Reeracoen Thailand Regional Blog

  • Job Seekers
  • Employers

รู้จัก Stealth Demotion เมื่อเราไม่ได้รับ “ความไว้ใจ” อีกต่อไป

  • Home
  • How to
  • รู้จัก Stealth Demotion เมื่อเราไม่ได้รับ “ความไว้ใจ” อีกต่อไป

Select Category

รู้จัก Stealth Demotion เมื่อเราไม่ได้รับ “ความไว้ใจ” อีกต่อไป

ทำอย่างไรเมื่อจู่ๆ ก็รู้สึกเหมือน “อำนาจลดลง” ทั้งๆ ที่ตำแหน่งงานก็คงเดิม จากที่เมื่อก่อนมีสิทธิตัดสินใจ ทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับ ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ แต่ปัจจุบันบทบาทเหล่านี้กลับค่อยๆ ถูกถอดออกไปจนต้องตั้งคำถามในใจว่าเกิดอะไรขึ้น

หากคุณกำลังเจอกับปัญหานี้ ถึงเวลารู้จักกับ Stealth Demotion กลไกการ “ลดบทบาท” ถูกยึดอำนาจ มีความสำคัญน้อยลงโดยที่ตำแหน่งคงเดิม ซึ่งเรามักจะไม่รู้ตัว และเป็นสัญญานอันตรายที่หมายถึงหัวหน้าเริ่มไม่ไว้ใจ

หากเราไม่สามารถมีสิทธิตัดสินใจอะไรเองได้ หรือสูญเสียบทบาทของเราไปให้กับคนอื่น ก็เหมือนกับการถูกแช่แข็ง ดองไว้ที่เดิมหรือแม้แต่ฉุดความก้าวหน้าทางอาชีพให้ถอยหลังลง เป็นการทำลายความมั่นใจอย่างหนัก รวมถึงพรากโอกาสในการทำงาน กลายเป็นคนไร้ตัวตน พูดแล้วไม่มีใครฟัง และหากไม่รีบจัดการก็จะกระทบต่ออนาคตของเราด้วย

การถูกลดบทบาทลงกับบางคนอาจไม่มีปัญหา เพราะยังพอใจที่ได้เงินเหมือนเดิม งานน้อยลง ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมากมายเหมือนเมื่อก่อน แต่สำหรับคนที่มุ่งมั่นมองหาโอกาสเติบโตและต้องการความสำเร็จ การถูกลดบทบาทคงไม่ต่างอะไรกับการ “บีบให้ออก” เพราะเหมือนเป็นคนที่ทำงานไปวันๆ รอรับเงินเดือน โดยไม่รู้ว่าจะมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพอีกไหม ดังนั้นเราต้องรู้จักวิธีรับมือ ไม่ควรปล่อยเลยตามเลยจนรู้ตัวอีกทีอนาคตที่สดใสก็อาจไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว

บทความจาก Psychologytoday ได้แนะนำขั้นตอนรับมือ เมื่อเราต้องเผชิญกับ Stealth Demotion

  • เช็กบทบาทของตัวเอง

ถามตัวเองง่ายๆ ว่าทุกวันนี้ยังมีสิทธิตัดสินใจทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบได้เหมือนเดิมไหม หากคำตอบคือ “ไม่แน่ใจ” อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังค่อยๆ ถูกลดบทบาทไปโดยไม่รู้ตัว ต้องมีการพูดคุยกับหัวหน้าอย่างจริงจังถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และหากไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนก็เป็นไปได้สูงว่าเราถูกลดบทบาท ซึ่งต้องหาสาเหตุเพื่อแก้ไขต่อไป อาจเกิดจากผลงาน ความประพฤติ หรือคุณสมบัติต่างๆ ของเราที่ไม่ตรงกับความคาดหวังขององค์กร

  • ทำความเข้าใจสาเหตุที่เกิดขึ้น

หากคุณรู้สึกว่าไม่เข้าใจหรือไม่โอเคกับการตัดสินใจของหัวหน้า ก็ต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อหาทางออกร่วมกันซึ่งปัญหานี้อาจเกิดจากตัวเราเอง ไม่ว่าจะคุณสมบัติ ประสิทธิภาพการทำงาน ทัศนคติ แนวทางที่ยังไม่เป็นไปตามความคาดหวังขององค์กร

ย้อนกลับไปดูว่าเราทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ดีพอหรือยัง เรามีภาวะผู้นำ หรือเป็นตัวอย่างที่ดีให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน เคยมีส่วนร่วมปรับปรุงพัฒนาองค์กรไปในทิศทางใหม่ๆ อย่างไรบ้าง เพียงแค่ไม่กี่ข้อเราก็จะเห็นว่าตัวเองดีพอ เหมาะสมแค่ไหนกับโอกาสที่ได้รับ หรือถ้าเรามั่นใจในความสามารถ เป็นแบบอย่างที่ดีทำงานเต็มที่มาตลอด และไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของหัวหน้า ก็ต้องพูดคุยถึงสาเหตุที่แท้จริงอย่างตรงไปตรงมา อย่าปล่อยให้เป็นความสงสัยที่ติดอยู่ข้างในจนความเชื่อใจกระทบต่องานในอนาคต

  • พิจารณาหา “ทางออก”

หากพูดคุยถึงสาเหตุแล้วเราไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจลดบทบาทที่เกิดขึ้น ขั้นตอนถัดมาคือการแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเราไม่โอเค เพราะคนส่วนมากแม้ในใจจะไม่เห็นด้วย แต่ก็มักจะไม่กล้าพูดคุย เพราะด้วยตำแหน่งหน้าที่ อำนาจการตัดสินใจที่ต่างกัน สุดท้ายก็ยอมปล่อยเลยตามเลย โดยที่ไม่รู้ว่าเมื่อยอมหนึ่งครั้งก็จะติดนิสัยยอมไปตลอด กลายเป็นคนรักษาสิทธิของตัวเองไม่เป็น

เราต้องรักษาคุณค่าในตัวเองด้วยการแสดงออกให้ชัดเจน มั่นใจในคุณค่าของตัวเอง ฝึกต่อรอง เรียกร้องข้อเสนออื่นๆ เพื่อรักษาสิทธิของเรา และสุดท้ายหากตกลงร่วมกันไม่ได้ อาจถึงเวลาวางแผนย้ายไปหาประสบการณ์ใหม่ๆ ในที่ที่สามารถผลักดันเราได้อย่างเต็มที่มากยิ่งขึ้น

ติดตามบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ทุ่มเทแค่ไหน ก็ไม่เติบโต? รู้จัก Professional Blind Spot และกับดัก 3 ข้อที่ทำให้เราไม่ก้าวหน้าสักที

ไม่ลองไม่รู้ และถ้าไม่สู้ก็ไม่ชนะ บทเรียนเจ้าสังเวียน “โคตะ มิอุระ”

แปลและเรียบเรียงจาก:

https://bit.ly/3Ath0px

Related Posts