค์กรโดดเด่นกว่าใคร

3. ความคาดหวังที่เปลี่ยนไป (Candidate’s Expectation)
คนทำงานรุ่นใหม่ในทุกวันนี้มีความคาดหวังที่แตกต่างจากรุ่นก่อนๆ เช่น มองหาความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexibility) เน้นให้ความสำคัญกับ Work-Life Balance มากขึ้น และต้องการงานที่ให้คุณค่าตรงตามเป้าหมายของตัวเอง หลายองค์กรจึงต้องพยายามปรับภาพลักษณ์ให้เป็นที่ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่

ความจริงยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ยิ่งทวีคูณความยากในการจ้างงาน อาทิ ประสบการณ์ที่ผู้สมัครได้รับ ระยะเวลาที่ใช้ไปกับแต่ละขั้นตอน
เงินเดือน สวัสดิการ และความสามารถในการแข่งขันของบริษัท

เคยสังเกตไหมว่าทำไมในปัจจุบันหลายบริษัทชั้นนำมักจะนำกลยุทธ์ใหม่ๆ มาปรับใช้ในกระบวนการจ้างงานกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Employer branding หรือใช้วิธีจองตัวตั้งแต่ในสถานศึกษา เพราะปัจจุบันต้องยอมรับว่าวิธีการจ้างงานแบบเดิมๆ ที่ประกาศแล้วรอให้คนมาสมัครนั้นไม่เพียงพออีกต่อการได้คนอีกต่อไป

ถ้าจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการแข่งขันจ้างงาน องค์กรจำเป็นต้องมีช่องทางเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้เร็วและต้องมีจุดเด่นที่กระตุ้นทำให้ผู้สมัครตัดสินใจเข้ามาร่วมงาน

การแก้ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องพิจารณาทั้งปัจจัยภายใน รวมถึงการปรับตัวตามแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงของตลาดงานด้วย ดังนั้น “การเก็บข้อมูล” จึงเป็นทางออกของทุกปัญหาที่องค์กรกำลังเผชิญและนำไปสู่การสร้าง “ฐานผู้สมัคร” ที่ถูกคัดกรองไว้แล้ว ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในงานบริหารบุคคลในยุคนี้

วิธี Shortlist Candidate คัดสรรคนที่ใช่เข้ามาสัมภาษณ์งาน

Talent pool ในองค์กรกับโอกาสการจ้างงานที่มากขึ้น

การมี Talent Pool ในองค์กรถือว่ามีประโยชน์มากสำหรับการจ้างงานทั้งช่วยเตรียมความพร้อมในการจ้างงาน และการแข่งขันในตลาดแรงงาน

  • ประหยัดเวลาและลดงาน Operation ของ HR
    การมีฐานข้อมูลผู้สมัครที่ถูกคัดกรองไว้ในระบบแล้วช่วยองค์กรสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้สมัครที่มีคุณภาพได้ทันที จึงช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการหาผู้สมัครใหม่ได้ค่อนข้างมาก
  • การเตรียมตัวสำหรับความต้องการในอนาคต
    วางแผนเตรียมพร้อมรองรับการจ้างงานอนาคตได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเพื่อขยายธุรกิจ พัฒนาโปรเจกต์ใหม่ หรือแม้แต่เติมเต็มตำแหน่งว่าง ทำให้องค์กรมีความต่อเนื่อง และพัฒนาธุรกิจได้แบบไร้รอยต่อ
  • ช่วยรักษาความสัมพันธ์กับผู้สมัครที่มีศักยภาพ
    ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคที่การแข่งขันสูงแบบปัจจุบัน มีโอกาสที่ผู้สมัครจะถูกทาบทามจากบริษัทคู่แข่งได้ทุกเมื่อ ดังนั้นการมีฐานข้อมูลจะทำให้องค์กรสามารถติดต่ออัปเดตกับกลุ่มเป้าหมายทำให้เกิดความรู้สึกเชื่อมโยง และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันมากขึ้น
  • ลดการพึ่งพาการหาบุคลากรจากภายนอก
    การจ้างงานทุกครั้งมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะจากตัวเลือกอย่างเว็บประกาศงาน หรือบริการในรูปแบบอื่นๆ แต่ถ้าหากองค์กรมี Talent Pool เป็นของตัวเอง การพึ่งพาจากภายนอกก็จะมีความจำเป็นน้อยลง ดังนั้นนอกจากทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างงานแล้วยังช่วยยกระดับความสามารถในการจ้างงานภายในองค์กรเองด้วย

ลดขั้นตอนการ Operate ลีนองค์กรได้มากขึ้น
ด้วยระบบการทำงานที่เพิ่มความคล่องตัวอย่างมีประสิทธิภาพ

คนทำงาน HR คงพอคุ้นเคยกับคำว่า Applicant Tracking System กันมาบ้างโดยระบบดังกล่าวก็คือเครื่องมือบริหารการจ้างงาน และจัดเก็บข้อมูลผู้สมัคร ถือเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาสนับสนุนการทำงานของฝ่าย HR ภายในองค์กรได้แก่

  1. ประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพ
    จุดเด่นของระบบ ATS คือช่วยให้การจัดการเอกสาร เช่น เรซูเม่ CV หรือข้อมูลอื่นๆ ของผู้สมัครเป็นมีระเบียบและปลอดภัยมากขึ้น เพราะสามารถเก็บรวบรวมทั้งหมดไว้ในที่เดียวทำให้การค้นหาและติดตามผู้สมัครเป็นไปอย่างรวดเร็ว
  2. การสื่อสารภายในองค์กร
    ช่วยให้ทีม HR สื่อสารกับผู้สมัครในแต่ละขั้นตอนได้อย่างแม่นยำ เช่น ส่งอีเมลแจ้งผลสัมภาษณ์ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมก็ทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังสะดวกต่อการประสานงานระหว่างทีม โดยสามารถตรวจสอบความเรียบร้อย ติดตามกระบวนการต่างๆและอัปเดตผลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. จัดเก็บ และจัดการข้อมูลผู้สมัคร
    ช่วยให้องค์กรใช้ประโยชน์สูงสุดจากข้อมูลผู้สมัครที่เข้ามาในระบบ ทั้งที่อยู่ระหว่างกระบวนการ หรือแม้แต่ปิด Process ไปแล้วก็ตาม โดยสามารถเรียกดูได้ย้อนหลัง เช่น ฟีดแบค จุดเด่น หรือความคิดเห็นอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสต่อยอดไปสู่การจ้างงานตำแหน่งอื่นๆ ในอนาคตได้ เพราะบางครั้งผู้สมัครที่เข้ามาอาจยังอยู่ในช่วงที่จังหวะเวลาไม่เหมาะสม พิจารณาแล้วมีศักยภาพสูง เพียงแต่มีบางปัจจัยที่ไม่พอดีกันในขณะนั้น กรณีดังกล่าวถ้าจะปล่อยให้ “ผ่านแล้วผ่านไป” ก็น่าเสียดายเพราะถ้ายังมีข้อมูลอยู่ก็สามารถนำมาเป็นตัวเลือกที่ดีได้เหมือนกัน
  4. ช่วยวิเคราะห์และประเมินผลงานด้านทรัพยากรบุคคล
    ระบบ ATS สามารถเป็นเครื่องช่วยเก็บสถิติการทำงานในด้านต่างๆ และดึงออกมาใช้วิเคราะห์กระบวนการจ้างงานเพื่อหาจุดปรับปรุง เช่น เวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน หรือตำแหน่งที่มี Turnover สูง ทำให้ HR มีข้อมูลไว้เปรียบเทียบและพัฒนาการจ้างงาน นำไปสู่ประสบการณ์ที่ผู้สมัครได้รับจากการสมัครงานในบริษัททั้งการตอบสนอง ระยะเวลา และความสมบูรณ์แบบของทีมงาน

การมี Talent Pool จากระบบจัดเก็บข้อมูลผู้สมัครภายในองค์กรทำให้กระบวนการจ้างงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน เพิ่มความเป็นระเบียบเรียบร้อยและช่วยให้ได้องค์กรแข่งขันในการจ้างงานได้อย่างมั่นคง ถึงเวลายกระดับคุณภาพการจ้างงานภายในองค์กร ลดภาระงานซ้ำซ้อน ด้วยเครื่องมือจัดเก็บ ติดตาม และจัดการข้อมูลผู้สมัคร ลงทะเบียนรับสิทธิใช้งาน ATS ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ลงทะเบียนเริ่มต้นใช้งาน ATS ฟรี

Related Posts