Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

รู้ได้ไงว่าเราจะได้งาน? สังเกตได้จาก 7 สัญญาณต่อไปนี้

  • Home
  • Interview Guideline
  • รู้ได้ไงว่าเราจะได้งาน? สังเกตได้จาก 7 สัญญาณต่อไปนี้

Select Category

รู้ได้ไงว่าเราจะได้งาน? สังเกตได้จาก 7 สัญญาณต่อไปนี้

มีข้อสังเกตอะไรบ้างว่าหลังจากสัมภาษณ์งานจบแล้วจะมีคนโทรเข้ามาแจ้งข่าวดี หรือรู้ทันทีว่านี่แหละสัญญานว่าเรากำลังจะ “ได้งาน” สาเหตุที่เราต้องสังเกตความเป็นไปได้หลังสัมภาษณ์งานเนื่องจากป็นส่วนสำคัญที่จะกำหนด Next step ของตัวเองว่าควรสมัครที่ใหม่ หรือตัดสินใจรอฟังข่าวดี เพราะหากเราเคลียร์ตัวเองไม่ได้ก็อาจมีปัญหาและเสียเครดิตในภายหลัง

บทความจาก indeed ได้ระบุถึง 12 ข้อสังเกตว่าเรามีแนวโน้มที่จะผ่านการสัมภาษณ์ ซึ่งเราคัดมาให้เหลือ 7 ข้อที่สังเกตได้ง่ายๆ ว่าอนาคตของเราจะไปในทิศทางไหนดังนี้

1) ผู้สัมภาษณ์ใช้ “เมื่อ” แทน “ถ้า”

ถ้าอีกฝ่ายมีการระบุถึงวัน-เวลา ก็เป็นไปได้ว่าเรากำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เช่น “เมื่อคุณได้เจอเพื่อนร่วมทีม” ก็ให้ความรู้สึกต่างจาก “ถ้าคุณได้เจอเพื่อนร่วมทีม” ดังนั้นภาษากับคำพูดที่ใช้ระหว่างการสัมภาษณ์ก็เป็นอีกหนึ่งข้อสังเกตที่เรามองหาได้ เมื่ออีกฝ่ายมีการชี้เฉพาะหรือแสดงความชัดเจน ทั้งวัน เวลา หรือตัวอย่างสถานการณ์ต่างๆ ก็อาจหมายถึงแนวโน้มที่เรากำลังจะได้งาน

2) แสดงออกว่า “ชื่นชม” โปรไฟล์ของเรา

ทันทีที่เข้าสัมภาษณ์เราอาจได้ยิน “คำชม” ถึงประสบการณ์ ความสำเร็จที่ผ่านมา รวมถึงคำอธิบายเพิ่มเติมว่าตัวเราเหมาะสมกับตำแหน่งนี้อย่างไรบ้าง หากเรามีคุณสมบัติที่องค์กรมองหาอย่างครบถ้วนโอกาสที่งานจะหลุดมือไปก็เหลือน้อยมากแล้ว

3) สังเกตท่าทาง “ภาษากาย”

เชื่อว่าผู้อ่านในที่นี้คงผ่านการสัมภาษณ์มาไม่น้อย ดังนั้นจึงพอจะรู้ว่า “ภาษากาย” ก็เป็นอีกหนึ่งข้อสังเกตว่าจบสัมภาษณ์ครั้งนี้เราจะได้หรือไม่ได้งาน ถ้าผู้สัมภาษณ์มีปฏิกริยาแสดงออกถึงความ “สนใจ” เช่น การสบตา ยิ้มแย้ม ผ่อนคลาย ดูเป็นมิตร ก็แปลว่ามีสิทธิที่เราจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

4) ลักษณะน้ำเสียงที่ใช้

โดยปกติผู้สัมภาษณ์มักจะยิง “คำถามสำคัญ” ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตำแหน่งงานด้วยความจริงจังเพื่อคัดกรองว่าเรา “เหมาะสม” กับงานนี้แค่ไหน หากน้ำเสียงของผู้สัมภาษณ์ “ผ่อนคลาย” มากขึ้นหลังจากที่เราตอบคำถามสำคัญเหล่านั้นไปแล้วก็แปลว่าหลังเราได้ “ผ่านด่านแรก” ซึ่งต่อไปคือการทำความรู้จักตัวตนกันและกัน รวมถึงสร้างความชัดเจนในเรื่องต่างๆ ให้มากขึ้น

5) พยายาม “ขาย” ข้อดีขององค์กรมากขึ้น

หากองค์กรเห็นแววและมั่นใจว่าเราเป็นคนที่ใช่ก็คงไม่แปลกที่จะพยายามดึงความสนใจโดยการขายข้อดีต่างๆ อาทิ สวัสดิการ วัฒนธรรมองค์กร หรือแผนงานในอนาคต ซึ่งจะถูกระบุมาอย่างชัดเจนมากขึ้นในขั้นตอนการเสนอตำแหน่งงาน (Job Offer)

6) ใช้เวลาสัมภาษณ์นาน

ข้อระวังคืออย่าเข้าใจผิดคิดไปเองว่าอีกฝ่ายสนใจเพราะไม่ใช่ทุกครั้งที่การสัมภาษณ์นานจะหมายถึงสัญญานว่าเรากำลังจะได้งาน โดยสาเหตุหลักมีอยู่ 2 ข้อได้แก่ อีกฝ่ายให้ความสนใจมากๆ หรือไม่ก็เป็นเพราะคุยกันไม่รู้เรื่อง ข้อสังเกตง่ายๆ ว่าเราเข้าข่ายกรณีแรกหรือไม่

ถูกถามในประเด็นสำคัญที่หลากหลาย ไม่ถูกถามลักษณะเดิม ซ้ำหลายครั้ง อีกฝ่ายมีปฏิกริยาโต้ตอบที่ดี

7) ถามถึงบุคคลอ้างอิง หรือวันเริ่มงาน

สุดท้ายนี้ถ้าผู้สัมภาษณ์อยากได้เราแบบ “จริงจัง” ก็อาจถามถึงบุคคลอ้างอิงเพิ่มเติมเพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจขั้นสุดท้าย รวมถึงสาเหตุที่ขอกำหนดวันเริ่มงานที่แน่นอนเนื่องจากองค์กรต้องการที่จะรู้ว่า “เร็วที่สุด” ที่เราจะย้ายมาเริ่มงานได้คือเมื่อไรและใช้เวลาวางแผนเตรียมต้อนรับให้ดีที่สุด

ฝากโปรไฟล์สมัครงานผ่าน Reeracoen Thailand

1 คำถามต้องห้าม ที่อาจทำให้เราตกม้าตายตั้งแต่สัมภาษณ์งาน

แปลและเรียบเรียงจาก: https://bit.ly/458PKvd

Related Posts