รู้จัก Gold-Collar Worker กลุ่มคนทำงานเป็นที่ต้องการสูงในองค์กร
ในการแบ่งประเภทของ “กลุ่มคนทำงาน” เราอาจคุ้นเคยกับคำว่า Blue – Collar และ White – Collar ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่มีไว้เรียกแทนคนทำงานสองประเภท ได้แก่ กลุ่มคนที่ทำงานภาคสนาม ตามร้านค้า และกลุ่มคนที่ทำงานในออฟฟิศอย่าง ‘มนุษย์เงินเดือน’ โดยแบ่งออกเป็น
- White – Collar Worker สื่อถึง “การใส่เสื้อเชิ้ตขาว” เรียกแทนกลุ่มคนทำงานที่ใช้ชีวิตอยู่ในออฟฟิศหรือก็คือ ‘มนุษย์เงินเดือน’ ตั้งแต่ระดับพนักงานทั่วไป จนถึง Executive level เช่น พนักงาน Accounting, marketing, consulting, IT เป็นต้น
- Blue – Collar Worker เป็นคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นมาตั้งแต่ยุค 1920 มีไว้ใช้เรียกกลุ่มคนงานที่พื้นที่ปฏิบัติงานไม่ได้อยู่ในออฟฟิศ เช่น Retail, manufacturing, food service, construction ซึ่งในสมัยก่อนมักจะสวม Workwear สีฟ้าอย่างกางเกงยีนส์
แต่ยังมีอีกหนึ่งคำจำกัดความของกลุ่มคนทำงานอย่าง Gold – Collar ซึ่งช่วงที่ผ่านมาเริ่มแพร่หลายมากขึ้น โดยความหมายของคำว่า Gold – Collar สื่อถึงกลุ่มอาชีพที่อาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสูง ยกตัวอย่างเช่น การดูแลสุขภาพ เทคโนโลยี การเงิน ด้วยความนิยมของเทคโนโลยี Generative AI ในตลาดงาน ทำให้ตำแหน่งงานที่มาพร้อมกับ ‘ความเป็นมนุษย์’ อาทิ การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์มีคุณค่าต่อองค์กรมากขึ้นเมื่อเทียบกับที่ผ่านมา
รู้จักความหมายของ Gold – Collar
คำว่า Gold – Collar ถูกบัญญัติขึ้นครั้งแรกในปี 1985 โดยคุณโรเบิร์ต เอิร์ล เคลลี่ ซึ่งนอกจากจะเป็นลักษณะของตำแหน่งงานแบบเฉพาะทางแล้วยังหมายถึง ‘กลุ่มคน’ ที่มีทักษะในระดับสูงในสายงานนั้นๆ ด้วย เช่น คุณหมอ ทนายความ วิศวกร นักบิน และนักวิทยาศาสตร์ จากตัวอย่าง แม้ว่าจะดูเป็น “งานนั่งโต๊ะ” คล้ายกับพนักงานออฟฟิศ แต่ด้วยลักษณะงานที่อาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ลึกซึ้งมากกว่า รวมถึงได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอาชีพอื่นๆ จึงถูกแยกออกมาให้ชัดเจน โดยเฉพาะ Computer engineers, technicians, technologists อันเป็นกลุ่มงานที่มีคุณค่าอย่างสูงสำหรับหลายๆ องค์กร
การเข้าสู่สายงานในกลุ่ม Gold – Collar
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นที่ต้องการสูง และหาบุคลากรได้ยาก ก็ยังมีข้อจำกัดเป็น ‘กำแพงการคัดเลือก’ ที่สูงเช่นกัน ดังนั้นคุณสมบัติแรกที่ต้องมีก็คือ ‘ความเชี่ยวชาญขั้นสูง’ ในสายงานตัวเอง มีวุฒิปริญญา หรือใบรับรองจากสถาบันต่างๆ เป็นใบเบิกทางเบื้องต้น จากนั้นก็ให้ประสบการณ์ขัดเกลาทักษะให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และสำคัญที่สุดคือการหมั่นพัฒนาตัวเองให้ทันยุคสมัยอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะกลุ่มสายงาน IT ที่เทคโนโลยีไม่เคยหยุดพัฒนาอย่างทุกวันนี้
ตัวอย่างตำแหน่งงานในหมวดหมู่ Gold – Collar
1) Specialized Engineer ได้แก่ วิศวกรที่มีประสบการณ์สูง และชำนาญงานเฉพาะด้าน เช่น วิศวกรโครงสร้าง วิศวกรไฟฟ้า วิศวเครื่องกล
2) Data Scientist นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญในการนำเครื่องมือ AI มาประยุกต์ใช้ประโยชน์กับการวิเคราะห์
3) Quantitative Analyst เป็นคนที่ใช้โมเดลวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบบ่อยในสถาบันการเงิน – การลงทุน
4) Specialized Developer มีความเชี่ยวชาญเชิงลึกที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละด้าน
5) Neurosurgeon คือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในระดับสูง
อาชีพเหล่านี้เป็นเพียง “ตัวอย่างตำแหน่งงาน” ในกลุ่ม Gold-Collar Job ซึ่งปัจจุบันมีเปิดรับสมัครอยู่มากมาย
ฝากโปรไฟล์และเริ่มต้นค้นหางานที่ใช่ ในบริษัทที่ชอบกับ Reeracoen Recruitment
แปลและเรียบเรียงจาก: